fieldid
เขตข้อมูล | ข้อมูล |
บทคัดย่อ |
ปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงาน กรณีศึกษา : ปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงาน กรณีศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทราบระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัทกรณีศึกษา ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) ที่ได้จากการทบทวนทฤษฏี และวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง เป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 278 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Arithmetic Mean) ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการวิเคราะห์ค่าของความแปรปรวนทางเดียว (One-way Analysis of Variance) และการทดสอบเปรียบเทียบค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่ โดยวิธี Tukey
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมีอายุระหว่าง 31-40 ปี จบการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาและมีอายุงานตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป ระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อปัจจัยแรงจูงใจในการปฏิบัติงานในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยปัจจัยที่มีระดับคะแนนสูงสุด 2 ลำดับแรก ได้แก่ ด้านความรับผิดชอบ (ค่าเฉลี่ย 3.80 คะแนน) รองลงมาคือ ด้านความสำเร็จของงาน (ค่าเฉลี่ย 3.76 คะแนน) ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีอิทธิพลต่อระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน พบว่า เพศ ระดับการศึกษา และระดับตำแหน่งงาน มีอิทธิพลต่อระดับแรงจูงใจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในทางกลับกัน พบว่า อายุ และอายุงาน ไม่มีอิทธิพลต่อระดับแรงจูงใจ
|
ผู้แต่ง |
|
ประเภทสิ่งพิมพ์ |
|
เลขหน้า |
82 หน้า |
หัวเรื่อง |
|
หัวเรื่อง |
|
เอกสารฉบับเต็ม |
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250