fieldid E-Thesis & Research สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
สืบค้น:

เขตข้อมูล ข้อมูล
บทคัดย่อ
รายงานการวิจัย อิทธิพลตัวแปรสื่อกลางของกิจกรรมการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องระหว่างการบริหารการผลิตแบบญี่ปุ่นกับการลดต้นทุน : การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลและพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิง โครงสร้างของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการลดต้นทุน วิเคราะห์และเปรียบเทียบทิศทางของอิทธิพล ทางตรงและทางอ้อมที่มีต่อการลดต้นทุน รูปแบบพัฒนาขึ้นประกอบด้วยตัวแปรแฝงจำนวน 3 ตัวแปร ได้แก่ ตัวแปรแฝงภายนอกคือการบริหารการผลิตแบบญี่ปุ่น ตัวแปรแฝงภายในคือการ ลดต้นทุน และตัวแปรแฝงภายในที่เป็นตัวแปรคั่นกลางคือกิจกรรมการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง โดยมีตัวแปรสังเกตได้รวมทั้งสิ้นจานวน 13 ตัวแปร ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ เก็บรวบรวม ข้อมูลจากบุคลากรจาก 2 นิคมอุตสาหกรรมประกอบด้วย นิคมอุตสาหกรรมลาพูน จำนวน 393 ตัวอย่าง และนิคมอุตสาหกรรมลาดกระบังจำนวน 292 ตัวอย่าง ตรวจสอบความสอดคล้องด้วยการ วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการวิเคราะห์ตัวแบบความสัมพันธ์เชิงโครงสร้าง ผลการทดสอบโมเดลแบบจำลองสมการโครงสร้างของนิคมอุตสาหกรรมลำพูนมีความ สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ของนิคมอุตสาหกรรมลำพูน อยู่ในเกณฑ์ดี โดยมีค่า χ2 = 185.86 ที่องศาอิสระ (df) =72, CMIN/df =2.58, p value =0.000, GFI =.94 AGFI =.91, CFI =.98, NFI=.96, RMR=.01, RMSEA=.06 และพบว่า การบริหารการผลิตแบบญี่ปุ่นมีอิทธิพล ทางตรงต่อการลดต้นทุน มีค่าเท่ากับ .83 และพบว่า การบริหารการผลิตแบบญี่ปุ่นมีอิทธิพล ทางตรง (มีค่าเท่ากับ .26) และทางอ้อม (มีค่าเท่ากับ .57) ผ่านตัวแปรสื่อกลางกิจกรรมการ ปรับปรุงพัฒนาอย่างต่อเนื่องต่อการลดต้นทุน มีค่าอิทธิพลรวมเท่ากับ .83 พบว่าแบบจำลองสมการโครงสร้างของนิคมอุตสาหกรรมลาดกระบังมีความ สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์อยู่ในเกณฑ์ดี โดยมีค่า χ2=203.83, df=71, CMIN/df=2.94, p value=0.00, GFI=.91 AGFI=.89, CFI=.97, NFI=.95, RMR=.02, RMSEA=.0
ผู้แต่ง
ประเภทสิ่งพิมพ์
เลขหน้า
219
หัวเรื่อง
หัวเรื่อง
เอกสารฉบับเต็ม