fieldid
เขตข้อมูล | ข้อมูล |
บทคัดย่อ |
แนวทางการพัฒนารูปแบบและกิจกรรมการท่องเที่ยวชุมชนอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา ชุมชนบ้านปะอาว อ.เมือง จ.อุบลราชธานี บนแนวคิด คันโคมะจิชทึคุริ : การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจทรัพยากรทางการท่องเที่ยวของชุมชนปะอาว
อ.เมือง จ.อุบลราชธานี บนฐานแนวคิดคันโคมะจิซทึคุริ 2) ศึกษาความคิดเห็นของหน่วยงานภาครัฐ
ผู้ประกอบการท้องถิ่น และประชาชนที่อาศัยอยู่ในท้องถิ่นต่อการประเมินศักยภาพของทรัพยากร
ทางการท่องเที่ยวของชุมชนปะอาว อ.เมือง จ.อุบลราชธานี บนฐานแนวคิดคันโคมะจิซทึคุริ 3)ศึกษา
ลักษณะทางประชากรศาสตร์และพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในชุมชนปะ
อาว อ. เมือง จ.อุบลราชธานี บนฐานแนวคิดคันโคมะจิซทึคุริ 4) ศึกษารูปแบบและกิจกรรมการ
ท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยวต้องการในการเดินทางมาท่องเที่ยวชุมชนปะอาว อ. เมือง จ.อุบลราชธานี บน
ฐานแนวคิดคันโคมะจิซทึคุริ 5) เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนารูปแบบและกิจกรรมการท่องเที่ยว
ชุมชนปะอาว อ.เมือง จ.อุบลราชธานี อย่างยั่งยืน บนฐานแนวคิดคันโคมะจิซทึคุริที่เหมาะสมกับบริบท
ชุมชน การศึกษาเป็นการวิจัยแบบผสม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม จำนวน 385 ชุด
และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง จำนวน 12 ชุด ผลการศึกษา พบว่า 1) ทรัพยากรที่ปัจจุบันมีการ
นำมาใช้ประโยชน์ทางการท่องเที่ยว ได้แก่ ศูนย์หัตถกรรมทองเหลืองบ้านปะอาว ศูนย์จำหน่าย
ผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกพื้นบ้าน ศูนย์เฉลิมราช และโฮมสเตย์บ้านปะอาว 2) ทรัพยากรที่มีศักยภาพใน
การพัฒนาทางการท่องเที่ยว คือ ศูนย์หัตถกรรมทองเหลืองบ้านปะอาว ศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์ของที่
ระลึกพื้นบ้าน ศูนย์เฉลิมราช 3) ลักษณะทางประชากรศาสตร์ด้านอายุ ด้านระดับการศึกษา ด้านอาชีพ
ด้านรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ด้านสถานภาพสมรส มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวในการ
เดินทางท่องเที่ยวโดย ชุมชนปะอาว อ.เมือง จ.อุบลราชธานีที่ระดับนัยสำคัญที่ 0.05
4) นัก
|
ผู้แต่ง |
|
ประเภทสิ่งพิมพ์ |
|
เลขหน้า |
297 |
หัวเรื่อง |
|
เอกสารฉบับเต็ม |
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250