fieldid
เขตข้อมูล | ข้อมูล |
บทคัดย่อ |
รายงานฉบับสมบูรณ์ การพัฒนาถ่านชีวภาพจากกากปาล์ม : งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาการผลิตถ่านชีวภาพจากกากปาล์ม โดยทำการผลิตจากกากปาล์มซึ่ง
เป็นเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตรที่พบมากในประเทศไทย โดยใช้ชุด
การทดลองการผลิตถ่านชีวภาพด้วยการอัดขึ้นรูปร้อนแบบแนวตั้งในการผลิตถ่านชีวภาพ เพื่อศึกษา
ผลกระทบของสภาวะการขึ้นรูปต่อสมบัติทางกายภาพ (ความหนาแน่น) สมบัติทางกล (ความต้านทาน
แรงอัดสูงสุด และความแข็ง) และสมบัติทางความร้อน (ค่าความร้อน) โดยกำหนดสภาวะในการขึ้นรูป
ได้แก่ อุณหภูมิที่ใช้ในการขึ้นรูป 100 – 190 °C เวลาที่ใช้ในการขึ้นรูป 10 – 25 นาที กำหนดให้ความ
ดันในการขึ้นรูปคงที่ที่ 16 MPa โดยใช้ปริมาณกากปาล์มครั้งละ 50 กรัม และกำหนดความชื้นของ
ของกากปาล์มที่ประมาณ 10±1 wt%
จากการศึกษา พบว่าอุณหภูมิในการขึ้นรูปส่งผลต่อสมบัติของถ่านชีวภาพจากกากปาล์ม โดย
อุณหภูมิในการขึ้นรูปที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ถ่านชีวภาพที่ได้มีความหนาแน่น ความแข็ง และค่าความร้อน
สูงขึ้น แต่อุณหภูมิในการขึ้นรูปที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ค่าความต้านทานแรงอัดสูงสุดของถ่านชีวภาพมีค่า
สูงขึ้น ในช่วง 100 – 140 oC โดยค่าความต้านทานแรงอัดสูงสุดของถ่านชีวภาพจะแนวโน้มลดลง เมื่อ
ใช้อุณหภูมิในช่วง 170 – 190 oC เนื่องจากพบว่ามีการแตกร้าวของชิ้นงาน เมื่อทำการขึ้นรูปในช่วง
อุณหภูมิดังกล่าว นอกจากนี้พบว่าเวลาในการขึ้นรูปส่งผลต่อสมบัติของถ่านชีวภาพจากกากปาล์มน้อย
มาก เมื่อใช้เวลาในการขึ้นรูปเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ความหนาแน่น ความต้านทานแรงอัดสูงสุด ความแข็ง
และค่าความร้อนเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย โดยเมื่อใช้เวลาในการขึ้นรูปมากกว่า 20 นาที จะไม่มีผลต่อ
สมบัติของถ่านชีวภาพที่ได้ อย่างไรก็ตามถ่านชีวภาพจากกากปาล์มที่ผลิตได้มีความต้านทานแรงอัด
สูงสุดไม่น้อยกว่า 20 MPa ค่าความร้
|
ผู้แต่ง |
|
ประเภทสิ่งพิมพ์ |
|
เลขหน้า |
59 |
หัวเรื่อง |
|
เอกสารฉบับเต็ม |
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250