fieldid
เขตข้อมูล | ข้อมูล |
บทคัดย่อ |
แรงจูงใจส่งผลต่อความสุขและความผูกพันต่องค์กรของบุคลากรในองค์กรญี่ปุ่น กรณีศึกษาองค์กรญี่ปุน่แห่งหนึ่งในจังหวัดชลบุรี : การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อแรงจูงใจในการทางานของพนักงาน 2) ศึกษาแรงจูงใจที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของพนักงาน 3) ศึกษาแรงจูงใจที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรและ 4) ศึกษาความสุขในการทำงานของพนักงานส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาในครั้งนี้ คือ พนักงานของบริษัทญี่ปุ่นแห่งหนึ่งในจังหวัดชลบุรี จำนวน 115 คน โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูล สถิติที่ใช้ ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ การทดสอบความแตกต่าง 2 กลุ่มตัวอย่าง การวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยข้อมูลเชิงกลุ่ม การหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน การวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ การวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นอย่างง่าย
ผลการทดสอบพบว่า ฝ่ายงาน อายุ และตำแหน่งงานที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการทำงานของบุคลากร ด้านลักษณะงาน ด้านความรับผิดชอบ ด้านสภาพการทำงาน ด้านความก้าวหน้า และด้านเงินเดือนและค่าตอบแทนแตกต่างกัน อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
และยังพบว่า ปัจจัยจูงใจ ด้านความรับผิดชอบ และด้านความยอมรับนับถือส่งผลต่อความสุขในการทำงานของบุคลากร มีอานาจในการพยากรณ์ที่ร้อยละ 58.9 และปัจจัยสุขอนามัย ด้านสัมพันธภาพกับผู้บังคับบัญชาและเพื่อนร่วมงาน ด้านเงินเดือนและค่าตอบแทน และด้านวิธีการบังคับบัญชาส่งผลต่อความสุขในการทำงานของบุคลากร มีอานาจในการพยากรณ์ที่ร้อยละ 63.3 และพบว่าปัจจัยจูงใจ ด้านความรับผิดชอบ ด้านลักษณะงาน และด้านความสำเร็จในการทำงานส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากร มีอำนาจในการพยากรณ์ที่ร้อยละ 52.3 และปัจจัยสุขอนามัย ด้านวิธีการบังคับบัญชา ด้านสัมพันธภาพกับผู้บังคับบัญชาและเพื่อนร่วมงาน และด้านสภาพการทำงานส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากร มี
|
ผู้แต่ง |
|
ประเภทสิ่งพิมพ์ |
|
เลขหน้า |
139 |
หัวเรื่อง |
|
หัวเรื่อง |
|
หัวเรื่อง |
|
เอกสารฉบับเต็ม |
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250