fieldid E-Thesis & Research สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
สืบค้น:

เขตข้อมูล ข้อมูล
บทคัดย่อ
ปัจจัยองค์กรและปัจจัยลักษณะงานส่งผลต่อความผูกพันในงานและความผูกพันในองค์กรของบุคลากร : กรณีศึกษาองค์กรญี่ปุ่นแห่งหนึ่ง : ในการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับปัจจัยองค์กร ระดับปัจจัยลักษณะงาน ระดับความผูกพันในงาน และระดับความผูกพันในองค์กรของพนักงาน 2) เปรียบเทียบลักษณะส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อปัจจัยองค์กรและปัจจัยลักษณะงาน 3) ศึกษาปัจจัยองค์กรและปัจจัยลักษณะงานที่ส่งผลต่อความผูกพันในงาน 4) ศึกษาปัจจัยองค์กรและปัจจัยลักษณะงานที่ส่งผลต่อความผูกพันในองค์กร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ พนักงานชาวไทยขององค์กรญี่ปุ่นแห่งหนึ่ง จำนวน 144 คน โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูล สถิติที่ใช้ ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ การทดสอบความแตกต่าง 2 กลุ่มตัวอย่าง การวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยข้อมูลเชิงกลุ่ม การหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน การวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ พบว่า ระดับความผูกพันในงานโดยรวมอยู่ในระดับมาก (X= 3.97) 2) ระดับความผูกพันในองค์กรโดยรวม อยู่ในระดับมาก (X= 3.92) 3) ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยองค์กรโดยรวม อยู่ในระดับมาก (X= 3.58) 4) และระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับลักษณะงาน อยู่ในระดับมาก (X= 3.96) ปัจจัยส่วนบุคคลด้านอายุงานที่แตกต่างกันส่งผลต่อปัจจัยลักษณะงานด้านความสำคัญของงาน ความมีอิสระในการทำงาน และผลสะท้อนจากงาน ตำแหน่งงานที่แตกต่างกันส่งผลต่อปัจจัยองค์กรด้านความต้องการด้านบทบาท ปัจจัยองค์กรด้านความต้องการด้านงาน ด้านความต้องการด้านบทบาท ด้านความต้องการด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลส่งผลต่อความผูกพันในงานและความผูกพันในองค์กรมีอำนาจในการพยากรณ์ที่ร้อยละ 67.1 และ 62.7 ตามลำดับอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 นอกจากนี้ ปัจจัยลักษณะงานด้านความมีเอกลักษณ์ของงาน ด้านผลสะท้อนจากงาน ด้านความหลากหลายของทักษะและด้านความสำคัญของงานส่งผลต่อความผูกพันในงาน มี
ผู้แต่ง
ประเภทสิ่งพิมพ์
เลขหน้า
118
หัวเรื่อง
หัวเรื่อง
หัวเรื่อง
เอกสารฉบับเต็ม