fieldid E-Thesis & Research สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
สืบค้น:

เขตข้อมูล ข้อมูล
บทคัดย่อ
ผลกระทบของลักษณะรอยร้าวที่ส่งผลต่อการกระจายตัวของแรงที่เกิดขึ้นบนแบบจำลอง 3 มิติของฟันกรามซี่ที่หนึ่ง โดยวิธีการวิเคราะห์ไฟไนต์เอลิเมนต์ : งานวิจัยนี้ เป็นการศึกษาพฤติกรรมการกระจายตัวของความเค้นเมื่อเกิดรอยร้าวขึ้นบนแบบจำลอง 3 มิติขนาดเสมือนจริงของฟันกรามล่างซี่ที่หนึ่งของมนุษย์ โดยใช้วิธีการวิเคราะห์ทางไฟไนต์เอลิเมนต์ โดยแบบจำลอง 3 มิติดังกล่าวถูกสร้างขึ้น โดยมีพื้นฐานจากวิธี Cone-Beam Computed Tomography (CBCT) และการวิเคราะห์จะมุ่งเน้นการศึกษาผลกระทบของพารามิเตอร์ของรอยร้าวที่เกิดขึ้นบนแบบจำลอง ในส่วนของเคลือบฟัน และเนื้อฟันโดยแบ่งออกเป็น 2 กรณีศึกษา ได้แก่ กรณีแรก การศึกษาผลกระทบของขนาดความกว้างของรอยร้าว (0 μm, 40 μm, 68 μm, 75 μm, 80 μm และ 100 μm) และกรณีที่สอง การศึกษาผลกระทบของความสูงของรอยร้าว (2 mm, 3 mm, 4 mm, 5 mm และ 5.4 mm) จากบริเวณ Enamel-Cemento Junction (CEJ) โดยกำหนดค่าตัวแปรของความลึกของรอยร้าวในการศึกษานี้ที่ 3 mm. จากพื้นผิวของแบบจำลอง Dentin ซึ่งจากผลการศึกษาพฤติกรรมการกระจายตัวของรอยร้าว แสดงให้เห็นว่า ขนาดความกว้างของรอยร้าว มีผลกระทบต่อการกระจายตัวของความเค้นบนฟันมากกว่าขนาดความสูงของรอยร้าว โดยขนาดของความกว้างของรอยร้าวที่เกิดขึ้นบนแบบจำลองที่ขนาดมากกว่า 68 μm มีค่าความเค้นและการกระจายของความเค้นเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยะสำคัญ และในกรณีของความสูงของรอยร้าวพบว่าความสูงของรอยร้าวส่งผลโดยตรงต่อค่าความเค้นดึงเฉพาะส่วนประกอบที่เกิดรอยร้าวเท่านั้น ซึ่งก็คือ ส่วนของเคลือบฟัน และเนื้อฟัน
ผู้แต่ง
ประเภทสิ่งพิมพ์
เลขหน้า
66
หัวเรื่อง
หัวเรื่อง
หัวเรื่อง
เอกสารฉบับเต็ม