fieldid E-Thesis & Research สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
สืบค้น:

เขตข้อมูล ข้อมูล
บทคัดย่อ
การจัดเส้นทางเดินรถรับกลุ่มตัวอย่าง กรณีศึกษา โรงพยาบาลนครปฐม : การจัดเส้นทางเดินรถรับกลุ่มตัวอย่างจากโรงพยาบาลที่อยู่ภายใต้การดูแลของโรงพยาบาลนครปฐม เป็นการจัดเส้นทางที่มีเป้าหมายเพื่อหาเส้นทางในการเดินรถที่เหมาะสมที่สุด มีระยะทางรวมในการเดินทางน้อยที่สุด เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการขนส่งแปรผันตรงกับระยะทางรวมของการเดินทาง ดังนั้นหากจัดเส้นทางเดินรถได้มีระยะทางรวมยิ่งน้อย จะส่งผลให้ค่าใช้จ่ายในการเดินทางน้อยตามไปด้วย ในงานวิจัยฉบับนี้ใช้หลักการแก้ไขปัญหาการจัดเส้นทางเดินรถ (Vehicle Routing Problem: VRP) ที่เป็นปัญหาแบบ Non-deterministic Polynomial Time (NP-HARD) โดยใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในการหาคำตอบ ด้วยกระบวนการหาคำตอบเริ่มต้นจากวิธีปมข้างเคียงที่ใกล้ที่สุด (Nearest Neighbors Algorithm) จากนั้นนำเส้นทางที่ได้มาปรับปรุงด้วยกระบวนการเชิงพันธุกรรม (Genetic Algorithm) และระบบอาณานิคมมด (Ant Colony System) จากผลการทดสอบสามารถเปรียบเทียบการจัดเส้นทางที่มีจำนวนโรงพยาบาลเท่ากันและสถานที่เดียวกันทำให้พบว่าการหาคำตอบเริ่มต้นจากวิธีปมข้างเคียงที่ใกล้ที่สุดและนำมาปรับปรุงเส้นทางด้วยกระบวนการเชิงพันธุกรรมสามารถทำให้ระยะทางรวมน้อยลงถึง 11.94 กิโลเมตร โดยเฉลี่ยหรือคิดเป็น 7.12% เมื่อเทียบกับการหาคำตอบเริ่มต้นจากวิธีปมข้างเคียงที่ใกล้ที่สุดและนำมาปรับปรุงด้วยระบบอาณานิคมมด และเทียบเคียงกับการปรับปรุงด้วยกระบวนการเชิงพันธุกรรมและระบบอาณานิคมมด การปรับปรุงเส้นทางด้วยระบบอาณานิคมมดสามารถหาคำตอบได้รวดเร็วกว่าการหาคำตอบแบบกระบวนการเชิงพันธุกรรมถึง 12.3 วินาที หรือ 2.3 % โดยเฉลี่ย
ผู้แต่ง
ประเภทสิ่งพิมพ์
หัวเรื่อง
หัวเรื่อง
เอกสารฉบับเต็ม