fieldid E-Thesis & Research สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
สืบค้น:

เขตข้อมูล ข้อมูล
บทคัดย่อ
กลยุทธ์การตลาดและการสื่อสารแบบปากต่อปากทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งผลต่อความผูกพัน ร้านกาแฟชนิดพิเศษจากญี่ปุ่นของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร : การวิจัยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคการใช้สื่อโซเชียลมีเดียในการค้นหาและแชร์ข้อมูลร้านกาแฟชนิดพิเศษจากญี่ปุ่น 2) เพื่อศึกษาอิทธิพลของการสื่อสารแบบปากต่อปากทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งผลต่อความผูกพันร้านกาแฟชนิดพิเศษจากญี่ปุ่น และ 3) ศึกษาอิทธิพลของกลยุทธ์การตลาด 5A ที่ส่งผลต่อความผูกพันร้านกาแฟชนิดพิเศษจากญี่ปุ่น เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ เก็บรวมรวมข้อมูลโดยแบบสอบถาม โดยกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริโภคร้านกาแฟชนิดพิเศษจากญี่ปุ่นในเขตกรุงเทพมหานครที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป จำนวน 413 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอ้างอิงประเภทการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามโดยส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 30 - 39 ปี สถานภาพสมรส รายได้ต่อเดือนอยู่ที่ 30,001 - 40,000 บาท ระดับการศึกษาปริญญาตรี อาชีพพนักงานบริษัทเอกชน/รับจ้าง และผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ใช้บริการร้านกาแฟชนิดพิเศษจากญี่ปุ่น ได้แก่ KURASU, % ARABICA, HARIO, CAFÉ, UCC COFFEE ROASTERY และ CAFÉ KITSUNE ตามลำดับ ด้านพฤติกรรมการใช้สื่อโซเชียลมีเดียในการค้นหาและแชร์ข้อมูลร้านกาแฟชนิดพิเศษจากญี่ปุ่น พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ใช้โซเชียลมีเดีย Facebook เป็นหลัก รองลงมาเป็น Twitter, Instagram ตามลำดับ โดยแหล่งข้อมูลที่เกี่ยวกับร้านกาแฟชนิดพิเศษคือ เครือข่ายเพื่อนบนโซเชียลมีเดีย และการรีวิวจากบุคคลอื่นบนโซเชียลมีเดีย ช่วงเวลาใช้โซเชียลมีเดียอยู่ที่ 12.01 น. - 18.00 น. ระยะเวลาเฉลี่ยอยู่ที่ 3 - 4 ชั่วโมงต่อวัน และความถี่ในการแชร์ข้อมูลบนโซเชียลมีเดียอยู่ที่ 3 – 5 ครั้งต่อสัปดาห์ ด้านการทดสอบสมมติฐา
ผู้แต่ง
ประเภทสิ่งพิมพ์
เลขหน้า
108
หัวเรื่อง
เอกสารฉบับเต็ม