fieldid
เขตข้อมูล | ข้อมูล |
บทคัดย่อ |
องค์ประกอบของภาวะผู้นำเชิงปฏิบัติการ ส่งผลต่อความสำเร็จในการพัฒนาบุคลากร แบบโมโนซูคุริ กรณีศึกษาองค์กรญี่ปุ่นแห่งหนึ่งในนิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง : การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบประชากรศาสตร์มีการพัฒนา
บุคลากรแบบโมโนซุคุริแตกต่างกัน 2) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำเชิงปฏิบัติการส่งผลต่อความสำเร็จใน
การพัฒนาบุคลากรแบบโมโนซุคุริ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาในครั้งนี้ คือ พนักงานของบริษัท
ญี่ปุ่นแห่งหนึ่งในนิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง จำนวน 169 คน โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บ
ข้อมูล สถิติที่ใช้ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ การทดสอบความแตกต่าง
2 กลุ่มตัวอย่าง การวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยข้อมูลเชิงกลุ่ม การหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน การ
ตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้น การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันและการวิเคราะห์สมการโครงสร้าง
ด้วยการวิเคราะห์เส้นทาง
ผลการวิจัยพบว่า 1) อายุงานแตกต่างกันมีทักษะบุคลากรแบบโมโนซุคุริด้านทักษะ และ
ด้านร่างกายแตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 และพบว่า 2) ภาวะผู้นำเชิงปฏิบัติการที่
ประกอบด้วยตัวแปรภาวะผู้นำเชิงปฏิบัติการด้านภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงอย่างมีกลยุทธ์มีค่า
น้ำหนักเท่ากับ .99 ด้านภาวะผู้นำเชิงปฏิบัติการด้านภาวะผู้นำแบบมีมนุษย์สัมพันธ์มีค่าน้ำหนัก
เท่ากับ .96 และในด้านภาวะผู้นำเชิงปฏิบัติการด้านภาวะผู้นำส่งเสริมสนับสนุนมีค่าน้ำหนักเท่ากับ
.86 และสรุปได้ว่า ภาวะผู้นำเชิงปฏิบัติการส่งผลต่อความสำเร็จในการพัฒนาบุคลากรแบบโมโนซุคุริ
เท่ากับ 0.209 ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01
จากการวิจัยครั้งนี้ มีข้อเสนอแนะให้องค์กรมีการฝึกอบรมเพื่อเพิ่มทักษะของบุคลากร
แบบโมโนซุคุริให้กับพนักงานทั้ง 2 ฝ่ายให้มาก ทั้งการอบรม OJT หรือมีระบบพี่เลี้ยงเพื่อให้
พนักงานพนักงานมีทักษะที่เท่ากัน
|
ผู้แต่ง |
|
ประเภทสิ่งพิมพ์ |
|
เลขหน้า |
125 |
หัวเรื่อง |
|
หัวเรื่อง |
|
เอกสารฉบับเต็ม |
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250