fieldid
เขตข้อมูล | ข้อมูล |
บทคัดย่อ |
การพัฒนาบุคลากรฝ่ายผลิตแบบโมโนซุคุริส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากร กรณีศึกษา อุตสาหกรรมชุบแผ่นเหล็กของบริษัทญี่ปุ่นแห่งหนึ่ง : การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการพัฒนาบุคลากรฝ่ายผลิตแบบโมโนซุคุริ และประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากร 2) เปรียบเทียบประชากรศาสตร์ของพนักงานส่งผลต่อการพัฒนาบุคลากรฝ่ายผลิต และประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากร และ 3) ศึกษาการพัฒนาบุคลากรฝ่ายผลิตแบบโมโนซุคุริส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากร โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บุคลากรฝ่ายผลิตของอุตสาหกรรมชุบแผ่นเหล็กของญี่ปุ่นแห่งหนึ่ง มีทั้งหมด 116 คน โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูล สถิติที่ใช้ ประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ
ผลการศึกษาพบว่า ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากร อยู่ในระดับมาก และระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาบุคลากรฝ่ายผลิตแบบโมโนซุคุริ อยู่ในระดับมาก และพบว่า อายุต่างกันมีส่งผลกับประสิทธิภาพการปฎิบัติงานของบุคลากร ด้านผลิตภาพ และด้านการส่งมอบแตกต่างกัน และระดับการศึกษาต่างกันส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฎิบัติงานของบุคลากร ด้านการส่งมอบและด้านความปลอดภัยแตกต่างกัน และ ระยะเวลาที่ปฎิบัติงานกับองค์กรต่างกันส่งผลกับการพัฒนาบุคลากรฝ่ายผลิต ด้านการปฎิบัติงาน (ทักษะ) แตกต่างกัน ส่วนระดับการศึกษาต่างกันส่งผลต่อการพัฒนาบุคลากรฝ่ายผลิต ด้านจิตสานึกของการปรับปรุงงาน (หัวใจ) แตกต่างกัน ทั้งหมดแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และผลการศึกษายังพบว่า การพัฒนาบุคลากรฝ่ายผลิต ด้านบทบาทหน้าที่ (ร่างกาย) และด้านจิตสานึกของการปรับปรุงงาน (หัวใจ) ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฎิบัติงานของบุคลากรแตกต่างกัน อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และมีค่าสัมประสิทธิ์การตัดสินใจเชิงพหุหรือค่าอานาจในการพยากรณ์ ร้อยละ 77.5
|
ผู้แต่ง |
|
ประเภทสิ่งพิมพ์ |
|
เลขหน้า |
137 |
หัวเรื่อง |
|
หัวเรื่อง |
|
หัวเรื่อง |
|
เอกสารฉบับเต็ม |
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250