fieldid
เขตข้อมูล | ข้อมูล |
บทคัดย่อ |
การประยุกต์ Six Sigma สำหรับกระบวนการผลิตถุงมือยางแบบจุ่ม กรณีศึกษา อุตสาหกรรมการผลิตถุงมือยาง : สารนิพนธ์ฉบับนี้เป็นการประยุกต์ใช้วีธีการ Six Sigma ร่วมกับองค์ความรู้ทางด้านวิศวกรรม เพื่อหาวิธีการที่เหมาะสมที่สุดในการดำเนินการทางด้านการอนุรักษ์พลังงานในกระบวนการผลิตถุงมือยางแบบจุ่ม โดยมีขั้นตอนการดำเนินการโดยสรุป คือ 1.การกำหนดหัวข้อ (D – Define) เป็นการหาสิ่งที่ต้องการปรับปรุงการใช้พลังงานในกระบวนการผลิตถุงมือยางแบบจุ่ม จากนั้นทำการศึกษาการใช้พลังงานในกระบวนการผลิต และ
วางขอบเขตของการดำเนินการ 2.การวัด (M – Measure) เป็นการเก็บข้อมูลและวัดค่าการกระจายของข้อมูล จากนั้น หาความสัมพันธ์ของค่าต่างๆ ในรูปสมการ y = f(x) โดยที่ y คือ ผลลัพธ์ และ x คือ ตัวแปรที่ทำให้เกิดผลลัพธ์นั้น 3.การวิเคราะห์ (A – Analyze) เป็นการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่างๆ ที่ได้จากขั้นตอนการวัด โดยใช้วิธีการทางสถิติ จากนั้นทำการสรุปแนวทางที่จะทำการปรับปรุง
4.การปรับปรุง (I – Improve) เป็นการดำเนินโครงการตามแนวทางที่ได้กำหนด เสร็จแล้วทำการเดินเครื่อง พร้อมทั้งเก็บข้อมูลหลังจากดำเนินการ จากนั้นทำการเปรียบเทียบข้อมูลก่อนการปรับปรุงและหลังการปรับปรุง 5.การควบคุม (C – Control) เป็นการวางข้อกำหนดเพื่อที่จะทำให้อุปกรณ์ที่ปรับปรุงแล้วมีการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพตลอดเวลาจากผลการดำเนินการ สามารถลดการใช้ก๊าซธรรมชาติในการผลิตจากเดิม 0.7234 ล้านบีทียูต่อพันคู่ เหลือ 0.6444 ล้านบีทียูต่อพันคู่ หรือคิดเป็นพลังงานที่ลดลงได้ 10.92 เปอร์เซนต์ และในการลงทุนจะมีระยะเวลาคืนทุนในรูป Simply Payback Period ประมาณ 10 เดือน โดยมีผลประหยัดเท่ากับ 8,217,150 บาทต่อปี
|
ผู้แต่ง |
|
ประเภทสิ่งพิมพ์ |
|
เลขหน้า |
76 |
หัวเรื่อง |
|
หัวเรื่อง |
|
เอกสารฉบับเต็ม |
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250