fieldid E-Thesis & Research สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
สืบค้น:

เขตข้อมูล ข้อมูล
บทคัดย่อ
ทักษะที่จำเป็นของล่ามอุตสาหกรรมยานยนต์ขององค์กรญี่ปุ่นในศตวรรษที่ 21 : การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ศึกษาระดับทักษะที่จาเป็นของล่ามในอุตสาหกรรมยานยนต์จาเป็นต้องมีในศตวรรษที่ 21 ผ่านมุมมองของนายจ้างชาวญี่ปุ่น 2) เพื่อเปรียบเทียบประชากรศาสตร์ของล่ามส่งผลต่อทักษะล่ามในอุตสาหกรรมยานยนต์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาในครั้งนี้ คือ ล่ามไทย-ญี่ปุ่น จานวน 42 คน และ ผู้ใช้ล่ามในองค์กรญี่ปุ่น จานวน 60 คน โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูล สถิติที่ใช้ ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ การทดสอบความแตกต่าง 2 กลุ่มตัวอย่าง ผลการวิเคราะห์ระดับด้านสมรรถนะที่จาเป็นของล่ามไทย-ญี่ปุ่นจากมุมมองของผู้ใช้ล่าม พบว่า ความเข้าใจในความต่างทางวัฒนธรรม และการทางานแบบการทาหลายสิ่งพร้อมกัน อยู่ในระดับที่มีความจาเป็นมากที่สุด ด้านทักษะที่จาเป็นของล่ามไทย-ญี่ปุ่นในอุตสาหกรรมยานยนต์จากมุมมองของผู้ใช้ล่าม พบว่า ล่ามจาเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับอุตสาหกรรมยานยนต์ ตั้งแต่กระบวนการผลิต จนถึง กระบวนการส่งออกขาย ล่ามจาเป็นต้องมีทักษะในการล่ามของแผนกอื่น นอกเหนือจากแผนกที่ตนสังกัด และล่ามจาเป็นต้องมีความรู้ในทั้งเรื่องงานขาย งานบัญชี อยู่ในระดับที่มีความจาเป็นมาก ด้านทักษะการทางานในอนาคตที่จาเป็นของล่ามไทย-ญี่ปุ่นในอุตสาหกรรมยานยนต์จากมุมมองของผู้ใช้ล่าม พบว่า ล่ามจาเป็นต้องมีทักษะทางภาษามากกว่า 2 ภาษานอกเหนือจาก ภาษาญี่ปุ่น ภาษาไทย ล่ามจาเป็นต้องมีบทบาทหน้าที่ในการทางานที่หลากหลาย และล่ามจาเป็นต้องใช้เทคโนโลยีทางปัญญาประดิษฐ์เข้ามาช่วยในการล่าม อยู่ในระดับที่มีความจาเป็นมาก ดังนั้นเพื่อเป็นหนทางสู่ความสาเร็จและความก้าวหน้าสาหรับล่ามไทย-ญี่ปุ่นในอุตสาหกรรมยานยนต์ในศตวรรษที่ 21 ล่ามไทย-ญี่ปุ่นควรจะเตรียมพร้อมเพื่อเรียนรู้ทักษะดังกล่าว
ผู้แต่ง
ประเภทสิ่งพิมพ์
เลขหน้า
223
หัวเรื่อง
หัวเรื่อง
เอกสารฉบับเต็ม