fieldid E-Thesis & Research สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
สืบค้น:

เขตข้อมูล ข้อมูล
บทคัดย่อ
การบริหารแบบญี่ปุ่น การสื่อสารแบบญี่ปุ่น (โฮ เรน โซ) และการสนับสนุนจากองค์กร ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานและความผูกพันต่อองค์กร กรณีศึกษา บริษัทสัญชาติญี่ปุ่นธุรกิจค้าปลีกแห่งหนึ่ง : การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาการบริหารแบบญี่ปุ่น การสื่อสารแบบญี่ปุ่น (โฮ เรน โซ) และการสนับสนุนจากองค์กรส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงาน 2) เพื่อศึกษาการบริหารแบบญี่ปุ่น การสื่อสารแบบญี่ปุ่น (โฮ เรน โซ) และการสนับสนุนจากองค์กรส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาในครั้งนี้ คือ พนักงานบริษัทสัญชาติญี่ปุ่นธุรกิจค้าปลีกแห่งหนึ่ง จำนวน 408 คน โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูล สถิติที่ใช้ ประกอบด้วย ค่าแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน การวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นอย่างง่ายและแบบพหุ ผลการทดสอบพบว่า การบริหารแบบญี่ปุ่น (=0.604) ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงาน มีอำนาจในการพยากรณ์ที่ร้อยละ 36.5 ที่ระดับ 0.01 การสื่อสารแบบญี่ปุ่น (โฮ เรน โซ) ด้านการปรึกษา ด้านการประสานงาน และด้านการรายงาน มีค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยเชิงพหุของตัวแปร (=0.369, 0.321 และ 0.169) ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงาน มีอำนาจในการพยากรณ์ที่ร้อยละ 59.7 ที่ระดับ 0.01 การสนับสนุนจากองค์กรด้านการสนับสนุนจากหัวหน้าหรือผู้บังคับบัญชา และด้านรางวัลและสภาพแวดล้อมการทำงาน มีค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยเชิงพหุของตัวแปร (=0.336 และ 0.323) ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงาน มีอำนาจในการพยากรณ์ที่ร้อยละ 35.7 ที่ระดับ 0.01 และพบว่า การบริหารแบบญี่ปุ่น (=0.687) ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรมีอำนาจในการพยากรณ์ที่ร้อยละ 47.2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และการสื่อสารแบบญี่ปุ่น (โฮ เรน โซ) ด้านการประสานงาน และด้านการปรึกษา มีค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยเชิงพหุของตัวแปร (=0.474 และ 0.240) ที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กร มีอำนาจในการพยากรณ์ที่ร้อยละ 44.4 ท
ผู้แต่ง
ประเภทสิ่งพิมพ์
เลขหน้า
193
หัวเรื่อง
หัวเรื่อง
เอกสารฉบับเต็ม