fieldid
เขตข้อมูล | ข้อมูล |
บทคัดย่อ |
การควบคุมระบบ 4 ถังแบบสัญญาณป้อนเข้าและออกหลายสัญญาณด้วยตัวควบคุมแบบพีไอดี โดยวิธีการเรียนรู้จากสิ่งตรงข้ามร่วมกับอัลกอริทึมไซน์-โคไซน์ : วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปรับค่าพารามิเตอร์ของตัวควบคุมพีไอดีด้วยวิธีการเรียนรู้จากสิ่งตรงข้ามร่วมกับอัลกอริทึมไซน์โคไซน์สำหรับระบบ 4 ถัง และเปรียบเทียบสมรรถนะของตัวควบคุมพีไอดีที่ถูกปรับค่าพารามิเตอร์ด้วยวิธีดังกล่าว กับวิธีอัลกอริทึมไซน์โคไซน์ และวิธีการหาค่าที่เหมาะสมของกลุ่มอนุภาค
ระบบ 4 ถัง เป็นระบบที่สามารถปรับเปลี่ยนสภาวะให้เป็นระบบมีเสถียรภาพที่เรียกว่าสภาวะ Minimum Phase และระบบไม่มีเสถียรภาพที่เรียกว่าสภาวะ Non-minimum Phase ได้ จากจุดเด่นของระบบนี้ นำไปสู่การทดลองและการศึกษาการควบคุมระบบด้วยตัวควบคุมพีไอดีที่เกิดจากการปรับค่าพารามิเตอร์ด้วยวิธีการเรียนรู้จากสิ่งตรงข้ามร่วมกับอัลกอริทึมไซน์โคไซน์ โดยมีการทดลอง 3 การทดลอง ดังนี้ การทดลองที่ 1 หาขอบเขตที่เหมาะสมของตัวควบคุมพีไอดีต่อระบบถัง 4 ถังในสภาวะต่าง ๆ การทดลองที่ 2 หาระดับปัจจัยที่เหมาะสมของวิธีการเรียนรู้จากสิ่งตรงข้ามร่วมกับอัลกอริทึมไซน์โคไซน์ ที่ประกอบไปด้วย ปัจจัยจำนวนประชากร และปัจจัยจำนวนรอบค้นหา ต่อการปรับตัวควบคุมพีไอดีสำหรับระบบถัง 4 ถัง ในสภาวะต่าง ๆ และการทดลองที่ 3 จะนำปัจจัยที่เหมาะสมของวิธีการเรียนรู้จากสิ่งตรงข้ามร่วมกับอัลกอริทึมไซน์โคไซน์ในการทดลองที่ 2 กับปัจจัยที่เหมาะสมของวิธีอัลกอริทึมไซน์โคไซน์ และวิธีการหาค่าที่เหมาะสมของกลุ่มอนุภาคมาปรับตัวควบคุมพีไอดี แล้วเปรียบเทียบสมรรถนะของตัวควบคุมพีไอดีด้วยฟังก์ชันดัชนีสมรรถนะแบบปริพันธ์ (ITAE) และผลตอบสนองของระบบ 4 ถัง ในสภาวะต่าง ๆ ที่ได้
จากผลการทดลองพบว่า เมื่อใช้วิธีการเรียนรู้จากสิ่งตรงข้ามร่วมกับอัลกอริทึมไซน์โคไซน์ในการปรับตัวควบคุมพีไอดีเพื่อควบคุมระบบ 4 ถัง ค่าดัชนีสมรรถนะแบบปริพันธ์ (ITAE) ที่ได้โดยรวมดีกว่าค่าที่
|
ผู้แต่ง |
|
ประเภทสิ่งพิมพ์ |
|
เลขหน้า |
111 |
หัวเรื่อง |
|
หัวเรื่อง |
|
เอกสารฉบับเต็ม |
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250