fieldid E-Thesis & Research สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
สืบค้น:

เขตข้อมูล ข้อมูล
บทคัดย่อ
การปรับปรุงกระบวนการจัดการอะไหล่คงคลังในการบริหารงานบำรุงรักษาด้วย การประยุกต์ใช้ระบบการผลิตแบบโตโยต้าและการวิเคราะห์แบบเอบีซี : การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันของปริมาณอะไหล่คงคลังและวัสดุสิ้นเปลืองในงานบำรุงรักษาเครื่องจักร 2) เพื่อปรับปรุงกระบวนการบริหารจัดการอะไหล่คงคลังด้วยการควบคุมแบบเอบีซีและระบบการผลิตแบบโตโยต้าในงานบำรุงรักษาเครื่องจักร และ 3) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนงานบำรุงรักษาเครื่องจักรด้วยการบริหารจัดการอะไหล่คงคลังให้บรรลุตามเป้าหมาย จากการศึกษาสภาพปัจจุบัน พบว่า การวิเคราะห์แบบเอบีซีช่วยให้เกิดการจัดลำดับความสำคัญและการใช้งานอะไหล่และวัสดุสิ้นเปลืองคงคลังได้เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มเอ จำนวน 1,400 รายการ กลุ่มบี จำนวน 2,150 รายการ และกลุ่มซี จำนวน 1,030 รายการ โดยกลุ่มที่มีมูลค่าหรือต้นทุนอะไหล่สูงสุด คือ กลุ่มเอ ซึ่งมีมูลค่า 4,770,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 42.49 ของมูลค่าอะไหล่และวัสดุสิ้นเปลืองทั้งหมด กลุ่มบีมีมูลค่า 4,404,600 บาท คิดเป็นร้อยละ 39.23 และกลุ่มซีมีมูลค่า 2,052,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 18.28 จากการวิเคราะห์แบบเอบีซี สามารถออกแบบผังการใช้พื้นที่คลังอะไหล่ได้เต็มประสิทธิภาพของพื้นที่ และจัดลำดับความสำคัญตามหลักก่อน-หลัง ด้วยการประยุกต์ใช้ระบบการผลิตแบบโตโยต้านั้นได้นำแนวทางจัดการแบบระบบทันเวลาพอดี รวมกับการใช้บัตรคัมบังและการควบคุมอะไหล่และวัสดุสิ้นเปลืองแบบดึง กระบวนการเบิก-จ่ายทั้งหมดใช้เวลา จาก 26 นาที เหลือ 20 นาที ลดเวลาลงได้ 6 นาที และระยะทางทั้งหมดจาก 215 เมตร เหลือ 160 เมตร ลดระยะทางลงได้ 55 เมตร นอกจากนี้ ระบบนี้ยังช่วยลดต้นทุนอะไหล่และวัสดุสิ้นเปลืองคงคลังโดยรวม ได้ร้อยละ 5.28
ผู้แต่ง
ประเภทสิ่งพิมพ์
เลขหน้า
59
หัวเรื่อง
หัวเรื่อง
เอกสารฉบับเต็ม