fieldid
เขตข้อมูล | ข้อมูล |
บทคัดย่อ |
การพัฒนาระบบติดตามและแสดงผลกระบวนการผลิตโดยใช้ IIoT กรณีศึกษา ชุดจำลองระบบการผลิตอัตโนมัติ : การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิภาพของการนำเทคโนโลยีอุตสาหกรรม 4.0 มาประยุกต์ใช้ในการผลิตอัจฉริยะ โดยมุ่งเน้นที่การแก้ไขปัญหาความท้าทายด้านการแข่งขันในภาคอุตสาหกรรม ระบบตรวจสอบและควบคุมแบบเรียลไทม์ที่พัฒนาขึ้นโดยใช้โปรแกรม Node-Red และแสดงผลข้อมูลผ่านโปรแกรม Grafana สามารถติดตามข้อมูลสำคัญในการผลิตได้ ประกอบด้วย จำนวนชิ้นงานการผลิต สถานะของเครื่องจักร ปริมาณการใช้พลังงาน ระดับความสั่นสะเทือน และระดับอุณหภูมิของเครื่องจักร นอกจากนี้ระบบยังสามารถวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อระบุปัญหาที่อาจเกิดขึ้น และดำเนินการแก้ไขได้โดยอัตโนมัติ ส่งผลให้กระบวนการทำงานของเครื่องจักรมีความต่อเนื่อง เพิ่มค่าความแม่นยำในการผลิต สามารถทราบผลการดำเนินงานได้อย่างทันท่วงที และช่วยในการวางแผนการผลิตรวมถึงการจัดการการใช้พลังงานอย่างเหมาะสม ผลการศึกษาพบว่าระบบประกอบด้วย สถานะทำงาน สถานะหยุดทำงาน สถานะกำลังดำเนินการ และสถานะเสร็จสิ้นการทำงาน ซึ่งสอดคล้องกับแผนการผลิตที่กำหนดไว้ 4 ชิ้นงาน โดยแบ่งประเภทวัสดุออกเป็น 3 ชนิด ได้แก่ อะลูมิเนียม พลาสติกสีเหลือง และพลาสติกสีดำ ระบบสามารถแสดงผลความสำเร็จของการผลิตได้ 100% สามารถตรวจสอบการใช้พลังงานทุกสถานีต่อการผลิต 1 ชิ้นคือ 0.0375 kWh และควบคุมอุณหภูมิการทำงานของเครื่องจักรให้อยู่ที่ระดับเหมาะสม 27.5 องศาเซลเซียสได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ระบบยังสามารถตรวจสอบระดับการสั่นสะเทือนของมอเตอร์สายพานลำเลียงหลัก ซึ่งมีค่าปกติที่ 0.7 มิลลิเมตรต่อวินาที และสามารถปรับความเร็วของเครื่องจักรได้โดยอัตโนมัติเมื่อตรวจพบความผิดปกติ เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้ รวมถึงการควบคุมระยะไกลช่วยให้สามารถดำเนินการปิดเครื่องฉุกเฉินและปรับปรุงพารามิเตอร์ต่างๆ ได้ตา
|
ผู้แต่ง |
|
ประเภทสิ่งพิมพ์ |
|
เลขหน้า |
90 |
หัวเรื่อง |
|
หัวเรื่อง |
|
เอกสารฉบับเต็ม |
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250