fieldid E-Thesis & Research สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
สืบค้น:

เขตข้อมูล ข้อมูล
บทคัดย่อ
การลดเวลาปรับตั้งเครื่องจักร กรณีศึกษา กระบวนการพิมพ์แบบฟอร์มธุรกิจ : การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อนำวิธีการลดเวลาปรับตั้งเครื่องจักรตามหลักการของ SMED (Single Minute Exchange of Die) เพื่อลดเวลาในการปรับตั้ง (Setup time) เครื่องพิมพ์ออฟเซทในกระบวนการพิมพ์แบบฟอร์มธุรกิจ (Business Form) ลงร้อยละ 50 เพิ่มประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักร (OEE) สูงขึ้นจากเดิมร้อยละ 20 และลดต้นทุนด้านแรงงานที่สูญเสียไปในการปรับตั้งเครื่องและต้นทุนที่เกิดจากของเสียในการผลิตลงจากเดิมร้อยละ 50โดยอาศัยเครื่องมือ การศึกษางาน (Work Study) และแผนภูมิการผลิต (Flow Process Chart) เพื่อเก็บบันทึกข้อมูล นำมาวิเคราะห์และระบุว่าขั้นตอนใดที่ดำเนินการเปลี่ยนแปลงหรือปรับปรุงเพื่อลดเวลาการปรับตั้งเครื่องจักร จากนั้นใช้หลักการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (Kaizen) และ ECRS เข้ามาประยุกต์ใช้เพื่อแก้ไขปรับปรุงขั้นตอนการปฏิบัติงานให้ง่ายขึ้น จากการศึกษาข้อมูลสภาพปัจจุบันของกระบวนการพิมพ์แบบฟอร์มธุรกิจ พบว่า การปรับตั้งเครื่องพิมพ์เพื่อเปลี่ยนงานใช้เวลาในการปรับตั้ง (Setup time) เท่ากับ 311 นาที ค่าประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักร เฉลี่ยเท่ากับร้อยละ 15.00 และมีขั้นตอนการปรับตั้ง 36 ขั้นตอน จึงดำเนินการตามหลักการ SMED โดยขั้นตอนที่ 1 วิเคราะห์ขั้นตอนการปรับตั้งเพื่อแยกออกเป็นการปรับตั้งภายในและการปรับตั้งภายนอก ขั้นตอนที่ 2 แปลงการปรับตั้งภายในให้เป็นการปรับตั้งภายนอกหรือยกเลิกการปรับตั้งเครื่องบางขั้นตอน ขั้นตอนที่ 3 วิเคราะห์และดาเนินการปรับปรุงขั้นตอนการปรับตั้งเครื่อง โดยประยุกต์ใช้หลักการ Kaizen และ ECRS เพื่อปรับปรุงการปฏิบัติงานและลดเวลาการปรับตั้งเครื่อง จากการดำเนินการทั้ง 3 ขั้นตอนดังกล่าว สามารถลดขั้นตอนการปรับตั้งเครื่องพิมพ์จาก 36 ขั้นตอน เหลือ 23 ขั้นตอน ลดเวลาการปรับตั้งเครื่อง
ผู้แต่ง
ประเภทสิ่งพิมพ์
เลขหน้า
101 หน้า
หัวเรื่อง
หัวเรื่อง
เอกสารฉบับเต็ม