fieldid
เขตข้อมูล | ข้อมูล |
บทคัดย่อ |
การประเมินสมรรถนะการแก้ปัญหาของพนักงาน กรณีศึกษา โรงงานอุตสาหกรรมผลิตยา : วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้ เพื่อประเมินระดับสมรรถนะการแก้ปัญหาของพนักงาน
และทำการเปรียบเทียบกับระดับสมรรถนะการแก้ไขปัญหาที่บริษัทคาดหวังเพื่อใช้เป็นข้อมูลใน
การกำหนดแนวทางในการพัฒนาสมรรถนะการแก้ปัญหาของพนักงาน โดยมีสมมติฐานว่า
พนักงานที่มีปัจจัยด้านบุคคลแตกต่างกัน ได้แก่ เพศ อายุ ลักษณะงานที่รับผิดชอบระดับ
การศึกษา และประสบการณ์การทำงาน จะมีระดับสมรรถนะการแก้ปัญหาแตกต่างกัน โดย
ทำการศึกษาระดับสมรรถนะของพนักงานระดับปฏิบัติการ/เจ้าหนาที่ ระดับหัวหน้างาน และ
ระดับผู้จัดการ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ แบบสอบถามประเมินตนเองในด้าน
สมรรถนะการแก้ปัญหาและการใช้เครื่องมือในการแก้ปัญหา โดยทำการศึกษาสมรรถนะการ
แก้ปัญหา 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1. การนิยามปัญหา 2. การวิเคราะห์สาเหตุรากเหง้าของปัญหา
3. การกำหนดแนวทางการแก้ปัญหา 4. การดำเนินการแก้ปัญหา 5. การติดตามผลและการ
จัดทำมาตรฐาน สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบ
สมมติฐานด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวน (F-test)
จากการศึกษาพบว่าระดับสมรรถนะการแก้ปัญหาของพนักงานในภาพรวมพบว่า
พนักงานระดับปฏิบัติการมีระดับสมรรถนะการแก้ไขปัญหามีค่าเฉลี่ย 1.58 ซึ่งอยู่ในระดับน้อย
ซึ่งต่ำกว่าระดับที่บริษัทคาดหวัง พนักงานระดับหัวหน้างานมีระดับสมรรถนะการแก้ไขปัญหามี
ค่าเฉลี่ย 2.28 ซึ่งอยู่ในระดับปานกลางซึ่งต่ำกว่าระดับที่บริษัทคาดหวัง พนักงานระดับผู้จัดการ
มีระดับสมรรถนะการแก้ไขปัญหามีค่าเฉลี่ย 2.73 ซึ่งอยู่ในระดับมากซึ่งต่ำกว่าระดับที่บริษัท
คาดหวังซึ่งระดับสมรรถนะขั้นตอนการแก้ไขปัญหาที่มีระดับต่ำที่สุด 3 อันดับแรกคือ ขั้นตอน
การติดตามประเมินผลและการจัดทำมาตรฐาน รองลงมาคือขั้นตอนการดำเนินการปฏิบัติการ
แก้ไข
|
ผู้แต่ง |
|
ประเภทสิ่งพิมพ์ |
|
ปีที่พิมพ์ |
1 |
เลขหน้า |
131 หน้า |
หัวเรื่อง |
|
หัวเรื่อง |
|
เอกสารฉบับเต็ม |
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250