fieldid
เขตข้อมูล | ข้อมูล |
บทคัดย่อ |
กลยุทธ์การออกจากกับดักรายได้ปานกลาง กรณีศึกษา ประเทศไทย มาเลเซีย และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม : การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการวิเคราะห์ SWOT ของประเทศที่ติดกับดักรายได้ปานกลาง และศึกษากลยุทธ์การหลุดออกจากกับดักรายได้ปานกลางของประเทศไทย มาเลเซีย และเวียดนาม โดยใช้ TOWS Matrix โดยมุ่งหวังเพื่อการพัฒนาโดยใช้กลยุทธ์จากการศึกษาเป็นแนวทางหนึ่งในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจทั้งภาครัฐและเอกชน ผลจากการศึกษา พบว่า ประเทศไทย มีลักษณะเด่นด้านภูมิปัญญา การแพทย์แผนไทยและการแพทย์สมัยใหม่ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่น ภาครัฐจึงควรสนับสนุนผู้ประกอบการไทยเพื่อพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มาเลเซีย มีลักษณะเด่น คือ การเป็นชาติมุสลิมที่มีนวัตกรรมการพัฒนา ประกอบกับภาครัฐให้ความสำคัญทางศาสนา กระแสสังคมโลกที่มุ่งเน้นสุขอนามัยที่สะอาด จึงควรยกระดับการเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมฮาลาลเวียดนามเป็นประเทศเปิดใหม่ มีลักษณะเด่นด้านทรัพยากรทางธรรมชาติที่มีความอุดมสมบูรณ์ นอกจากความร่วมมือกับบริษัทต่าง ๆ ที่ร่วมลงทุนในภาคการผลิตเพื่อสร้างการพัฒนาในประเทศแล้ว อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวก็เป็นอุตสาหกรรมโดดเด่นของเวียดนามที่จะสามารถดึงดูดเงินตราเข้าประเทศเพื่อการพัฒนาต่อไป อย่างไรก็ตาม การศึกษาเชิงกลยุทธ์มักมีความเห็นที่แตกต่างกันทั้งจากความคิดพื้นฐานหรือการสังเคราะห์จากการอ่านที่แตกต่างกัน แต่ทั้งนี้การเล็งเห็นปัญหาและร่วมกันหากลยุทธ์เพื่อพ้นจากกับดักรายได้ปานกลางย่อมเป็นประโยชน์เพื่อสร้างทางเลือกให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้นำไปปฏิบัติ ทั้งนี้งานวิจัยจะมีประโยชน์มากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับการนำไปปฏิบัติของหน่วยงานทีมอำนาจดำเนินการ
|
ผู้แต่ง |
|
ประเภทสิ่งพิมพ์ |
|
ปีที่พิมพ์ |
1 |
เลขหน้า |
179 หน้า |
หัวเรื่อง |
|
หัวเรื่อง |
|
หัวเรื่อง |
|
หัวเรื่อง |
|
หัวเรื่อง |
|
หัวเรื่อง |
|
หัวเรื่อง |
|
เอกสารฉบับเต็ม |
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250