fieldid
เขตข้อมูล | ข้อมูล |
บทคัดย่อ |
การจัดการสินค้าคงคลังส่วนเกิน กรณีศึกษาบริษัทผลิตรถยนต์ ABC : กรณีศึกษานี้ เป็นการศึกษาเพื่อค้นหาสาเหตุการเกิดสินค้าคงคลังส่วนเกิน และหาแนว
ทางแก้ไขทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยทำการศึกษาเชิงคุณภาพ (Qualitative Research)
จากงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และนำสาเหตุและการจัดการสินค้าคงคลังส่วนเกินที่ได้จากการศึกษา
มาสร้างแบบสัมภาษณ์ซึ่งได้ตรวจสอบความเที่ยงตรงโดยดัชนีความสอดคล้อง (IOC) แล้วทำ
การสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) เพื่อให้ทราบถึงสาเหตุการเกิดสินค้าคงคลัง
ส่วนเกิน และวิธีการจัดการสินค้าคงคลังส่วนเกินขององค์กรที่ทำอยู่ในปัจจุบัน เพื่อนำเสนอ
วิธีการใหม่ๆ เพื่อให้องค์กรสามารถดำเนินกิจการในสภาวะการแข่งขันทางการตลาดที่สูงขึ้น
ความต้องการของลูกค้ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และภาวะเศรษฐกิจถดถอย ซึ่งเป็นปัจจัย
ที่ทำให้เกิดสินค้าคงคลังส่วนเกินเกิดขึ้นในโดยเฉพาะอย่างยิ่ง วัตถุดิบ และสินค้าสำเร็จรูป ซึ่ง
ส่งผลกระทบต่อต้นทุนโดยรวมขององค์กรเมื่อต้องเก็บสินค้าคงคลังส่วนเกินเป็นระยะเวลานาน
และการใช้พื้นที่จัดเก็บไม่เต็มประสิทธิภาพ
จากการศึกษาและค้นคว้างานวิจัยที่เกี่ยวข้องพบว่า สาเหตุการเกิดสินค้าคงคลัง นั้น
มีสาเหตุได้จากหลากหลายสาเหตุ ไม่เฉพาะการเปลี่ยนแปลงความต้องการของลูกค้า หรือสภาวะ
เศรษฐกิจถดถอยเท่านั้น แต่มาจาก เจ้าหน้าที่จัดซื้อส่งคำสั่งซื้อผิด เจ้าหน้าที่สั่งซื้อกลัวการหยุด
สายการผลิตจึงสั่ง ซื้อวัตถุดิบเข้ามามากๆ ฝ่ายขายพยากรณ์ความต้องการไม่แม่นยำส่งผลให้
การวางแผนวัตถุดิบผิดพลาด เป็นต้น เมื่อนำข้อมูลที่ได้ศึกษามานำไปสร้างเป็นแบบสัมภาษณ์
และทำการสัมภาษณ์ พบว่า การเปลี่ยนแปลงคำสั่งซื้อจากลูกค้าเป็นสาเหตุหลักของการเกิด
สินค้าคงคลังส่วนเกิน ประกอบกับไม่ได้กำหนดนโยบายในการจัดการที่ชัดเจน ขาดการติดต่อ
ประสานงา
|
ผู้แต่ง |
|
ประเภทสิ่งพิมพ์ |
|
เลขหน้า |
76 หน้า |
หัวเรื่อง |
|
หัวเรื่อง |
|
หัวเรื่อง |
|
เอกสารฉบับเต็ม |
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250