fieldid E-Thesis & Research สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
สืบค้น:

เขตข้อมูล ข้อมูล
บทคัดย่อ
การออกแบบการทดลองเพื่อปรับปรุงกระบวนการผลิตฉนวนหุ้มท่อ : การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงกระบวนการผลิตฉนวนหุ้มท่อ ผลิตภัณฑ์ รุ่นใหม่ล่าสุดนี้เริ่มเปิดสายการผลิตได้เพียง 2 เดือน เมื่อศึกษาค่าร้อยละของผลผลิต (Yield) พบว่ามีค่าเฉลี่ย 84% ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมายที่90% ในการปรับปรุงกระบวนการนั้น ได้นำเทคนิค การออกแบบการทดลอง (Design of Experiment) มาประยุกต์ใช้โดยเริ่มจากขั้นตอนการกำหนด ปัญหา ได้นำหลักการพาเรโต เข้ามาช่วยจัดลำดับความสำคัญของปัญหา พบว่าจำนวนของเสีย ที่พบมากในผลิตภัณฑ์รุ่นนี้คือ ของเสียตะเข็บปริด้านนอก และด้านใน จึงได้กำหนดขอบเขต ปัญหาคือการปรับปรุงค่าความแข็งแรงของตะเข็บท่อ จากนั้นกำหนดตัวแปรตอบสนอง (Y) และ ปัจจัย (X) โดยใช้การวิเคราะห์ด้วยผังก้างปลาแล้วจึงนำสาเหตุที่ได้มาจัดทำ FMEA เพื่อนำค่า RPN มาจัดลำดับความรุนแรงของผลกระทบ จากการประเมินพบว่า สาเหตุที่มีค่า RPN สูงสุด คือ ชนิดของ Die ไม่เหมาะสม และ Speed Line ไม่เหมาะสม จึงกำหนดให้ปัจจัยทั้งสองนี้ เป็น ปัจจัยที่จะนำไปออกแบบการทดลองต่อไปจากนั้นทำการออกแบบการทดลอง (DOE) ด้วยวิธี General Full Factorial แล้วทำการทดลองหาเงื่อนไขในการผลิตที่ดีที่สุด จากการทดลองทำให้ ทางทีมงานเลือกเงื่อนไขที่ใช้Die ชนิด Cooling และ Speed Line 15 m/min มาเป็นมาตรฐาน จากนั้นทำการตรวจสอบยืนยันผลหลังการใช้เงื่อนไขการผลิตใหม่โดยได้เฝ้าติดตามและจัดทำ แผนภูมิควบคุม X Bar R Chart ซึ่งพบว่าค่าความแข็งแรงของตะเข็บท่ออยู่ภายใต้ค่าควบคุม และวัดความสามารถของกระบวนการ พบว่าค่าความสามารถของกระบวนการอยู่ในเกณฑ์ดีผล ที่ได้รับจากการศึกษาครั้งนี้ คือกระบวนการได้รับการออกแบบและปรับปรุงให้ดีขึ้นจนทำให้ จำนวนของเสียตะเข็บท่อปริลดลง 97% หรือสามารถลดต้นทุนคุณภาพได้480,000 บาท/ปี
ผู้แต่ง
ประเภทสิ่งพิมพ์
เลขหน้า
89 หน้า
หัวเรื่อง
หัวเรื่อง
เอกสารฉบับเต็ม