fieldid
เขตข้อมูล | ข้อมูล |
บทคัดย่อ |
ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการทำงานกับความผูกพันต่อองค์กร กรณีศึกษา พนักงานส่วนบริหารธุรกิจ บริษัท ไทยฮอนด้า แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด : ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการทำงานกับความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน
กรณีศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ระดับแรงจูงใจของ
ปัจจัยค้ำจุน และ ปัจจัยจูงใจ กับระดับความผูกพันต่อองค์กร
การศึกษาเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยใช้แบบสอบถามเป็น
เครื่องมือในการวิจัยโดยใช้Likert Scale เป็นมาตรวัด โดยแบบสอบถามจำนวน 186 ราย
แจกจ่ายไปยังพนักงานส่วนบริหารธรกิจผ่านผู้ประสานงานซึ่ง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบด้วยตัวสถิติMann-Whitney :
U test, Kruskal-Wallis : H test และการวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์ของสเปียร์แมน (Spearman
Correlation) จากผลการศึกษาพบว่า
1. ด้านปัจจัยส่วนบุคคล ผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนใหญ่เป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง
อายุระหว่าง 41-50 ปี มีการศึกษาปริญญาตรีมีสถานภาพสมรสไม่มีบุตรธิดา ทำงานในฝ่าย
ควบคุมการผลิตเป็นพนักงานมีระยะเวลาในการทำงาน มากกว่า 15 ปีขึ้นไป และมีมีรายได้ต่อ
เดือน 30,000-50,000 บาท
2. ปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกัน โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์กับระดับความผูกพัน
ต่อองค์กรแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
3. ด้านปัจจัยค้ำจุน โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์กับระดับความผูกพันต่อองค์กร
แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 และ 0.01
4. ด้านปัจจัยจูงใจ โดยภาพรวมส่งผลต่อระดับความผูกพันต่อองค์กรอย่างมีนัยสำคัญ
ทางสถิติที่ 0.05 และ 0.01
|
ผู้แต่ง |
|
ประเภทสิ่งพิมพ์ |
|
ปีที่พิมพ์ |
1 |
เลขหน้า |
183 หน้า |
หัวเรื่อง |
|
หัวเรื่อง |
|
เอกสารฉบับเต็ม |
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250