fieldid
เขตข้อมูล | ข้อมูล |
บทคัดย่อ |
การศึกษาปัจจัยความพึงพอใจและความจงรักภักดีของโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง ในเขตกรุงเทพมหานคร กรณีศึกษา แผนกผู้ป่วยนอก (OPD) : การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ 1) ศึกษาและวัดระดับความพึงพอใจที่มีต่อ
โรงพยาบาลเอกชน 2) เพื่อศึกษาและวัดระดับความจงรักภักดีที่มีต่อโรงพยาบาลเอกชน 3) เพื่อ
ศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบตัวแปรที่มีผลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการของโรงพยาบาล
เอกชน และ4) เพื่อศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบตัวแปรที่มีผลต่อความจงรักภักดีของผู้ใช้บริการ
ของโรงพยาบาลเอกชน การศึกษาวิจัยครั้งนี้ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 387 คน ที่ระดับความเชื่อมั่น
ร้อยละ 95 ความคลาดเคลื่อน 0.05 ใช้วิธีการสุ่มแบบบังเอิญภายในโรงพยาบาล โดยใช้
แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative Analysis)
ใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) และใช้สถิติเชิงอนุมาน (Inferential Statistics)
ได้แก่ สถิติ T-test เพื่อใช้ในการทดสอบสมมุติฐาน (Hypothesis) หาค่าความแตกต่างระหว่าง
ตัวแปรอิสระ 2 กลุ่ม และใช้สถิติF-Test (One way Anova) เพื่อทดสอบสมมุติฐานหาความ
แตกต่างระหว่างตัวแปรอิสระ 3 กลุ่มขึ้นไป และใช้ สถิติ Scheffe ในการวิเคราะห์ความแตกต่าง
เป็นรายคู่
ผลการวิจัยพบว่า ระดับความพึงพอใจต่อการให้บริการแผนกผู้ป่วยนอกโดยภาพ
รวมอยู่ในระดับมาก ระดับความจงรักภักดีต่อการใช้บริการแผนกผู้ป่วยนอกโดยภาพรวมอยู่ใน
ระดับปานกลาง จากการเปรียบเทียบตัวแปรพบว่าตัวแปรอิสระที่มีผลต่อความพึงพอใจของ
ผู้ใช้บริการของโรงพยาบาลแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 คือ 1) อายุ 2)
ระดับการศึกษา 3) อาชีพ 4) เขตที่อยู่อาศัย และ 5) จำนวนครั้งในการใช้บริการ ซึ่งสามารถดูได้
จากการวิเคราะห์เป็นรายด้านและโดยภาพรวม
ส่วนตัวแปรอิสระที่มีผลต่อความจงรักภักดีของผู้ใช้บริการของโรงพยาบาลแตกต่างกัน
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
|
ผู้แต่ง |
|
ประเภทสิ่งพิมพ์ |
|
เลขหน้า |
152 |
หัวเรื่อง |
|
หัวเรื่อง |
|
เอกสารฉบับเต็ม |
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250