fieldid
เขตข้อมูล | ข้อมูล |
บทคัดย่อ |
การประยุกต์ใช้ระบบการผลิตแบบลีนในอุตสาหกรรมการผลิตรถกึ่งพ่วง กรณีศึกษา บริษัทตัวอย่างการผลิตรถกึ่งพ่วง : การจัดทำสารนิพนธ์ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและหาแนวทางเพื่อลดความ
สูญเปล่าในกระบวนการผลิต การประยุกต์ใช้แนวคิดแบบลีนและลดเวลานำ (Lead Time) ใน
การผลิตรถกึ่งพ่วงลดลง ซึ่งปจั จุบัน พบว่า โรงงานกรณีศึกษาประสบปญั หาการผลิตส่งมอบ
ล่าช้า ไม่ตอบสนองความต้องการลูกค้า โดยอดีตโรงงานกรณีศึกษามีการหยุดรอคอยระหว่าง
กระบวนการผลิต ซึ่งทำให้การใช้เครื่องจักรยังไม่เต็มประสิทธิภาพ มีการจัดเก็บสินค้าคงคลัง
จำนวนมากใช้ระยะเวลานานและมีเวลานำในการผลิต (Production Lead Time) ยาวนาน โดย
กำหนดเป้าหมายลดเวลานำ (Production Lead Time) ลดลงร้อยละ 30 ผลการศึกษา พบว่า มี
ประเด็นที่ปรับปรุง 3 ประเด็น 1) ลดเวลานำ (Lead Time) คลังสินค้า โดยการเปลี่ยนแปลงวิธี
จัดทำการวางแผนวัสดุ ไม่สต๊อควัตถุดิบนานและปริมาณมาก โดยปรับปรุงวิธีการทำแผนความ
ต้องการวัสดุ ปรับปรุงกระบวนการจัดซื้อ โดยปรับปรุงจุดสัง่ ซื้อ (Re-Oder Point) และ Two-
Bin System และปรับปรุงรอบการส่งวัตถุดิบ พบว่า สามารถลดลง 96 ชัว่ โมง คิดเป็น ร้อยละ
85.71 2) การเพมิ่ ประสิทธิภาพการจัดส่ง การจัดเก็บชิ้นส่วนด้านท้ายไลส์ประกอบ ลดเวลา
การค้นหาชิ้นส่วน โดยการปรับปรุงอุปกรณ์เพื่อจัดส่งชิ้นส่วน คือ Dolly Cart ซึ่งสามารถระบุ
ลักษณะการวาง การจัดเรียงสามารถลดลง 56 ชัว่ โมง คิดเป็นร้อยละ 98 3) ลดเวลานำการ
ทำสี โดยการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงวัตถุดิบ จากการทำสีระบบสีน้ำมัน เป็นระบบสีแห้งเร็ว
โพลียูรีเทรน สามารถลดลง 22.17 ชัว่ โมง คิดเป็น ร้อยละ 51.83 ภาพรวมการปรับปรุงด้วย
การประยุกต์ใช้ระบบการผลิตแบบลีน สามารถลดเวลานำ (Production Lead Time) จากเดิม
459 ชัว่ โมง ลดลงเหลือ 289.85 ชัว่ โมง คิดเป็นลดลง ร้อยละ 37.53
|
ผู้แต่ง |
|
ประเภทสิ่งพิมพ์ |
|
ปีที่พิมพ์ |
1 |
เลขหน้า |
69 |
หัวเรื่อง |
|
หัวเรื่อง |
|
หัวเรื่อง |
|
หัวเรื่อง |
|
หัวเรื่อง |
|
เอกสารฉบับเต็ม |
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250