fieldid
เขตข้อมูล | ข้อมูล |
บทคัดย่อ |
การพัฒนารูปแบบการจำลองเหตุการณ์แบบไม่ต่อเนื่อง แบบหนึ่งแถวคอย และหลายแถวคอยของด่านเก็บค่าผ่านทาง : วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาเทคนิคการสร้างแบบจำลองของเหตุการณ์ที่
เกิดขึ้นแบบไม่ต่อเนื่อง (Discrete Event Simulation) และเพื่อจำลองช่องเก็บค่าผ่านทางอัตโนมัติ
(Easy Pass or ETC) และช่องเก็บค่าผ่านทางเงินสด (MTC) ของด่านเก็บค่าผ่านทาง ซึ่งเป็นพัฒนา
รูปแบบการจำลอง โดยออกเป็น 2 ประเภท -1. การจำลองแบบหนึ่งแถวคอย (Single-Channel
Queue) -2. การจำลองแบบหลายแถวคอย (Multi-Channel Queue) ด้วยโปรแกรม Arena เป็น
เครื่องมือในการวิจัย และใช้ข้อมูลปริมาณรถยนต์จริงของด่านเก็บค่าผ่านทาง และเพื่อปรับปรุง
ประสิทธิภาพของด่านเก็บค่าผ่านทาง โดยพิจารณาจำนวนช่องเก็บค่าผ่านทาง ETCs และ MTCs
รวมทั้งตำแหน่งสำหรับการพิจารณารูปแบการจำลอง
การจัดตำแหน่งช่องเก็บค่าผ่านทางของ ETCs และ MTCS ถูกแบ่งออกเป็น 4 รูปแบบ
1. เป็นรูปแบบที่ใช้ในปัจจุบันมีช่องเก็บค่าผ่านทาง ETCs ไม่ติดกันจำนวน 2 ช่องทาง และ
MTCS จำนวน 3 ช่องทาง, 2. มีช่องเก็บค่าผ่านทาง ETCs ติดกันจำนวน 2 ช่องทาง, 3. มีช่องเก็บค่า
ผ่านทาง ETCs อยู่ที่ขอบของด่านเก็บค่าผ่านทาง และ 4. มีช่องเก็บค่าผ่านทาง ETCs ติดกันจำนวน
3 ช่องทางสำหรับการสร้างด่านเก็บค่าผ่านทางใหม่
ผลการจำลองค่า Total Time Per Entity (Second) มาเปรียบเทียบกันระหว่าง รูปแบบ
ที่ 1, 2 และ 3 รูปแบบที่2 ใช้เวลาอยู่ในระบบจำลองน้อยที่สุด และ รูปแบบที่ 4 เป็นรูปแบบสำหรับ
การสร้างด่านเก็บค่าผ่านทางใหม่ จึงไม่นำมาเปรียบเทียบ และจากการเปรียบเทียบระหว่างรูปแบบที่
1 และ 2 พบว่า มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น 13.65% ช่วงเวลา 07.00-08.59 และมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
13.18% ช่วงเวลา 13.65% และ 17.00-18.59
|
ผู้แต่ง |
|
ประเภทสิ่งพิมพ์ |
|
ปีที่พิมพ์ |
1 |
เลขหน้า |
80 หน้า |
หัวเรื่อง |
|
หัวเรื่อง |
|
เอกสารฉบับเต็ม |
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250