fieldid E-Thesis & Research สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
สืบค้น:

เขตข้อมูล ข้อมูล
บทคัดย่อ
การศึกษากระบวนการทำงานของเครื่องยนต์สันดาปภายในโดยใช้สัญญาณการสั่นสะเทือนด้วยเทคนิคการวิเคราะห์ความถี่ : เทคนิคการวิเคราะห์สัญญาณการสั่นสะเทือนบนโดเมนความถี่ได้มีการประยุกต์ใช้ในการตรวจสอบเครื่องจักรกลและชิ้นส่วนหมุนหลายประเภทเช่น แบริ่งและเฟือง สัญญาณการสั่นสะเทือนสามารถใช้ตรวจวัดปรากฏการณ์ทางกลและของไหลซึ่งเกิดขึ้นในวัฏจักรการทางานของเครื่องยนต์ การศึกษานี้จะจำลองการตรวจสอบสภาวะเครื่องยนต์ด้วยสัญญาณการสั่นสะเทือนที่บันทึกจากหัววัดที่ติดตั้งบริเวณฝาสูบและรางหัวฉีด ของเครื่องยนต์เบนซินซูซูกิ 4 จังหวะ 4 กระบอกสูบ 16 วาล์ว ขนาดความจุ 1600 CC การศึกษาการทำงานของเครื่องที่สภาวะเครื่องยนต์ปกติ ระยะห่างของวาล์วไอดีและไอเสียผิดปกติ และหัวฉีดทำงานผิดปกติ เช่น หัวฉีดไม่ทำงาน ความต้านทานที่คอยล์หัวฉีดเพิ่มขึ้น 10 และ 20 โอห์ม โดยใช้สภาวะเครื่องยนต์ทำงานแบบไม่มีภาระที่ 2500 รอบต่อนาที เป็นสภาวะที่สามารถใช้ตรวจสอบการจำลองการทำงานของเครื่องยนต์ได้ครบทุกกรณี จากผลการศึกษาพบว่า การใช้การวิเคราะห์สัญญาณการสั่นสะเทือนบนโดเมนความถี่ด้วยเทคนิคการแปลงฟูเรียร์แบบเร็วสามารถทำนายสภาวะความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับหัวฉีด วาล์วไอดีและวาล์วไอเสียได้ ความถี่หลักที่เกี่ยวข้องกับการทำงานทางกลของหัวฉีดและวาล์วไอดีและไอเสียจะเกิดขึ้นที่ความถี่ต่ากว่า 3000 Hz ในขณะที่กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการไหลจะเกิดขึ้นที่ความถี่สูงช่วง 3000 – 6000 Hz การใช้การเปรียบเทียบค่ากำลังของสัญญาณหัวฉีดและวาล์วไอดีและไอเสียช่วงความถี่ทั้งสองจะใช้แยกเงื่อนไขการจำลองได้ และการใช้กราฟคอนทัวร์ของผลการแปลงฟูเรียร์แบบเร็วของสัญญาณหัวฉีดและวาล์วไอดีและไอเสียสามารถใช้แสดงขนาดผลการแปลงฟูเรียร์ของความถี่ทั้งสองช่วงที่เกี่ยวข้องกับแต่ละเงื่อนไขการจำลองความผิดปกติของเครื่องยนต์ การศึกษาต่อไปนี้จำเป็นต้องปรับปรุงและพัฒนาการวิเคราะห์สัญญาณการสั่นสะ
ผู้แต่ง
ประเภทสิ่งพิมพ์
ปีที่พิมพ์
1
เลขหน้า
52
หัวเรื่อง
หัวเรื่อง
หัวเรื่อง
เอกสารฉบับเต็ม