fieldid E-Thesis & Research สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
สืบค้น:

เขตข้อมูล ข้อมูล
บทคัดย่อ
การวิเคราะห์สัญญาณการสั่นสะเทือนของกระบวนการทำงานเครื่องยนต์เบนซินด้วยพารามิเตอร์ทางสถิติ : การศึกษานี้จะศึกษาการตรวจสอบสภาวะการทำงานของเครื่องยนต์เบนซิน 4 สูบ 4 จังหวะ ขนาดความจุ 1600 CC ด้วยสัญญาณการสั่นสะเทือน เครื่องยนต์ถูกจาลองสภาวะการทางานของเครื่องยนต์แบบไม่มีภาระ ที่สภาวะปกติ สภาวะความผิดปกติของระยะห่างของวาล์วไอดีและไอเสีย และสภาวะการทำงานที่ผิดปกติของหัวฉีดเช่น หัวฉีดไม่ทำงาน ค่าความต้านทานของคอยล์หัวฉีดเพิ่มขึ้น 10 และ 20 โอห์ม โดยหัววัดการสั่นสะเทือน 2 ตัวจะติดตั้งที่ตาแหน่งฝาสูบและรางหัวฉีดตามลาดับ สัญญาณการสั่นสะเทือน สัญญาณตำแหน่งจุดศูนย์ตายบนของกระบอกสูบที่ 1 และสัญญาณความเร็วรอบจะถูกบันทึกพร้อมกันขณะเครื่องยนต์ทำงานที่รอบประมาณ 850–2500 รอบต่อนาที ผลการทดลองพบว่าสัญญาณการสั่นสะเทือนสามารถนำมาตรวจสอบกระบวนการ การทำงานต่าง ๆ ในเครื่องยนต์ได้ การแปลงสัญญาณบนโดเมนเวลาเป็นสัญญาณบนโดเมนมุมเพลาข้อเหวี่ยงจะทำให้สามารถอธิบายกระบวนการต่าง ๆ ตามวัฏจักรการทางานของเครื่องยนต์ได้ง่ายขึ้น สัญญาณการสั่นสะเทือนยังสามารถใช้อธิบายรายละเอียดการทำงานของหัวฉีดที่ปกติและผิดปกติซึ่งทำให้ทราบตำแหน่งการเปิดและปิดของวาล์ว และช่วงเวลาการทำงานของแต่ละหัวฉีด การวิเคราะห์สัญญาณด้วยค่าพารามิเตอร์ทางสถิติสามารถใช้วิเคราะห์ค่าต่าง ๆ เช่น ค่าเฉลี่ยสัมบูรณ์ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความเบ้ และค่าความโด่ง ค่าพารามิเตอร์แต่ละค่าไม่สามารถแยกสภาวะของหัวฉีดได้ครบทุกเงื่อนไข การเปรียบเทียบพารามิเตอร์ทางสถิติ 2 ค่าเช่น ค่าเฉลี่ยสัมบูรณ์เทียบกับค่าความโด่ง ทำให้สามารถแยกสภาวะการทำงานของหัวฉีดได้ชัดเจนกว่าการใช้พารามิเตอร์ทางสถิติเพียงค่าเดียว การใช้กราฟคอนทัวร์ซึ่งเป็นกราฟ 3 มิติแสดงผลเงื่อนไขการจำลองต่าง ๆ ทำให้สามารถเห็นความผิดปกติของกระบวนการที่จำลองได้ชัดเจนและง่ายขึ้น
ผู้แต่ง
ประเภทสิ่งพิมพ์
ปีที่พิมพ์
1
เลขหน้า
54
หัวเรื่อง
หัวเรื่อง
หัวเรื่อง
เอกสารฉบับเต็ม