fieldid E-Thesis & Research สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
สืบค้น:

เขตข้อมูล ข้อมูล
บทคัดย่อ
การศึกษารูปแบบการพยากรณ์ที่เหมาะสมเพื่อใช้พยากรณ์ราคาน้ำมันปาล์มดิบในประเทศไทยและวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อราคา : น้ำมันปาล์มดิบเป็นสินค้าหลักของประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ภาคใต้ ซึ่ง ราคาน้ำมันปาล์มดิบมีความผันผวนอยู่ตลอดเวลา โดยมีการเคลื่อนไหวขึ้นลงตามฤดูกาล และ ปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง หากราคาน้ำมันปาล์มดิบตกต่ำจะส่งผลให้เกษตรกรเดือดร้อน หากราคา น้ำมันปาล์มดิบสูงเกินไป ทำให้เกิดปัญหาต้นทุนวัตถุดิบสูงในภาคอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มและ ส่งผลต่อการแข่งขันราคากับต่างประเทศด้วย ปัจจุบันรัฐบาลได้เข้ามาช่วยเหลือภาคเกษตรกรรมด้วยการนำน้ำมันปาล์มดิบส่วน หนึ่งไปใช้ในการผลิตน้ำมันไบโอดีเซล (B5) แต่เนื่องจากราคาน้ำมันปาล์มดิบเคลื่อนไหวตาม ฤดูกาลจึงยังคงพบปัญหาราคาตกต่ำได้ในบางช่วงเวลา จากการศึกษาพบว่า ปัจจัยหลักที่ส่งผล กระทบต่อราคา คือ 1. ปริมาณน้ำมันปาล์มดิบที่ผลิตได้ในประเทศไทย กล่าวคือ เมื่อมีผลผลิต ออกสู่ตลาดจำนวนมาก (โดยเฉพาะฤดูฝน) จะทำให้ราคาตกต่ำ 2. ปริมาณการนำเข้าน้ำมัน ปาล์มดิบ กล่าวคือ หากน้ำมันปาล์มดิบมีราคาสูงขึ้น ภาครัฐจะมีมาตรการในการนำเข้าน้ำมัน ปาล์มดิบมากขึ้น ซึ่งเมื่อเกิดเหตุการณ์ราคาตกต่ำ รัฐบาลจะเข้ามาแทรกแซงราคาในหลายๆ วิธี เช่น การเพิ่มสัดส่วนน้ำมันปาล์มดิบในการผลิตไบโอดีเซล การนำน้ำมันปาล์มดิบมาใช้เป็น เชื้อเพลิงผลิตกระแสไฟฟ้าที่โรงไฟฟ้ากระบี่ เป็นต้น แต่การแทรกแซงราคาดังกล่าวยังมีความ ล่าช้า และเพื่อแก้ปัญหาความล่าช้าของนโยบาย จำเป็นที่จะต้องมีการพยากรณ์ราคาล่วงหน้า เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถเตรียมการรับมือกับปัญหาได้อย่างทันท่วงที จากการศึกษา พบว่า รูปแบบการพยากรณ์ที่เหมาะสมที่สุดเพื่อใช้พยากรณ์ราคา น้ำมันปาล์มดิบในประเทศไทย คือ Time Series แบบ Additive ซึ่งสามารถพยากรณ์ราคา น้ำมันปาล์มดิบล่วงหน้า 11 เดือน ได้อย่างแม่นยำที่สุด
ผู้แต่ง
ประเภทสิ่งพิมพ์
เลขหน้า
67
หัวเรื่อง
หัวเรื่อง
เอกสารฉบับเต็ม