fieldid
เขตข้อมูล | ข้อมูล |
บทคัดย่อ |
การประหยัดน้ำและพลังงานไฟฟ้า ด้วยเทคนิคการวินิจฉัยด้านการผลิต กรณีศึกษา เครื่องล้างชิ้นงานอัตโนมัติ : งานศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการประหยัดน้ำและพลังงานไฟฟ้า ด้วยเทคนิคการวินิจฉัยด้านการผลิต และได้เลือกเครื่องล้างชิ้นงานอัตโนมัติเป็นเครื่องจักรตัวอย่างเพื่อดำเนินการปรับปรุงโดยพิจารณาประโยชน์ 2 ด้าน ด้านแรกจะเป็นด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำและไฟฟ้าเพื่อสิ่งแวดล้อม ด้านที่สองจะเป็นการลดต้นทุนในการผลิต เพื่อให้ธุรกิจสามารถลดความสูญเปล่าที่เกิดขึ้นและสามารถแข่งขันกับคู่แข่งได้ การศึกษานี้จะเริ่มจากการสำรวจหน้างาน (Fact Finding) เพื่อหาความสูญเปล่าโดยใช้หลักความสูญเปล่า 7 ประการ (7 Wastes) ลำดับความสำคัญของปัญหา โดยพิจารณา 3 องค์ประกอบ ได้แก่ ความยากง่ายในการปรับปรุง ประโยชน์ที่คาดว่าได้รับและต้นทุนที่ใช้ในการปรับปรุง มาเป็นตัวกำหนดแผนการดำเนินงาน และออกแบบการปรับปรุงงานโดยใช้เทคนิค Kaizen และ ECRS หลังจากดำเนินการปรับปรุงเครื่องจักรและทำการเก็บข้อมูลการใช้น้ำและพลังงานไฟฟ้าอีกครั้ง พบว่า ปริมาณการใช้น้ำของเครื่องจักรได้ลดลงจาก 5,517 ลูกบาศ์กเมตรต่อปี เป็น 3,806 ลูกบาศ์กเมตรต่อปี หรือคิดเป็นร้อยละ31.01 คิดเป็นเงินที่ประหยัดได้ 37,642 บาทต่อปี, ปริมาณการใช้ไฟฟ้าของเครื่องจักรได้ลดลงจาก 209,907 KWH ต่อปี เป็น 158,427 KWH ต่อปี หรือคิดเป็นร้อยละ 24.05 คิดเป็นเงินที่ประหยัดได้ 159,588 บาทต่อปี, คุณภาพของผลิตภัณฑ์ไม่ได้รับผลกระทบจากการปรับปรุง โดยก่อนปรับปรุงมีอัตราของดีร้อยละ 97.41 ของเสียร้อยละ 2.98 และอื่นๆ (เช่น งานทดลอง) ร้อยละ 0.51 และหลังปรับปรุงมีอัตราของดีร้อยละ 97.94 ของเสียร้อยละ 2.09 และอื่นๆ ร้อยละ 0.46
|
ผู้แต่ง |
|
ประเภทสิ่งพิมพ์ |
|
ปีที่พิมพ์ |
1 |
เลขหน้า |
5 |
หัวเรื่อง |
|
หัวเรื่อง |
|
หัวเรื่อง |
|
หัวเรื่อง |
|
เอกสารฉบับเต็ม |
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250