fieldid E-Thesis & Research สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
สืบค้น:

เขตข้อมูล ข้อมูล
บทคัดย่อ
การบำรุงรักษาบนพื้นฐานความน่าเชื่อถือ กรณีศึกษา เครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรอง : การศึกษานี้ ดำเนินการประยุกต์ใช้การบำรุงรักษาบนพื้นฐาน ความน่าเชื่อถือ สำหรับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรองของอาคารแบบศูนย์ ข้อมูล โดยประยุกต์ตามแนวทางและทฤษฎีการบำรุงรักษาบนพื้นฐาน ความน่าเชื่อถือกับชิ้นส่วนอุปกรณ์ต่างๆ ของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรอง เพื่อทำการค้นหา ตัดสินใจ ต่อชิ้นส่วนที่ต้องทำการติดตามเฝ้าระวัง เพื่อกำหนดแนวทาง รวมถึงดำเนินการบำรุงรักษาที่เหมาะสมก่อนที่ ชิ้นส่วนอุปกรณ์ต่างๆ จะเกิดการล้มเหลวแล้วจึงทำการแก้ไข ทุก ชิ้นส่วนของเครื่องกำ เนิดไฟฟ้าได้ผ่านกระบวนการวิเคราะห์ เปรียบเทียบกับเกณฑ์การตัดสินใจ ตามขั้นตอนการวิเคราะห์การ บำรุงรักษาบนพื้นฐานความน่าเชื่อถือ และการวิเคราะห์รูปแบบความ ล้มเหลวและผลกระทบ โดยแต่ละชิ้นส่วนจะถูกจำแนกออกเป็นประเภท ซ่อนเร้น ความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมกระทบต่อการทำงาน หรือไม่มี ผลกระทบต่อการทำงานของระบบ เพื่อให้เข้าใจถึงความล้มเหลวของ แต่ละชิ้นส่วนแต่ละประเภท จึงดำเนินการวิเคราะห์ตัวเลขประเมิน ลำดับก่อนและหลังของความเสี่ยงของชิ้นส่วนจำนวน 40 รายการ เพื่อ บ่งชี้ชิ้นส่วนอุปกรณ์ใดที่มีค่าระดับความเสี่ยงสูง เพื่อใช้กำหนดแนว ทางการบำรุงรักษาที่เหมาะสมสอดคล้องกับสภาพปัจจุบัน โดยพิจารณา ค่าตัวเลขประเมินลำดับก่อนและหลังของความเสี่ยงสูงเป็นลำดับแรก เพื่อลดระดับความเสี่ยงให้ต่ำ มากที่สุด การศึกษานี้ ส่งผลให้ ผู้ปฏิบัติงานมีความรู้ ความเข้าใจในเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่รับผิดชอบ มากขึ้น ผลลัพธ์ของการดำเนินการตามหลักการวิเคราะห์ พบว่าเวลา เฉลี่ยระหว่างการล้มเหลวเพิ่มขึ้น จาก 2,651.42 ชั่วโมง เป็น 5,160 ชั่วโมง หรือเพิ่มขึ้นเกือบหนึ่งเท่าตัว เวลาเฉลี่ยการซ่อมแซมลดลงจาก เดิม 20 ชั่วโมง จนมีค่าเป็นศูนย์ และค่าความน่าเชื่อถือสูงขึ้นจากเดิม 99.
ผู้แต่ง
ประเภทสิ่งพิมพ์
ปีที่พิมพ์
1
เลขหน้า
4
หัวเรื่อง
หัวเรื่อง
เอกสารฉบับเต็ม