fieldid E-Thesis & Research สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
สืบค้น:

เขตข้อมูล ข้อมูล
บทคัดย่อ
การประยุกต์ใช้ท่อความร้อนแบบสั่นชนิดวงรอบที่มีวาล์วกันกลับ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายความร้อนระบบปรับอากาศรถยนต์ : งานวิจัยนี้ได้ประยุกต์ใช้งานท่อความร้อนแบบสั่นชนิดวงรอบที่มีวาล์วกันกลับ (CLOHP/CV) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายความร้อนจากคอนเดนเซอร์ของระบบปรับอากาศ รถยนต์ ท่อความร้อนทำมาจากท่อคาปิลลารี่ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางภายใน 2.03 มิลลิเมตร ขดไป มาเป็นแผงแบบวงรอบโดยมีความยาวส่วนทำระเหย ส่วนกันความร้อน และส่วนควบแน่น เท่ากันที่ 100 mm ติดตั้งวาล์วกันกลับจำนวน 1 ตัว ภายในบรรจุสารทำงาน R-134a ที่อัตราการเติม 50% ของปริมาตรท่อทั้งหมด จำนวนโค้งเลี้ยวของท่อ ได้แก่ 4 6 และ 8 โค้งเลี้ยว และมุมเอียงในการ ทำงาน คือ 0 30 45 และ 60 องศา ทำการทดลองกับท่อความร้อนโดยให้ความร้อนแก่ส่วนทำระเหยด้วยฮีตเตอร์ไฟฟ้าขนาด 800 W และระบายความร้อนในส่วนควบแน่นด้วยอากาศเย็น จากผลการทดลองพบว่าอุณหภูมิที่ผิว ของท่อความร้อนทั้งส่วนทำระเหยและควบแน่นเพิ่มขึ้นตามจำนวนโค้งเลี้ยว และมุมเอียงในการ ทำงาน โดยท่อความร้อนจำนวน 8 โค้งเลี้ยว ที่มุมเอียงทำงาน 60 องศา มีค่าอัตราการถ่ายเทความ ร้อนสูงสุด คือ 3789 W มีค่าสัมประสิทธิ์การถ่ายเทความร้อนเท่ากับ 2149 W/m2·°C และมีค่าความ ต้านทานทางความร้อนต่ำที่สุด คือ 0.63 °C/kW จากการติดตั้งท่อความร้อน CLOHP/CV จำนวน 8 โค้งเลี้ยว ที่มุมเอียงทำงาน 60 องศา กับแผงคอนเดนเซอร์ระบบสาธิตการปรับอากาศรถยนต์ของสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น พบว่าค่า สัมประสิทธิ์สมรรถนะ (COP) และอัตราส่วนประสิทธิภาพพลังงาน (EER) ของระบบปรับอากาศที่ ติดตั้งท่อความร้อนมีค่าเพิ่มขึ้นเป็น 6.50 และ 22.16 Btu/h/W ตามลำดับ โดยค่า COP และ EER เพิ่มจากเดิมถึง 30% ในขณะที่ค่าประสิทธิผลสูงสุดของท่อความร้อนเท่ากับ 0.5 แสดงถึงความ สามารถของท่อความร้อนแบบสั่นชนิดวงรอบที่มีวาล์วกันกลับในการเพิ่มประสิทธิภาพการระบาย
ผู้แต่ง
ประเภทสิ่งพิมพ์
ปีที่พิมพ์
1
เลขหน้า
81 หน้า
หัวเรื่อง
หัวเรื่อง
เอกสารฉบับเต็ม