fieldid
เขตข้อมูล | ข้อมูล |
บทคัดย่อ |
การปรับปรุงการดำเนินงานเพื่อแยกสินค้าท่าอากาศยานดอนเมืองและท่าอากาศยานอู่ตะเภา : กรณีศึกษา บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) : จากการที่ได้เข้าไปศึกษาการทำงานในแผนกพิธีการขนส่งและบรรจุหีบห่อ (TS-S) ในหน่วยงาน Packing พบปัญหาคือบริเวณพาเลทที่วางสินค้าของท่าอากาศยานดอนเมืองและ ท่าอากาศยานอู่ตะเภา ไม่มีสัญลักษณ์หรือป้ายบ่งบอกถึงตำแหน่งที่วางสินค้าที่ถูกต้อง ทำให้พนักงานหรือคนที่มาส่งของวางสินค้าปนกันระหว่างสองท่าอากาศยาน จึงเกิดปัญหาสินค้าปนกัน ส่งผลกระทบถึงกระบวนการทำงานในขั้นตอนต่างๆ จากที่ได้ศึกษานั้นขั้นตอนที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคือ ขั้นตอนสร้าง Shipment บันทึกข้อมูลเข้าระบบ SAP ซึ่งใช้เวลาถึง 1,065.8 วินาที หรือ 17 นาที ซึ่งทำให้การขนส่งเป็นไปอย่างล่าช้า จากปัญหานี้แล้วจึงปรึกษาพนักงานในฝ่ายและเล็งเห็นว่าควรมีการสร้างป้ายแยกสินค้าสาหรับท่าอากาศยานดอนเมืองและท่าอากาศยานอู่ตะเภา จึงได้มีการทำป้ายแยกสินค้าขึ้นมาเพื่อนำไปไว้ที่พาเลทวางสินค้าของสองท่าอากาศยานนี้ โดย การทำป้ายแยกสินค้านี้ ได้ใช้หลักการ Kaizen , Visual Control , ECRS , 5ส และใช้เครื่องมือ Check sheet และ Why-Why Analysis ซึ่งทำให้ได้เห็นถึงรากเหง้า ที่มาของปัญหาชัดเจนยิ่งขึ้น
จากผลการดำเนินการหลังจากที่ได้ทำป้ายแยกสินค้าบนพาเลทของท่าอากาศยานดอนเมืองและท่าอากาศยานอู่ตะเภาแล้ว สามารถลดเวลาในขั้นตอน สร้าง Shipment บันทึกข้อมูลเข้าระบบ SAP จากที่ก่อนทำป้ายแยกสินค้า ใช้เวลา 1,065.8 วินาที หรือ 17 นาที เมื่อทำป้ายแยกสินค้าแล้ว จึงใช้เวลาเพียง 963 วินาที หรือ 16 นาที จะเห็นได้ว่าเวลาเป็นนาทีลดไปเป็นจานวนไม่มากนัก
เนื่องจากเวลาที่จำกัดในการปรับปรุงการดำเนินงาน หากจะมีการปรับปรุงในเรื่องป้ายสินค้าต่อนั้น สามารถทำได้โดยสอบถามพนักงานถึงปัญหาหลังจากมีป้ายแล้วหรือจะเป็นการค้นหาโปรแกรม นวัตกรรมที่สินค้าแยกสินค้าเพื่อไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดเกิดขึ้นได้
|
ผู้แต่ง |
|
ประเภทสิ่งพิมพ์ |
|
ปีที่พิมพ์ |
1 |
เลขหน้า |
46 |
หัวเรื่อง |
|
หัวเรื่อง |
|
หัวเรื่อง |
|
หัวเรื่อง |
|
เอกสารฉบับเต็ม |
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250