fieldid E-Thesis & Research สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
สืบค้น:

เขตข้อมูล ข้อมูล
บทคัดย่อ
การพัฒนาการวิเคราะห์ผลกระทบจากความขัดข้องสำหรับการบำรุงรักษาบนพื้นฐานความน่าเชื่อถือ : งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการวิเคราะห์ผลกระทบจากความขัดข้อง (Consequence of Failure Analysis : COFA) โดยการพัฒนาการแบ่งประเภทความวิกฤติ4 ประเภทเดิมได้แก่ Critical Component, Potential Component, Economic Component และ Run To Failure Componentโดยนำเอาระดับการตรวจจับชิ้นส่วน 4 ระดับมาเป็นเกณฑ์การพัฒนาซึ่งได้แก่ ชิ้นส่วน ที่ไม่มีการตรวจจับ ชิ้นส่วนที่ตรวจจับได้ด้วยประสาทสัมผัส ชิ้นส่วนที่ตรวจจับได้ด้วยอุปกรณ์ และ ชิ้นส่วนที่ตรวจจับได้ตลอดเวลา ซึ่งจากรวมเข้าด้วยกันของทั้ง 2 เกณฑ์นี้ ผู้วิจัยสามารถเพิ่มประเภท ของชิ้นส่วนได้เป็น 16 ประเภทซึ่งเรียกว่า โคฟาพลัส (COFA+) การประยุกต์ใช้งาน COFA+ นี้ทำให้เกิดความหลากหลายของประเภทชิ้นส่วนมากขึ้น และ ประเภทของชิ้นส่วนยังมีความใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากขึ้น ซึ่งจะทำให้การบำรุงรักษาเชิงรุกมี ความเหมาะสมมากขึ้น ได้สรุปเป็นตาราง COFA+ ซึ่งเป็นหนึ่งในกระบวนการของการบำรุงรักษาบน พื้นฐานความน่าเชื่อถือ และชิ้นส่วนที่แบ่งแยกตามประเภทของ COFA+ นั้นยังสามารถบอกได้ถึง กิจกรรมการบำรุงรักษาและรวมถึงการวางแผนการบำรุงรักษาในระยะยาว จากการพัฒนา COFA+ นี้ได้นำไปประยุกต์ใช้กับเครื่องขนถ่ายแบบลิฟท์ สามารถลดอัตรา การขัดข้องได้ จากร้อยละ 0.59เป็นร้อยละ 0.27และสามารถลดต้นทุนการผลิตได้เป็นจำนวนเงิน 93,233 บาท ต่อเดือน
ผู้แต่ง
ประเภทสิ่งพิมพ์
ปีที่พิมพ์
1
เลขหน้า
65 หน้า
หัวเรื่อง
หัวเรื่อง
เอกสารฉบับเต็ม