fieldjournalid
![]() | สหกิจศึกษา (IE) 2015 |
1. | การลดต้นทุนในกระบวนการผลิตสะดือแหนบ : กรณีศึกษา บริษัท ซิกม่า แอนด์ ฮาร์ท จำกัด [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : กชวรรณ ละม้าย | ||
การปฏิบัติงานสหกิจศึกษา ณ บริษัท ซิกม่า แอนด์ ฮาร์ท จำกัด ร่วมกับฝ่าย New Model
Machining ทำให้ข้าพเจ้ามีโอกาสได้เรียนรู้ระบบการทำงานด้านการผลิตชิ้นงาน New Model และ
การวิเคราะห์ต้นทุนการผลิตของแต่ละกระบวนการย่อย พร้อมทั้งการเสนอแนวความคิดเพื่อลด
ค่าใช้จ่ายในการผลิตให้น้อยลง โดยได้รับมอบหมายให้จัดทำโครงงานการปรังปรุงกระบวนการ
เพื่อลดต้นทุนการผลิตของสะดือแหนบ ที่ปัจจุบันมีต้นทุนการผลิตสูงกว่าราคาซื้อขายตามใบเสนอ
ราคาถึง 2 บาทต่อชิ้น
โครงงานนี้จึงมุ่งเน้นที่จะลดต้นทุนการผลิตด้วยวิธีการปรับปรุงกระบวนการและ
ปรับเปลี่ยนเครื่องมือตัดที่ใช้งานกับเครื่องกลึง CNC โดยได้นำหลักการ PDCA Cycle มา
ประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานเพื่อให้การทำงานมีระบบแบบแผน หลังการปรับปรุง
พบว่า สามารถลดต้นทุนการผลิตชิ้นงานได้ถึง 420000 บาทต่อปี และมีอัตราการผลิตชิ้นงานต่อวัน
ของกระบวนการกลึงเพิ่มมากขึ้นจากเดิมถึง 125 ชิ้นต่อวัน ทั้งยังคงรักษาคุณภาพของชิ้นงานให้
เป็นไปตามมาตรฐานและเป้าหมายตามที่ลูกค้าต้องการ
Full Text : Download! |
||
2. | การออกแบบและพัฒนาระบบแผนผังโรงงานสำหรับอาหารแช่แข็ง [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ณัฐพร แก่นสาร | ||
ในการดำเนินงานขององค์ธุรกิจท่ามกลางการแข่งขัน จุดประสงค์ขององค์กรและบริษัทที่
ใช้สร้างความสามารถในการแข่งขัน และสร้างความแตกต่าง เพื่อเพิ่มคุณค่าของผลิตภัณฑ์สู่สายตา
ของลูกค้า คือ การสร้างความพึงพอใจต่อลูกค้าในการติดต่อดำเนินงานร่วมกัน จากสภาพการ
ดังกล่าว ระบบโลจิสติกส์ (Logistics System) จึงเข้ามามีบทบาทเพื่อเพิ่มโอกาสสำหรับการสร้าง
ความได้เปรียบเทียบในการแข่งขันทางธุรกิจโดยมี คลังสินค้า (Warehouse) เป็นจุดเชื่อมที่สำคัญ
ระหว่างหน่วยงานต่างๆที่อยู่ในโลจิสติกส์ โดยทั่วไปการมีสินค้าคงคลังถือเป็นการลงทุนที่สำคัญ
อย่างมาก ปริมาณสินค้าคงคลังแสดงให้เห็นถึงจำนวนเงินลงทุนการจัดเก็บสินค้าโดยมีคลังสินค้า
หรือเรียกว่า สินค้าคงคลัง (Inventory) ซึ่งการที่จะเก็บสินค้าเหล่านี้ได้ ต้องจัดเตรียมพื้นที่ เพื่อสร้าง
ชั้นเก็บสินค้าให้มีพื้นที่เพียงพอต่อการเก็บสินค้าของโรงงานผลิต ดังนั้นในงานวิจัยนี้มุ่งเน้นการ
นำเสนอแนวคิดในการออกแบบการวางผังโรงงาน กับหลักการทางวิศวกรรม เพื่อนำมาปรับใช้ใน
งานอุตสาหกรรมทางด้านโลจิสติกส์
หลังจากการพัฒนาและการออกแบบผังโรงงานของโรงงานอาหารแช่แข็งใหม่โดยการเพิ่ม
แผนกหยิบ และเครื่องจักรกล สำหรับการเคลื่อนย้ายสินค้า ทำให้ประสิทธิภาพในการทำงาน
เพิ่มขึ้น ลดการใช้พื้นที่และเวลาในการจัดเก็บและส่งออกสินค้าลดลง
Full Text : Download! |
||
3. | การ Kaizen ภายในไลน์การผลิต Electric Braking System บริษัท ฮิตาชิ ออโตโมทีฟ ซิสเต็มส์ จำกัด [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ปัณฑภัสส์ แก้วแกมแข | ||
จากการจัดทำโครงการ KAIZEN ภายในไลน์การผลิต Electric Drive Braking System หรือเรียกสั้นๆว่า ไลน์การประกอบ e-Act ของบริษัท ฮิตาชิ ออโตโมทีฟ ซิสเท็มส์ จำกัด พบว่า ในไลน์การผลิต Electric Drive Braking System นั้นมีผลิตภัณฑ์ 2 แบบด้วยกัน คือแบบเก่า (e-Act1) และแบบใหม่ (e-Act2) ซึ่งทั้งสองแบบนี้ถูกผลิตในบริเวณเดียวกัน แต่จะมีการเลือกใช้ส่วนประกอบที่แตกต่างกัน ซึ่งมีโอกาสที่ผู้ปฏิบัติงานเลือกใช้งานส่วนประกอบดังกล่าวผิดพลาดจึงทำให้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวไร้ประสิทธิภาพในการใช้งาน ส่วนประกอบดังกล่าวคือ รีเลย์ (Relay) ที่จะนำไปติดบนแผ่นบัสบาร์ รีเลย์นั้นมีสองแบบเช่นกัน คือแบบเก่าและใหม่ โดยทั้งสองมีสีดำเหมือนกัน ต่างกันที่ความมันวาวของผิวรีเลย์ แม้จะมองด้วยตาเปล่าเห็นชัดเจน แต่ในการปฏิบัติงานจริงนั้นยังเกิดความผิดพลาดอยู่ นักศึกษาจึงได้รับมอบหมายให้แก้ไขปัญหาเหล่านี้
โดยวิธีการที่นักศึกษาได้ทดลองคือการติดตั้งเซนเซอร์วัดการสะท้อนแสงของรีเลย์ หากตรวจพบว่าเป็นผลิตภัณฑ์นั้นเป็นประเภท e-ACT2 จะมีการแสตมป์ด้วยปากกาเมจิกโดยอัตโนมัติ ถ้าหากเป็น e-ACT1 จะไม่มีการแสตมป์ใดๆ
Full Text : Download! |
||
4. | การศึกษาผลิตภาพและการปรับปรุงคุณภาพในสายการผลิตผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ : กรณีศึกษา บริษัท โซนี่ (ประเทศไทย) จำกัด [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : พงศธร พิมลบุตร | ||
จากการศึกษาการทำงานในภาคอุตสาหกรรมที่มีการแข่งขันสูง องค์กรธุรกิจต้องทำงาน
เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพของสินค้าเพื่อตอบสนอง
ความต้องการให้มากที่สุด งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อเพิ่มผลิตภาพในสายการผลิตกล้อง
ถ่ายรูปโดยใช้การจัดสมดุลงาน และ แผนภูมิคน-เครื่องจักรช่วยวิเคราะห์ในการจัดสมดุลของงาน
ย่อย หลังจากการดำเนินงานสามารถเพิ่มผลิตภาพ ลดจำนวนสถานีงาน ลดจำนวนพนักงาน และ
เพิ่มขีดความสามารถในการผลิตของสายการผลิตกล้องถ่ายรูป ได้ 2) เพื่อปรับปรุงคุณภาพใน
สายการผลิตกล้องถ่ายรูปโดยใช้วิธี Why-Why Analysis และการตั้งคำถามด้วย 5W+1H เพื่อ
วิเคราะห์ปัญหาจากการใช้เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานของพนักงานในสายการผลิต
หลังจากการดำเนินงานสามารถป้องกันปัญหาด้านคุณภาพที่เกิดจากการปฏิบัติงานของพนักงานได้
และ 3) การปรับปรุงการออกแบบและการจัดตั้งสายการผลิตกล้องถ่ายรูปโดยใช้โปรแกรม Google
SketchUp เขียนแบบโต๊ะทำงานมาตรฐานและแผนผังสายการผลิตแบบสามมิติ เพื่อใช้ในการ
วิเคราะห์และแก้ปัญหาแบบจำลองได้ก่อนการจัดตั้งสายการผลิตจริง
Full Text : Download! |
||
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250