fieldjournalid
![]() | วิทยานิพนธ์ (EEM) 2010 |
1. | กลยุทธ์การตลาดขององค์กรไม่แสวงหากำไร กรณีศึกษา ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ประเภทสมุนไพร วัดดอยเกิ้ง อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : นันท์นภัส พงษากุล | ||
ผลการศึกษากลยุทธ์การตลาดขององค์กรไม่แสวงหากำไร สำหรับผลิตภัณฑ์เสริม
อาหารประเภทสมุนไพร ด้วยกระบวนการอัดด้วยพลังพิระมิด มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา
คุณสมบัติ และคุณลักษณะทั่วไปของผู้บริโภค ปัจจัยที่ผู้บริโภคใช้ในการตัดสินใจเลือกใช้
ผลิตภัณฑ์ และกลยุทธ์การตลาดขององค์กรที่ไม่แสวงหากำไร ระเบียบวิธีการวิจัยที่ใช้ใน
การศึกษาประกอบด้วย การวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งการวิจัยเชิงปริมาณมี
กลุ่มตัวอย่างจำนวน 145 คน เครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม โดยการ
รวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่ไม่ได้รับการปฏิบัติธรรม และได้รับการปฏิบัติธรรมจากสถาน
ปฏิบัติธรรม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ สถิติเชิงพรรณา และทดสอบสมมติฐานด้วย T-Test,
ANOVA และ Chi-Square-Test ซึ่งพบว่า ลักษณะทั่วไปของผู้บริโภค ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมี
อายุมากกว่า 45 ปี นับถือศาสนาพุทธ การศึกษาระดับปริญญาตรี อาชีพธุรกิจส่วนตัว รายได้
ในช่วงต่ำกว่า 5,000 บาท ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร สำหรับกลุ่ม
ผู้ไม่ได้รับการปฏิบัติธรรม ได้แก่ เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสูง ได้รับการรับรองมาตรฐาน
อาหารและยา มีราคาเหมาะสมโดยนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเข้ามาประยุกต์ใช้ การซื้อขาย
ง่าย และสะดวก สำหรับกลุ่มผู้ได้รับการปฏิบัติธรรมนั้นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกใช้ คือ
ความทุกข์จากโรคภัยไข้เจ็บที่เกิดขึ้น หรือการเสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรง การเข้ารับการ
ปฏิบัติธรรมทำให้มีโอกาสได้รับข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ ความศรัทธาที่เกิดขึ้นในแนวทางท่าน
พระครูอนุสนธิ์ ประชาทร รวมทั้งคุณภาพของผลิตภัณฑ์ผสมกับความเชื่อในพลังพิระมิด
มีผลให้ผู้บริโภคมีความรู้สึกที่ดี สุขภาพร่างกายแข็งแรงมากขึ้น ซึ่งนำไปสู่การพ้นทุกข์ สำหรับก
Full Text : Download! |
||
2. | การประยุกต์วัฒนธรรมการผลิตแบบญี่ปุ่นในหน้างานการผลิต กรณีศึกษา กระบวนการประกอบฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : บุญพา รอชัยกุล | ||
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหลักการของวัฒนธรรมการผลิตแบบญี่ปุ่น (Monozukuri)
เพื่อค้นหาโครงสร้างที่เป็นองค์ประกอบที่สำคัญ เพื่อนำปัจจัยต่างๆไปประยุกต์ใชักับ
การผลิต โดยดำเนินระเบียบวิธีวิจัยแบบสำรวจวรรณกรรมได้รวบรวมบทความและวรรณกรรมที่
เกี่ยวข้องจำนวน 16 ฉบับ มาทำการวิเคราะห์หาประเด็นสำคัญ หรือองค์ประกอบของวัฒนธรรม
การผลิตแบบญี่ปุ่น (Monozukuri) ซึ่งกลั่นกรองได้ 21 ปัจจัย ได้แก่ การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
การพัฒนาบุคลากร ทักษะ เทคโนโลยี คุณภาพ ความคิดสร้างสรรค์และต้นทุน เป็นต้น จากนั้น
ได้ทำการสังเคราะห์ปัจจัยดังกล่าวข้างต้น โดยได้นำเสนอโมเดลที่จะมุ่งพัฒนาผลิตภาพ และ
ความสามารถในหน้างานการผลิต ด้วยการเริ่มจาก การทำ 2ส. (สะสาง และ สะดวก) ลดความ
สูญเปล่า (Muda) จากสถานที่จริง ของจริง (Genba Genbutsu) เพื่อนำมาสู่การปรับปรุงอย่าง
ต่อเนื่อง (Kaizen) และการสร้างมาตรฐานของการทำงาน ด้วยแนวคิดที่ว่า สร้างคนก่อนสร้าง
งาน (Hitozukuri) สร้างวิธีการที่ดีและเหมาะสมก่อน (Standardized Work) แล้วจึงนำไปสร้าง
คน
จากโมเดลที่ได้นำเสนอนี้ได้นำไปประยุกต์ใช้กับบริษัทกรณีศึกษา โรงงานประกอบ
ฮารด์ดิสก์ไดร์ฟ ผลการวิจัยพบว่า รอบเวลาในการประกอบลดลง และได้ขจัดความสูญเปล่า
(Muda) ที่เกิดจากความไม่สัมพันธ์กันระหว่างคนกับเครื่องจักร และได้ขจัดกระบวนการการ
ขัดจังหวะต่างๆในกระบวนการการประกอบตัวเอชดีเอ (HDA) กับแผ่นพีซีบีเอ (PCBA) ซึ่งเป็น
จุดคอขวดของกระบวนการในปัจจุบันของบริษัท โดยมีรอบเวลาในการประกอบสูงกว่า 16
วินาทีต่อไดร์ฟ ผลที่ได้จากการวิจัยทำให้รอบเวลาในการประกอบตัวเอชดีเอกับแผ่นพีซีบีเอ
ลดลงจาก 16 วินาทีต่อไดร์ฟเป็น 14 วินาทีต่อไดร์ฟ
Full Text : Download! |
||
3. | การประยุกต์ใช้ทฤษฎีของระบบลีน (Lean Manufacturing) และการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ (Customer Relationship Management) เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพของกระบวนการดำเนินงานในธุรกิจงานบริการฝึกอบรม [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ศุภิสรา โรจนฐาน | ||
การศึกษาเรื่อง การประยุกต์ใช้ทฤษฎีของระบบลีน (Lean Manufacturing) และการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ (Customer Relationship Management) เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพของกระบวนการดำเนินงานในธุรกิจงานบริการฝึกอบรม มีวัตถุประสงค์เพื่อก่อให้เกิดองค์ความรู้ในการนำทฤษฎีของระบบลีนและการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ มาประยุกต์ใช้ในธุรกิจงานบริการฝึกอบรม ซึ่งผู้วิจัยได้ทำการศึกษากระบวนการดำเนินงานขององค์กรฝึกอบรมที่มีชื่อเสียงของประเทศไทยทั้งหมด 4 แห่งด้วยกัน โดยการจัดทำแบบสอบถามเพื่อวิเคราะห์ผลความพึงพอใจและความคาดหวังของผู้เข้าฝึกอบรม ด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงสถิติ เพื่อทดสอบสมมติฐาน T-Test ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 จากการเก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่างของผู้เข้าฝึกอบรมทั้งหมด 206 ท่าน พบว่า โดยภาพรวมองค์กรฝึกอบรมควรปรับปรุงด้านประชาสัมพันธ์ และการกำหนดคุณสมบัติผู้เข้าเรียนให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น รวมถึงปรับปรุงในด้านการสร้างหลักสูตรให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า ระดับค่าใช้จ่ายในการสมัคร ความสมบูรณ์ของเอกสารประกอบการเรียน และความสามารถของวิทยากรในการถ่ายทอดความรู้ ซึ่งผู้วิจัยได้ทำการค้นหาสาเหตุของปัญหา (Why – Why Analysis) เพื่อนำไปสู่การเสนอแนะแนวทางในการเพิ่มความพึงพอใจของผู้เข้าฝึกอบรม
นอกจากนี้ในส่วนของข้อมูลวิจัยในเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยได้ทำการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบมีโครงสร้าง (In Depth Interview) กับท่านผู้จัดการฝ่ายฝึกอบรม เพื่อจัดทำผังกระบวนการดำเนินงาน (Flow Process Chart) ทั้งหมด ตั้งแต่การสร้างหลักสูตร การกำหนดโครงการ การบริหารโครงการ และการประเมินผล พบว่า ขั้นตอนการดำเนินงานที่ไม่สร้างคุณค่า คือ ฝ่ายฝึกอบรมเกิดการรอคอยข้อมูลกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของแต่ละหลักสูตรจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และขั้นตอนของการยืนยัน
Full Text : Download! |
||
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250