fieldjournalid
![]() | วิทยานิพนธ์ (MIT) 2018 |
1. | การพัฒนาแอปพลิเคชันคันจิด้วยเทคโนโลยี Augmented Reality โดยกระบวนการเรียนรู้เชื่อมโยงภาพ [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : กัญญารัตน์ ทองชุม | ||
ปัญหาการเรียนภาษาญี่ปุ่นที่ผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นต่างตอบเป็นเสียงเดียวกันคือ การเรียนคันจิ
โดยเฉพาะที่สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น นักศึกษาที่นี้ต้องเรียนภาษาญี่ปุ่นเป็นวิชาบังคับ ผู้วิจัยจึงมี
ความสนใจที่จะศึกษาปัญหาและวิธีการเรียนคันจิของนักศึกษา มีความสนใจแก้ปัญหาการเรียนคันจิ
โดยเลือกใช้เทคโนโลยี Augmented Reality เข้ามาใช้ออกแบบสื่อการเรียนคันจิ เพื่อให้เหมาะสมกับ
วัยของนักศึกษากลุ่มตัวอย่างที่เป็นคนยุค Generation Z โดยมีวัตถุประสงค์การวิจัย ดังนี้ 1. เพื่อ
ศึกษาปัญหาและพฤติกรรมการเรียนคันจิของนักศึกษาคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันเทคโนโลยี
ไทย-ญี่ปุ่น 2. เพื่อพัฒนาแอปพลิเคชันเรียนคันจิ สำหรับนักศึกษาคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบัน
เทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น และ 3. เพื่อวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทั้งก่อนเรียนและหลังเรียนผ่านแอปพลิเคชัน
เรียนคันจิ ผลการวิจัยโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือพบว่า กลุ่มตัวอย่างประสบปัญหาการเรียนคันจิ
ในเรื่อง การอ่านคันจิไม่ออก ไม่สามารถเขียนคันจิได้ และเขียนได้แต่ผิดลำดับ โดยวิธีการเรียนรู้คันจิที่
นิยมใช้มากที่สุด คือ การฝึกเขียนลงสมุดบ่อยๆ หรือฝึกเขียนในอากาศ การเรียนรู้ผ่านสื่อสิ่งพิมพ์
และการเรียนรู้ผ่านการเล่มเกม ซึ่งกลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นส่วนใหญ่ว่าแอปพลิเคชันเรียนคันจิจะมี
ส่วนช่วยให้การเรียนคันจิดีขึ้น ในระดับมาก ร้อยละ 41.1 ในด้านพัฒนาแอปพลิเคชันเรียนคันจิโดยใช้
เทคโนโลยี Augmented Reality ผลการพัฒนาได้แอปพลิเคชั่นที่รองรับระบบปฏิบัติการ Android
สามารถแสดงผลภาพเคลื่อนไหวการเขียนคันจิได้ สามารถแสดงผลภาพเคลื่อนไหวสามมิติบนโลกจริง
โดยอาศัยกล้องโทรศัพท์มือถือ เพื่อให้ผู้ใช้มองเห็นจากหน้าจอได้โดยตรง ตามหลักการของเทคโนโลยี
Augmented Reality
Full Text : Download! |
||
2. | การพัฒนารูปแบบการแนะนำการเลือกศึกษาต่อในสาขาวิชาตามความถนัดของนักศึกษาด้วยการวิเคราะห์จากตัวชี้วัดของไมเออร์ส-บริกส์ โดยใช้เทคนิคการหาค่าที่เหมาะสมและโครงข่ายประสาทเทียมแบบลึก [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ภูวดล วิรุฬห์ลือชา | ||
การพัฒนารูปแบบการแนะนำการเลือกศึกษาต่อในสาขาวิชาตามความถนัดของนักศึกษา ด้วยการวิเคราะห์จากตัวชี้วัดของไมเออร์ส-บริกส์ โดยใช้เทคนิคการหาค่าที่เหมาะสมและ โครงข่ายประสาทเทียมแบบลึก มีวัตถุประสงค์ในการทำวิจัย ดังนี้ 1) เพื่อสังเคราะห์แบบจำลอง การแนะนำการเลือกศึกษาต่อในสาขาวิชาตามความถนัดของนักศึกษาด้วยการวิเคราะห์จาก ตัวชี้วัดของไมเออร์ส-บริกส์ ร่วมด้วยเทคนิคการหาค่าที่เหมาะสมและโครงข่ายประสาทเทียมแบบลึก 2) เพื่อวิเคราะห์รูปแบบการแนะนำการเลือกศึกษาต่อในสาขาวิชาตามความถนัดของนักศึกษาด้วยการวิเคราะห์จากตัวชี้วัดของไมเออร์ส-บริกส์ ร่วมด้วยโครงข่ายประสาทเทียมแบบลึก 3) เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพเทคนิคการหาค่าที่เหมาะสมกับข้อมูลที่เก็บมาใช้ในงานวิจัย 4) เพื่อประเมินประสิทธิภาพรูปแบบการแนะนำการเลือกศึกษาต่อในสาขาวิชาตามความถนัดของนักศึกษาด้วยการวิเคราะห์จากตัวชี้วัดของไมเออร์ส-บริกส์ ร่วมด้วยเทคนิคการหาค่าที่เหมาะสมและโครงข่ายประสาทเทียมแบบลึก ซึ่งผลของการวิจัยมีดังนี้ ผลการสังเคราะห์แบบจำลองการแนะนำ การเลือกศึกษาต่อในสาขาวิชาตามความถนัดของนักศึกษาด้วยการวิเคราะห์จากตัวชี้วัดของ ไมเออร์ส-บริกส์ ร่วมด้วยเทคนิคการหาค่าที่เหมาะสมและโครงข่ายประสาทเทียมแบบลึก ได้รูปแบบทั้งหมด 3 ส่วน คือ ส่วนเตรียมข้อมูล ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูล ส่วนสุดท้ายคือ ส่วนผลลัพธ์โดยจะถูกแบ่งออกเป็น 8 สาขา ผลการประเมินประสิทธิภาพรูปแบบการแนะนำการเลือกศึกษาต่อในสาขาวิชาตามความถนัดของนักศึกษาด้วยการวิเคราะห์จากตัวชี้วัดของไมเออร์ส-บริกส์ ร่วมด้วยเทคนิคการหาค่าที่เหมาะสมและโครงข่ายประสาทเทียมแบบลึก พบว่าการหาค่าที่เหมาะสมที่สุดด้วยวิธีหิ่งห้อยมีประสิทธิภาพสูง จึงได้มีการปรับค่าพารามิเตอร์เพิ่มเติมจนมีประสิทธิภาพสูง 80.71
Full Text : Download! |
||
3. | การวิเคราะห์รูปแบบความคิดเห็นของข้อมูลโรงแรมโดยใช้เทคนิคการตัดคำแบบผสมผสาน [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : สันติ สุขเกษม | ||
การวิเคราะห์รูปแบบความคิดเห็นของข้อมูลโรงแรม โดยใช้เทคนิคการตัดคำแบบผมผสาน
มีวัตถุประสงค์ในการทำวิจัย ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนาเทคนิคการตัดคำแบบผสมผสาน 2) เพื่อวิเคราะห์ รูปแบบความคิดเห็นของข้อมูลโรงแรม 3) เพื่อประเมินประสิทธิภาพการวิเคราะห์ความคิดเห็นโดย การจำแนกแบบตัดสินใจต้นไม้ แบบนาอีฟ เบย์ แบบเคเนียเรสเนเบอร ์และดำเนินการโดยรวบรวม
ข้อมูลจากเว็บไซต์อโกด้าเป็นข้อมูลการแสดงความคิดเห็นของผู้ใช้บริการที่เข้าพักโรงแรมนำมา
วิเคราะห์ความรู้สึกโดยหลักการวิธีการตัดคำแบบผสมผสาน ซึ่งผลของการวิจัยมีดังน ี้ผลการวิเคราะห ์
รูปแบบความคิดเห็นของข้อมูลโรงแรม โดยใช้เทคนิคการตัดคำแบบผมผสาน การวิเคราะห์จำแนก
แบบนาอีฟ เบย ์ผลวิเคราะห์ความคิดเห็นเชิงบวก (Positive) 99.36%, ผลวิเคราะห์ความคิดเห็นเชิงลบ (Negative) 98.89%, ผลวิเคราะห์ความคิดเห็นเป็นกลาง (Neutral) 99.43%, ความถูกต้อง (Accuracy) 99.66% การจำแนกแบบต้นไม้ตัดสินใจ ผลวิเคราะห์ความคิดเห็นเชิงบวก (Positive) 100%, ผลวิเคราะห ์ความคิดเห็นเชิงลบ (Negative) 0.00%, ผลวิเคราะห์ความคิดเห็นเป็นกลาง (Neutral) 0.00%, ความ ถูกต้อง (Accuracy) 65.49% และการจำแนกแบบเคเนียเรสเนเบอร ์ผลวิเคราะห์ความคิดเห็นเชิงบวก (Positive) 83.68%, ผลวิเคราะห์ความคิดเห็นเชิงลบ (Negative) 26.16%, ผลวิเคราะห์ความคิดเห็นเป็น กลาง (Neutral) 45.00%, ความถูกต้อง (Accuracy) 70.21%
Full Text : Download! |
||
4. | การออกแบบอัลกอริทึมสำหรับช่วยตัดสินใจบนเกมกลยุทธ์นักบุกเบิกแห่งคาทาน [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ภาสพล ประเทืองสิทธิ์ | ||
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อออกแบบอัลกอริทึมสำหรับช่วยตัดสินใจบน เกมกลยุทธ์นักบุกเบิกแห่งคาทาน 2) เพื่อประเมินประสิทธิภาพของอัลกอริทึมดังกล่าว โดยมีขั้นตอน ในการดำเนินงาน 5 ขั้นตอนได้แก่ 1) การรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ปัญหา 2) การวิเคราะห์เกมกลยุทธ ์นักบุกเบิกแห่งคาทาน 3) การออกแบบอัลกอริทึมสำหรับช่วยตัดสินใจ 4) การทดสอบผลบนกระดาน ในสถานการณ์รูปแบบต่างๆ และทดสอบผลกับปัญญาประดิษฐ์ JSettlers 5) การสรุปผลการวิจัย ซึ่ง ผลสรุปของการวิจัยมีดังนี้
ผลลัพธ์ที่ได้จากการออกแบบอัลกอริทึมบนเกมกลยุทธ์นักบุกเบิกแห่งคาทานมีอยู่ 3 ส่วน
ประกอบกันคือ 1) การเพิ่มความเร็วของผู้เล่นให้สูงสุดจากอัตราการผลิตทรัพยากรโดยหลักของวิธีการเพิ่ม ประสิทธิภาพ 2) การแบ่งส่วนและลำดับของปัญหาที่ต้องพิจารณาด้วยระบบมัลติเอเจนท์ 3) เกณฑ์ใน การตัดสินใจที่เขียนในรูปแบบของนโยบายเริ่มต้น 15 ข้อ โดยเมื่อนำหลักการดังกล่าวไปทดสอบผล
บนกระดานรูปแบบต่างๆ และทดสอบเทียบกับปัญญาประดิษฐ์ JSettlers นั้นได้ผลลัพธ์ออกมาคือ
ชนะ 80% บนกระดานระดับง่ายด้วยคะแนนเฉลี่ย 9.5 คะแนน ชนะ 60% สำหรับกระดานทั่วไปด้วย
คะแนนเฉลี่ย 8.8 คะแนน ชนะ 40% บนกระดานระดับยากและกระดานท่ีกำหนดเป็นมาตรฐาน ด้วย
คะแนนเฉลี่ย 7.9 และ 7.8 ตามลำดับ และชนะปัญญาประดิษฐ์ในอัตรา 85% ด้วยคะแนนเฉลี่ยที่ 9.7
Full Text : Download! |
||
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250