fieldjournalid
![]() | บทความวิจัย (SME) 2017 |
1. | ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารจานด่วนแบบตะวันตกของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : อชิระ สุทธิธนกูล, ภิญรดา แก้วเขียว | ||
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลของผู้บริโภคอาหารจานด่วนแบบตะวันตกในเขตกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดของผู้บริโภคอาหารจานด่วนแบบตะวันตกในเขตกรุงเทพมหานคร 3) เพื่อศึกษาปัจจัยการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคอาหารจานด่วนแบบตะวันตกในเขตกรุงเทพมหานคร 4) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารจานด่วนแบบตะวันตกของผู้บริโภคอาหารจานด่วนแบบตะวันตกในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มประชากรตัวอย่างในการวิจัย ครั้งนี้ ผู้ที่เคยบริโภคอาหารจานด่วนแบบตะวันตกซึ่งอาศัยหรือทางานอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร จานวน 300 คน โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน การวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารจานด่วนแบบตะวันตกของผู้บริโภคอาหารจานด่วนแบบตะวันตกในเขตกรุงเทพมหานคร โดยกาหนดให้มีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
ผลของการวิจัยมีดังต่อไปนี้ 1) ผู้บริโภคส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุอยู่ในช่วง 20-30 ปี การศึกษาระดับปริญญาตรี อาชีพ นักศึกษา รายได้ต่อเดือน อยู่ในระดับ น้อยกว่า 10,000 บาท ประเภทของอาหารจานด่วนแบบตะวันตกที่บริโภค คือ ไก่ทอด และร้านอาหารจานด่วนแบบตะวันตกที่บริโภค คือ KFC 2) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดของกลุ่มผู้บริโภคในด้านผลิตภัณฑ์นั้นกลุ่มผู้บริโภคได้ให้ความสาคัญกับรสชาติอร่อยมากที่สุด ในด้านราคานั้นกลุ่มผู้บริโภคได้ให้ความสาคัญกับอาหารจานด่วนมีป้ายแสดงราคาอย่างชัดเจนมากที่สุด ในด้านช่องทางการจัดจาหน่ายนั้นกลุ่มผู้บริโภคได้ให้ความสาคัญกับอาหารจานด่วนมีสถานที่จา
Full Text : Download! |
||
2. | พฤติกรรมผู้บริโภคและส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อน้ำปลาของผู้บริโภคในจังหวัดสมุทรปราการ [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ภิญรดา แก้วเขียว, อนุรักษ์ ฤาโสภา | ||
วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อน้ำปลาของผู้บริโภคในจังหวัดสมุทรปราการ และศึกษาส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อน้ำปลาของผู้บริโภคในจังหวัดสมุทรปราการ โดยสำรวจผู้บริโภคจำนวน 280 คน ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดสมุทรปราการ สถิติที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย 1) สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน การทดสอบความแตกต่างของค่ากลางของสองประชากรอิสระ(t-test) การหาความแตกต่างของค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่มตัวอย่างตั้งแต่ 2 กลุ่มขึ้นไป (ANOVA) 2) การวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ
ผลของการวิจัยมีดังต่อไปนี้ 1) ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 20-30 ปี ระดับการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย/ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ระดับรายได้ต่อเดือน 10,001-20,000 บาท และส่วนใหญ่มีอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน 2) พบว่าพฤติกรรมผู้บริโภคที่แตกต่างกันส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อน้ำปลาของผู้บริโภคในจังหวัดสมุทรปราการแตกต่างกัน 3) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดมีผลต่อการตัดสินใจซื้อน้ำปลาของผู้บริโภคในจังหวัดสมุทรปราการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
Full Text : Download! |
||
3. | คุณภาพการบริหารที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้ผู้ให้บริการรับ-ส่งพัสดุผ่านแอพพลิเคชั่น [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ชาลิสา เลิศวิภาส, ธันยมัย เจียรกุล | ||
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาความแตกต่างปัจจัยส่วนบุคคลที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกผู้ให้บริการรับ-ส่งพัสดุผ่าน Application (2) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านคุณภาพการบริการที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกผู้ให้บริการรับ-ส่งพัสดุผ่าน Application การวิจัยนครั้งศึกษาการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยศึกษาข้อมูลจากการใช้แบบสอบถามกับผู้บริโภคเขตกรุงเทพมหานครทั้งสิ้น 300 ตัวอย่าง การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Independent T-test, สถิติ One way ANOVA และการวิเคราะห์ถดถอยแบบพหุคูณ
ผลการวิเคราะห์ปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงอายุระหว่าง 20-30 ปี ระดับการศึกษาปริญญาตรี เป็นผู้ใช้บริการรับ-ส่งพัสดุ ผู้สนใจการบริการรับ-ส่งพัสดุ จากการทดสอบสมมติฐานที่ 1 เมื่อเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกับการตัดสินใจเลือกผู้ให้บริการรับ-ส่งพัสดุผ่าน Application พบว่าปัจจัยด้านเพศ อายุ และอาชีพที่แตกต่างกันส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกผู้ให้บริการฯ แตกต่างกัน และจากการทดสอบสมมติฐานที่ 2 พบว่าปัจจัยคุณภาพการบริการจานวน 2 ตัวแปร คือ ตัวแปรด้านความเอาใจใส่และตัวแปรด้านลักษณะทางกายภาพมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกผู้ให้บริการรับ-ส่งพัสดุผ่าน Application ที่ระดับนัยสาคัญ 0.05
Full Text : Download! |
||
4. | อิทธิพลของรูปแบบโฆษณาบนอินเตอร์เน็ตต่อการรับรู้คุณค่าตราสินค้ารถยนต์โตโยต้า [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : จุฑาทิพย์ เวโรจนากรณ์, รชตะ รุ่งตระกูลชัย | ||
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของรูปแบบโฆษณาบนอินเทอร์เน็ตต่อการรับรู้คุณค่าตราสินค้ารถยนต์โตโยต้า และนำปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณค่าตราสินค้ามาประยุกต์ใช้ และกำหนดแนวทางการประยุกต์ใช้เพื่อให้ประสบความสำเร็จในการโฆษณา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ ผู้ที่ใช้บริการอินเทอร์เน็ต จำนวน 400 ตัวอย่างโดยใช้เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิรศึกษาเป็นแบบสอบถามโดยใช้วิธีการของสุ่มตัวอย่าง ผลจากสมมติฐานพบว่าสมมติฐานการวิจัยที่ ปัจจัยส่วนบุคคลมีความสัมพันธ์ต่อการรับรู้คุณค่าตราสินค้ารถยนต์โตโยต้า พบว่าเพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษาที่ต่างกัน มีผลต่อการรับรู้คุณค่าตราสินค้ารถยนต์โตโยต้าแตกต่างกัน พบว่า ระดับการศึกษา และอาชีพที่ต่างกัน มีผลต่อการรับรู้คุณค่าตราสินค้ารถยนต์โตโยต้าไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 และรวิจัยที่มีความสัมพันธ์ระหว่างสมมติฐานกาปรูแบบการโฆษณาบนอินเทอร์เน็ตกับการรับรู้คุณค่าสินค้ารถยนต์โตโยต้า พบว่ารูปแบบการโฆษณาแบบ Display Ad (Banner) แบบ Video Clip และแบบ Social Media มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการรับคุณค่าสินค้ารถยนต์โตโยต้า
Full Text : Download! |
||
5. | ปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าส่วนบุคคลของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ประเสริฐ พ้นทุกข์, ธันยมัย เจียรกุล | ||
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าส่วนบุคคลของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ได้ศึกษาวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือผู้บริโภคที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลจำนวน 400 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวกเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Independent Samples T-test, One way ANOVA และการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ
ผลการวิเคราะห์ปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ด้านการส่งเสริมการตลาด ผลิตภัณฑ์ และด้านราคา มีผลต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าส่วนบุคคล
Full Text : Download! |
||
6. | การศึกษาปัจจัยส่วนประสมการตลาดบริการที่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อ หลักสูตรภาษาอังกฤษเพื่อธุรกิจ ในเขตกรุงเทพมหานคร [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : วชิรรุจน์ โพธิ์วัฒนกวิน, ธันยมัย เจียรกุล | ||
งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความแตกต่างของปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อหลักสูตรเรียนภาษาอังกฤษและปัจจัยส่วนประสมการตลาดบริการที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อหลักสูตรเรียนภาษาอังกฤษเพื่อธุรกิจ โดยใช้สถิติการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Independent T-Test, สถิติ One way ANOVA และการวิเคราะห์ถดถอยแบบพหุคูณ
ผลการวิเคราะห์ปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 18-22 ปี ระดับการศึกษาปริญญาตรี เป็นผู้ไม่เคยมีประสบการณ์ซื้อหลักสูตรภาษาอังกฤษเพื่อธุรกิจ จากการทดสอบสมมติฐานที่ 1 เมื่อเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกับการตัดสินใจซื้อหลักซื้อหลักสูตรภาษาอังกฤษเพื่อธุรกิจในเขตกรุงเทพมหานคร พบว่าปัจจัยส่วนบุคคลด้าน อายุ ระดับการศึกษา ด้านประสบการณ์ของกลุ่มตัวอย่างที่แตกต่างกันส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อหลักสูรภาษาอังกฤษเพื่อธุรกิจที่แตกต่างกัน และจากการทดสอบสมมติฐานที่ 2 พบว่าปัจจัยส่วนประสมการตลาดบริการส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อหลักสูตรภาษาอังกฤษเพื่อธุรกิจมีจำนวน 3 ปัจจัย คือ ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ ปัจจัยด้านการส่งเสริมการตลาด และปัจจัยด้านกระบวนการ ที่ระดับนัยสาคัญ 0.05
Full Text : Download! |
||
7. | การศึกษาปัจจัยส่วนประสมการตลาด ที่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อสินค้าเฮ้าส์แบรนด์ (House Brand) ของบิ๊กซี (Big C) ในเขตกรุงเทพมหานคร [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : วิภา สิทธานุกูล, ธันยมัย เจียรกุล | ||
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาลักษณะส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ อาชีพ รายได้ ที่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อสินค้าเฮ้าส์แบรนด์ (House Brand) ของบิ๊กซี (Big C) ในเขตกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาส่วนประสมการตลาด ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางการจำหน่าย และด้านการส่งเสริมการตลาด ที่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อสินค้าเฮ้าส์แบรนด์ (House Brand) ของบิ๊กซี (Big C) ในเขตกรุงเทพมหานคร กับกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือผู้บริโภคที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร ที่เคยซื้อสินค้าเฮ้าส์แบรนด์ (House Brand) ของบิ๊กซี (Big C) จานวน 322 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Independent Samples T-Test , สถิติ One Way ANOVA และการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่างผู้บริโภคสินค้าเฮ้าส์แบรนด์ (House Brand) ของบิ๊กซี (Big C) ในเขตกรุงเทพมหานคร ที่แตกต่างมีการตัดสินใจซื้อไม่แตกต่างกัน 2) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด จะพบว่าด้านราคา , ด้านการส่งเสริมการตลาด และด้านผลิตภัณฑ์ ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อสินค้าเฮ้าส์แบรนด์ (House Brand) ของบิ๊กซี (Big C) ในเขตกรุงเทพมหานคร อย่างมีระดับนัยสาคัญที่ 0.05
Full Text : Download! |
||
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250