fieldjournalid
![]() | บทความวิจัย (SME) 2018 |
1. | การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อน้ำผลไม้คั้นสดของประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ชวลิต สุปัญญาบุตร, ธันยมัย เจียรกุล | ||
งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1.1 เพื่อศึกษาความแตกต่างของปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกันที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อน้ำผลไม้คั้นสดของประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร และ 1.2 เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อน้ำผลไม้คั้นสดของประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร โดยใช้สถิติการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Independent T-Test, สถิติ One way ANOVA และการวิเคราะห์ถดถอยแบบพหุคูณ
ผลการวิเคราะห์ปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชายมีอายุระหว่าง 20-30 ปี ระดับการศึกษาปริญญาตรี โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียน นักศึกษา จากการทดสอบสมมติฐานที่ 1 เมื่อเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกับการตัดสินใจซื้อน้ำผลไม้คั้นสดของประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร พบว่าปัจจัยส่วนบุคคลด้าน ระดับการศึกษา ของกลุ่มตัวอย่างที่แตกต่างกันส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อน้ำผลไม้คั้นสดที่แตกต่างกัน และจากการทดสอบสมมติฐานที่ 2 พบว่าปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อน้ำผลไม้คั้นสดของประชากรในเขตกรุงเทพมหานครมีจำนวน 2 ปัจจัย คือ ปัจจัยด้านราคา และปัจจัยด้านการส่งเสริมทางการตลาด ที่ระดับนัยสาคัญ 0.05
Full Text : Download! |
||
2. | ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องประดับผ่านโมบายแอพพลิเคชั่นของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : กมลทิพย์ บุปผา, ภิญรดา แก้วเขียว | ||
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ซื้อเครื่องประดับผ่านโมบายแอพพลิเคชั่นของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดของผู้ซื้อเครื่องประดับผ่านทางโมบายแอพพลิเคชั่นแอพพลิเคชั่น 3) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องประดับผ่านโมบายแอพพลิเคชั่นของผู้บริโภค และ4) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องประดับผ่านทางโมบายแอพพลิเคชั่นแอพพลิเคชั่นในเขตกรุงเทพมหานครโดยสำรวจผู้บริโภคจานวน 413 คน ที่เคยซื้อเครื่องประดับผ่านโมบายแอพพลิเคชั่นในเขตกรุงเทพมหานคร ด้วยแบบสอบถามโดยการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก ใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน (Independent Sample T-test และ One-way ANOVA) การวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ (Multiple Linear Regression)
1) ผลการวิจัยพบว่าปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 21-30 ปี วุฒิการศึกษา ปริญญาตรี รายได้ 20,001-30,000 บาท ทำอาชีพพนักงานเอกชน และแอพพลิเคชั่นเครื่องประดับที่ซื้อบ่อยคือ ลาซาด้า 2) กลุ่มตัวอย่างที่ซื้อเครื่องประดับผ่านทางโมบายแอพพลิเคชั่นในเขตกรุงเทพมหานครให้ความสำคัญกับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดด้านผลิตภัณฑ์ในระดับมากที่สุด เช่นเดียวกับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจาหน่าย ด้านการส่งเสริมทางการตลาด ด้านกระบวนการสั่งซื้อ และด้านการนำเสนอของแอพพลิเคชั่นส่วนในด้านของพนักงานผู้ตอบแบบสอบถามให้ความสาคัญอยู่ในระดับมาก 3) เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยด้านเพศกับการตัดสินใจซื้อสรุปได้ว่าเพศต่างกันมีระดับการตัดสินใจซื้อไม่แตกต่างกันด้านอายุที่ต่างกันมีระดับการตัดสินใจซื้อต่างกัน เช่นเดียวกันกับด้านการศึกษารายได้ อาชีพ
Full Text : Download! |
||
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250