fieldjournalid
![]() | บทความวิจัย (EEM) 2017 |
1. | การเปรียบเทียบผลของกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมที่มีต่อผู้บริโภคระหว่างกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจและกิจกรรมที่ไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : กังวาน กันทรวิชยากุล, วุฒิ สุขเจริญ | ||
งานวิจัยนี้ฉบับนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาระดับของผลจากกิจกรรมเพื่อสังคมที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจและที่ไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจที่มีต่อผู้บริโภค รวมทั้งเพื่อเปรียบเทียบผลของกิจกรรมเพื่อสังคมที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจกับกิจกรรมเพื่อสังคมที่ไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจที่มีต่อผู้บริโภค โดยมีจุดมุ่งหมายให้องค์กรหรือธุรกิจสามารถเลือกดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคมที่มีผลต่อผู้บริโภคมากที่สุด อีกทั้งเพื่อให้ผู้ที่ต้องการใช้กิจกรรม CSR เพื่อสร้างการตระหนักด้านคุณค่าของตราสินค้าของผู้บริโภค สามารถเปรียบเทียบและเลือกดำเนินกิจกรรมที่เหมาะสมและสอดคล้องกับลักษณะของสินค้าหรือธุรกิจของตนเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงที่สุด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ทั้งสิ้น 416 คน โดยเทคนิคการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก (Convenience Sampling) เก็บตัวอย่างจากบุคคลที่อาศัยในเขตกรุงเทพมหานคร ผลการศึกษาพบว่า ภาพรวมของกิจรรมด้าน CSR ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ (Related) มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.42 อยู่ในระดับมาก ในขณะที่ภาพรวมของกิจกรรมด้าน CSR ที่ไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ (Unrelated) มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.17 อยู่ในระดับปานกลาง
Full Text : Download! |
||
2. | ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนสมาร์ทโฟนของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : รุจิกร จิรศักดิ์หิรัญ, วุฒิ สุขเจริญ | ||
การศึกษาสารนิพนธ์เรื่อง ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนสมาร์ทโฟนของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาระดับของอิทธิพลในแต่ละปัจจัยที่จะก่อให้เกิดเจตนาในการเปลี่ยนสมาร์ทโฟน 2. เพื่อนำเสนอแนวทางการตลาดสำหรับธุรกิจสมาร์ทโฟน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ ประชาชนที่ใช้สมาร์ทโฟนในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 300 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย การวิเคราะห์เชิงถดถอยแบบพหุคูณ โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลจากการศึกษาระดับของอิทธิพลในแต่ละปัจจัยที่จะก่อให้เกิดเจตนาในการเปลี่ยนสมาร์ทโฟน พบว่า ระดับอิทธิพลของแต่ละปัจจัยที่ส่งผลต่อ ด้านเพศ ด้านอายุ และด้านระบบปฏิบัติการของผู้ใช้งาน มีความแตกต่างกัน
2. ผลจากการศึกษาเพื่อนาเสนอแนวทางการตลาดสาหรับธุรกิจสมาร์ทโฟน พบว่า ปัจจัย และกลยุทธ์กลยุทธ์ที่ใช้เป็นแนวทางการตลาดมีความแตกต่างกันออกไปในด้านเพศ ด้านอายุ และด้านระบบปฏิบัติการของผู้ใช้งาน
Full Text : Download! |
||
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250