fieldjournalid
![]() | วิทยานิพนธ์ (MBJ) 2018 |
1. | การปรับตัวและคุณภาพชีวิตที่ส่งผลต่อความสุขของชาวญี่ปุ่นเข้ามาทำงานในเขตภาคตะวันออกของประเทศไทย [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ซาทสุกิ โทมิโอกะ | ||
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบระดับการปรับตัวจาแนกตามคุณลักษณะทางประชากรศาสตร์ 2) เปรียบเทียบระดับคุณภาพชีวิตจาแนกตามคุณลักษณะทางประชากรศาสตร์ 3) เปรียบเทียบความสุขจาแนกตามคุณลักษณะทางประชากรศาสตร์ 4) หาความสัมพันธ์ระหว่างการปรับตัวกับระดับคุณภาพชีวิต 5) เปรียบเทียบการปรับตัวที่ส่งผลต่อระดับความสุข 6) เปรียบเทียบระดับคุณภาพชีวิตที่ส่งผลต่อระดับความสุข ประชากรที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ คือ ชาวญี่ปุ่นที่เข้ามาทางานในเขตภาคตะวันออกของประเทศไทย และกลุ่มตัวอย่างจานวนทั้งสิ้น 445 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการศึกษาวิจัย สถิติที่ใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ สถิติทดสอบความแตกต่าง 2 กลุ่มตัวอย่าง (Independent Sample t-test) การหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson s Product Moment Correlation Coefficient) สถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way Analysis of Variance : ANOVA) และ Multiple Linear Regression ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 98.00 อายุ 51 ปีขึ้นไป ร้อยละ 78.20 สถานภาพสมรส ร้อยละ 63.80 พนักงานที่จัดจ้างในต่างประเทศและส่งมาประจาการชั่วคราวในประเทศไทย ร้อยละ 95.50 สังกัดธุรกิจเกี่ยวกับการผลิตในระดับบริหาร ร้อยละ 87.60 อยู่ในจังหวัดระยอง ร้อยละ 59.80
ผลการศึกษาพบว่า 1) คุณลักษณะทางประชากรศาสตร์ที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อการปรับตัว อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) คุณลักษณะทางประชากรศาสตร์ที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อระดับคุณภาพชีวิต อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) คุณลักษณะทางประชากรศาสตร์ที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อระดับความสุข อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4)การปรับตัวมีความสัมพันธ์กับระดับคุณภาพชีวิต อย่างมี
Full Text : Download! |
||
2. | การศึกษาเพื่อการสำรวจตัวแปรในระบบนิเวศทางธุรกิจของสตาร์ทอัพ : กรณีภาคเหนือของประเทศไทย [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : กานต์ธิดา ลีสุวรรณ | ||
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจตัวแปรในระบบนิเวศทางธุรกิจโดยการ วิเคราะห์ปัจจัยเชิงสำรวจ และความสำเร็จของสตาร์ทอัพในภาคเหนือของประเทศไทย 2) ศึกษา อิทธิพลของตัวแปรที่มีต่อความสำเร็จสตาร์ทอัพ
กลุ่มตัวอย่างของการวิจัยเชิงคุณภาพ คือ องค์กรที่อยู่ในระบบนิเวศทางธุรกิจของ
สตาร์ทอัพ คือ องค์กรสนับสนุนทางตรง 2 ราย องค์กรสนับสนุนทางอ้อม 2 ราย และสตาร์ทอัพ
ที่ประสบความสำเร็จ 4 ราย โดยใช้การสัมภาษณ์ในการรวบรวมข้อมูล ส่วนกลุ่มตัวอย่างของ
การวิจัยเชิงปริมาณ คือ ผู้ก่อตั้งหรือผู้ร่วมก่อตั้งสตาร์ทอัพที่เป็นกรณีศึกษาจำนวน 50 ราย โดย
ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก ่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย
ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความแปรปรวน การวิเคราะห์ปัจจัย วิธีหาค่าสัมประสิทธ์ิสหสัมพันธ์
แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นอย่างง่าย
ผลการวิจัย พบว่า 1) ตัวแปรในระบบนิเวศทางธุรกิจของสตาร์ทอัพในภาคเหนือของ ประเทศไทยประกอบด้วย 6 ตัวแปร คือ สภาพแวดล้อมและวัฒนธรรม การค้นคว้าวิจัยเฉพาะทาง
การสนับสนุนทางตรง นโยบายท้องถิ่น การเงิน และตลาด ระดับความสำเร็จของสตาร์ทอัพโดย
รวมอยู่ในระดับต่ำ 2) การค้นคว้าวิจัยเฉพาะทางและการสนับสนุนทางตรงมีความสัมพันธ์กับ ความสำเร็จของสตาร์ทอัพในระดับต่ํา และมีอิทธิพลต่อความสำเร็จของสตาร์ทอัพโดยมีอำนาจ
ในการพยากรณ์ที่ร้อยละ 12.00 และร้อยละ 12.00 ตามลำดับ
Full Text : Download! |
||
3. | คุณภาพบริการส่งผลต่อความพึงพอใจและความภักดีของลูกค้าชาวญี่ปุ่น : กรณีศึกษา โรงพยาบาลเอกชนแห่งชาติ ในเขตกรุงเทพมหานคร [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ธมนวรรณ บรรพสุทธิ์ | ||
การวิจัยครัง้ นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพบริการที่ส่งผลต่อความพึงพอใจและ
ความภักดี ศึกษาความพึงพอใจของลูกค้าชาวญี่ปุ่น และศึกษาความภักดีของลูกค้าชาวญี่ปุ่นที่
มีต่อการใช้บริการโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง ในเขตกรุงเทพมหานครโดยใช้แบบสอบถามเป็น
เครื่องมือในการเก็บข้อมูล มีจำนวนผู้ตอบแบบสอบถามรวม 225 คน สถิติที่ใช้ ประกอบด้วย
ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติการวิเคราะห์ถดถอยเชิงเส้นตรงอย่างง่าย และ
การวิเคราะห์ถดถอยเชิงเส้นแบบพหุ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติเท่ากับ 0.05
จากผลการศึกษาระดับความคิดเห็นของคุณภาพการบริการของโรงพยาบาลด้าน
ปฏิสัมพันธ์ ด้านเทคนิคการรักษา ด้านบุคลากร ด้านโครงสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐาน
ด้านขัน้ ตอนการให้บริการ พบว่า อยู่ในระดับสูง ส่วนด้านการช่วยเหลือสังคม พบว่า อยู่ในระดับ
ปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.81, 3.80, 3.79, 3.65, 3.50 และ 3.26 ตามลำดับ
ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า คุณภาพบริการส่งผลต่อความพึงพอใจและความภักดี
ของลูกค้าชาวญี่ปุ่นที่มาใช้บริการโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง ในเขตกรุงเทพมหานคร และยัง
พบว่าความพึงพอใจส่งผลต่อความภักดีของลูกค้าชาวญี่ปุ่นที่มาใช้บริการ อย่างมีนัยสำคัญทาง
สถิติที่ระดับ 0.01
Full Text : Download! |
||
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250