fieldjournalid
![]() | งานวิจัย คณะวิศวกรรมศาสตร์ 2013 |
1. | โครงการออกแบบและพัฒนารถตุ๊ก ตุ๊กไฟฟ้ารองรับระบบสับเปลี่ยนแบตเตอรี่ที่มีประสิทธิภาพ [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ณัฐพล ลิ้มจีระจรัส | ||
Full Text : Download! |
||
2. | รายงานการวิจัย วิธีการเชิงระบบในการแก้ปัญหาข้อบกพร่องของงานเชื่อมระหว่างการบำรุงรักาษาท่อส่งน้ำมันที่มีผลมาจากสนามแม่เหล็กตกค้างอันเกิดจากอุปกรณ์ MFL โดยใช้เทคนิคของ TRIZ (ทฤษฎีการแก้ปัญหาเชิงประดิษฐ์คิดค้น)) [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ไตรสิทธิ์ เบญจบุณยสิทธิ์ | ||
ท่อส่งน้ำมันและก๊าซมีความจำเป็นที่จะต้องได้รับการตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าไม่มีการสึกกร่อนจนอาจเป็นสาเหตุให้เกิดการรั่งไหลได้ เต่เนื่องจากท่อส่งน้ำมันและก๊าซมีความยาวมากและไม่สามารถเปิดออกมาดูได้ ในการบำรุงรักษาจึงใช้วิธีการตรวจสอบแบบไม่ทำลาย และอุปกรณ์ที่นิยมใช้กันคือ Magnetic Elux Leakage (MFL) device หรือที่รู้จักกันในชื่อของ PIG (ลูกหมู) โดยจะทำการการส่งลูกหมูให้วิ่งเข้าไปตามท่อเพื่อทำการตรวจสอบผิวท่อหาร่องรอยของความสึกกร่อนแล้วส่งสัญญาณรายงานผลไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ ในการตรวจสอบท่อเพื่อหาร่องรอยของความสึกกร่อนนั้น อุปกรณ์ MFL หรือลูกหมูนี้จะสร้างสนามแม่เหล็กความเข้มสูงผ่านเข้าไปในเนื้อท่อในขณะที่เคลื่อนที่วิ่งไปในท่อสนามแม่เหล็กความเข้มสูงนี้จะเกิดการอิ่มตัวอยู่ในผนังท่อ เมื่อมีการสึกกร่อนของท่อซึ่งทำให้เนื้อโลหะสูญหายไปอยู่ ณ บริเวณใด จะทำให้สนามแม่เหล็กความเข้มสูงนี้เกิดการรั่วไหลออกมาจากผนังท่อในบริเวณนั้น ลูกหมูจะมีเซนเซอร์ติดตั้งอยู่ภายในคอยตรวจวัดสนามแม่เหล็กรั่วไหลที่เกิดขึ้น ทำให้ทราบตำแหน่งของจุดบกพร่องและจะถูกบันทึกไว้เพื่อนำไปทำการซ่อมท่อต่อไป แต่หลังจากการตรวจสอบโดยอุปกรณ์ MFL เสร็จสิ้นลงแล้ว สนามแม่เหล็กความเข้มสูงจะยังคงตกค้างอยู่ภายในเนื้อท่อ เมื่อมีการตัดท่อส่วนที่สึกกร่อนออกเพื่อทำการเชื่อมท่อใหม่เข้าไป จะเกิดปัญหามีแรงมากระทำต่อลวดเชื่อมและลำอาร์ค ทำให้ไม่สามารถรักษาตำแหน่งของแนวเชื่อมได้ถูกต้อง งานเชื่อมที่ได้ออกมาจะไม่มีคุณภาพและมีข้อบกพร่องซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาในภายหลังได้
ผู้วิจัยได้ใช้วิธีการเชิงระบบในการแก้ปัญหาข้อบกพร่องของงานเชื่อมระหว่างการบำรุงรักษาท่อส่งน้ำมันที่มีผลมาจากสนามแม่เหล็กตกค้างอันเกิดจากอุปกรณ์ MFL โดยใช้เทคน
Full Text : Download! |
||
3. | การวิเคราะห์หาความเป็นไปได้ในการระบุเพศของปลามังกรโดยใช้เทคนิคของ TRIZ (ทฤษฎีการแก้ปัญหาเชิงประดิษฐ์คิดค้น) [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ไตรสิทธิ์ เบญจบุณยสิทธิ์ | ||
ปลาอะโรวานาหรือปลามังกรมีราคาแพง แต่ละตัวขายกันเป็นหลักหมื่นถึงแสน จึงมีผู้พยายามเพาะเลี้ยงขึ้นมา การเพาะพันธุ์ปลาอะโรวานาจะเพาะเลี้ยงตามธรรมชาติโดยการปล่อยให้อยู่รวมกันหลายตัวเป็นฝูงในบ่อขนาดใหญ่แล้วให้จับคู่ผสมพันธ์กันเอง ที่ต้องทำเช่นนี้เพราะว่าปลาอะโรวานาตัวผู้กับตัวเมียจะมีลักษณะเหมือนกันทุกประการจนไม่สามารถแยกแยะได้ว่าตัวไหนตัวผู้ตัวไหนตัวเมีย และยังไม่มีวิธีระบุเพศปลาที่ชัดเจนได้ จึงต้องปล่อยให้อยู่รวมกันหลายตัวเพื่อสร้างโอกาสให้มีการผสมพันธุ์กัน แต่ปัญหาที่ตามมาก็คือ ปลาอะโรวานาจะมีนิสัยก้าวร้าว อาจเกิดการต่อสู้ทำร้ายกันจนได้รับบาดเจ็บ และเมื่อตัวเมียวางไข่ ตัวผู้จะเข้าผสมแล้วอมไข่ไว้ในปากนานเป็นเดือนจนกว่าไข่จะเพาะเป็นตัว แต่หากมีตัวผู้อยู่หลายตัวไข่ที่ผสมแล้วอาจถูกตัวผู้ตัวอื่นแย่งไปกินเป็นอาหารได้ ปัญหาเรื่องการระบุเพศปลาอะโรวานา จึงเป็นปัญหาใหญ่ที่ได้รับการศึกษาวิจัย แต่ยังไม่มีการที่ได้ผลและน่าเชื่อถือ
ทางผู้วิจัยเห็นว่าจำเป็นที่จะต้องวิเคราะห์หาแนวทางการวิจัยที่มีความเป็นไปได้สูงออกมาให้ชัดเจนก่อนที่จะวิจัยในเชิงลึก จึงได้ประยุกต์ใช้ทฤษฎีการแก้ปัญหาเชิงประดิษฐ์คิดค้น (Theory of Inventive Problem Solving, TRIZ) มาวิเคราะห์หาความเป็นไปได้ในการระบุเพศของปลามังกร ซึ่งจากไอเดียที่ได้ 32 ไอเดีย มีไอเดียที่มีความเป็นไปได้สูงและมีประสิทธิภาพมากกว่าวิธีการที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
Full Text : Download! |
||
4. | Final Report Improvements of Intelligen Electronics System Research Laboratory in the Second Phase Under a Research Grant No.A56-3-3-3 [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : Wimol San-Um | ||
Full Text : Download! |
||
5. | Final Report The development of Intelligent Real-Time Multi-Function General-Purpose Controller for Computer Vision Under a Research Grant No. A56-3-3-3 [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : Wimol San-Um | ||
Full Text : Download! |
||
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250