fieldjournalid
![]() | สารนิพนธ์ MIM) 2019 |
1. | การเพิ่มประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักรในกระบวนการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ : กรณีศึกษา กระบวนการชุบโครม [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : สมยศ มาลารักษ์ | ||
งานวิจัยฉบับนี้เป็นการนำเอาเครื่องมือของระบบการผลิตแบบลีนมาใช้เป็นตัวชี้วัด
ประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักร (Overall Equipment Effectiveness) เพื่อนำมาใช้ให้แสดง
เห็นถึงความสูญเปล่าที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิตเพื่อปรับปรุงและลดความสูญเปล่าในกระบวน
การผลิต โดยมีขั้นตอนการดำเนินการโดยสรุปคือ
1. เก็บข้อมูลการผลิตการชุบโครม จากการเก็บข้อมูลการผลิตประสิทธิผลโดยรวม
ของเครื่องจักรที่เกิดขึ้นในกระบวนการชุบโครมในปี 2560 ประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักร
อุปกรณ์เท่ากับ 74.65% ซึ่งไม่เป็นไปตามเป้าหมายของบริษัทคือ 80% ดังนั้นจึงต้องการเพิ่ม
ประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักรให้ได้ตามเป้าหมายที่กำหนด
2. ระบุกระบวนการที่จะปรับปรุง จากการจำแนกข้อมูลโดยใช้แผนภูมิพาเรโต้ พบว่า
การเปลี่ยนโปรแกรมในการผลิตเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดความสูญเปล่ามากที่สุดและส่งผลให้
อัตราการเดินเครื่องเท่ากับ 85.07% และส่งผลให้ประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักรได้เท่ากับ
74.65%
3. วิเคราะห์ปัญหา จากการวิเคราะห์โดยใช้การระบุสาเหตุที่เป็นไปได้ โดยใช้ผังแสดง
เหตุและผล (Cause and Effect Diagram) พบว่าปัจจัยที่ทำให้เกิดการสูญเปล่า คือ 1. เปลี่ยน
โปรแกรมในการผลิตโดยการเปลี่ยนโปรแกรมจาก Stainless เป็นโปรแกรม Steel และ Steel
เป็นโปรแกรม Stainless 2. ขั้นตอนในการเปลี่ยนรุ่นมีหลายขั้น ตอนทำให้สูญเสียเวลาในการ
เปลี่ยนรุ่น 3. ไม่มี Trolley เพื่อใช้ในการโหลดชิ้นงาน
4. การปรับปรุง ทำการปรับปรุงด้วยวิธีการเขียนโปรแกรม PLC ให้สามารถทำงาน
โดยไม่ต้องเปลี่ยนโปรมแกรม, จัดทำ Trolley ใส่งาน, ปรับปรุงท่อลมใหม่, PM จิ๊กโหลดงาน
ปรับปรุง ปรับปรุง V-Brock และ Flight Bar ใหม่
จากการศึกษาและปรับปรุงกระบวนการผลิตดังกล่าวพบว่า หลังจากการปร
Full Text : Download! |
||
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250