fieldjournalid
![]() | วิทยานิพนธ์ (MBJ) 2019 |
1. | แนวทางการเพิ่มขีดความสามารถด้านการส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของไทยไปยังตลาดเอเชียตะวันออก [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ประภาวัลย์ ติยะมณี | ||
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) รายการสินค้าที่ไทยสูญเสียความสามารถในการแข่งขันสินค้าแปรรูปในภูมิภาคเอเชียตะวันออก 2) วิธีการส่งออกอาหารแปรรูปกับการประสบความสำเร็จของการส่งออก 3) ระยะเวลาในการดำเนินงานของบริษัทกับการประสบความสำเร็จของการส่งออก 4) เพื่อศึกษาปัจจัยต่างๆที่ส่งผลต่อความสามารถด้านการส่งออกของไทยไปยังตลาดเอเชียตะวันออก กลุ่มตัวอย่างการวิจัยคือบริษัทที่อยู่ในฐานข้อมูลของกลุ่มอุตสาหกรรม อาหารสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยจำนวน 239 บริษัท โดยเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามและสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ การทดสอบไค-สแควร์ การวิเคระาห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุ
ผลการศึกษาพบว่า 1) มูลค่าการส่งออกสินค้าในกลุ่มสินค้าอุตสาหกรรมเกษตรของเอเชียตะวันออกระหว่างปี 2560 และปี 2561 ที่มีมูลค่าการส่งออกลดลง ได้แก่ น้ำตาลทราย นมและผลิตภัณฑ์นม ส่วนสินค้าที่มีอัตราการขยายตัวของการส่งออกลดลง ได้แก่ น้ำตาลทราย เนื้อสัตว์ ของปรุงแต่งที่ทำจากเนื้อสัตว์ ผักกระป๋องและผักแปรรูป นมและผลิตภัณฑ์นม 2) วิธีการส่งออกสินค้าไม่มีความสัมพันธ์กับการประสบความสำเร็จของการส่งออก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) ระยะเวลาในการดำเนินกิจการหรือประสบการณ์ของบริษัทมีความสัมพันธ์กับการประสบความสำเร็จของการส่งออก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05และ 4) ปัจจัยแวดล้อมภายในทั้ง 4 ด้าน พบว่า มีเพียงปัจจัยด้านอุตสาหกรรมสนับสนุนและเกี่ยวเนื่อง และปัจจัยด้านอุปสงค์หรือความต้องการของตลาด ส่งผลต่อความสามารถด้านการส่งออก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยมีอำนาจในการพยากรณ์ที่ร้อยละ 42.4 ส่วนปัจจัยแวดล้อมภายนอก ได้แก่ ปัจจัย
Full Text : Download! |
||
2. | การบริหารการผลิตแบบญี่ปุ่นและกิจกรรมการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องส่งผลต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานในอุตสานหกรรมกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์แห่งหนึ่ง [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ปราริตา ศิลปเผ่าพันธุ์ | ||
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการบริหารการผลิตแบบญี่ปุ่น กิจกรรม
การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง และประสิทธิภาพการดำเนินงาน 2) ศึกษาการบริหารการผลิตแบบ
ญี่ปุ่นและกิจกรรมการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องส่งผลต่อประสิทธิภาพการดำเนินงาน ประชากรที่ใช้
ในการวิจัยในครั้งนี้ คือ บุคลากรบริษัทกรณีศึกษาในฝ่ายของโรงงานจำนวนทั้งหมด 745 คน
เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ
ค่าสัมประสิทธิส์ หสัมพันธ์เพียร์สัน และสถิติการวิเคราะห์ถดถอยแบบพหุ
ผลการศึกษา พบว่า 1) ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารการผลิตแบบญี่ปุ่น
กิจกรรมการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง และประสิทธิภาพการดำเนินงานโดยรวมอยู่ในระดับมาก 2)
การบริหารการผลิตแบบญี่ปุ่นส่งผลต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานด้านผลิตภาพ และด้านความ
ปลอดภัยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมีอำนาจในการพยากรณ์ที่ร้อยละ 48.10
และ 55.40 ตามลำดับ และการบริหารการผลิตแบบญี่ปุ่นส่งผลต่อประสิทธิภาพการดำเนินงาน
ด้านคุณภาพ ด้านต้นทุน และด้านการส่งมอบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยมี
อำนาจในการพยากรณ์ที่ร้อยละ 52.80, 53.10 และ 53.30 ตามลำดับ
และยังพบว่า กิจกรรมการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องส่งผลต่อประสิทธิภาพการดำเนินงาน
ด้านผลิตภาพ ด้านคุณภาพ ด้านต้นทุน ด้านการส่งมอบ และด้านความปลอดภัยอย่างมีนัยสำคัญ
ทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยมีอำนาจในการพยากรณ์ที่ร้อยละ 56.80, 53.70, 49.90, 45.70 และ
46.30 ตามลำดับ
Full Text : Download! |
||
3. | การบริหารการผลิตแบบญี่ปุ่นและกิจกรรมการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องส่งผลต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : นันทภรณ์ ภูจริพัฒน์ | ||
การวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษา 1) ระดับการบริหารการผลิตแบบญี่ปุ่น 2) ระดับกิจกรรมการ
ปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง 3) ระดับประสิทธิภาพการดำเนินงาน และ 4) การบริหารการผลิตแบบ
ญี่ปุ่น และกิจกรรมการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องส่งผลต่อประสิทธิภาพการดำเนินงาน กลุ่มตัวอย่าง
ที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ คือ บุคลากรฝ่ายปฏิบัติการของบริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน)
จำนวน 770 คน โดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ค่าร้อยละ การหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ
ผลการศึกษาพบว่า 1) ระดับการบริหารการผลิตแบบญี่ปุ่นโดยรวม อยู่ในระดับมาก
( X = 4.20) 2) ระดับกิจกรรมการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องโดยรวม อยู่ในระดับมาก ( X = 3.99) 3)
ระดับประสิทธิภาพการดำเนินงานโดยรวม อยู่ในระดับมาก ( X = 4.07)
ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า การบริหารการผลิตแบบญี่ปุ่น ด้านการบำรุงรักษาทวีผล
ที่ทุกคนมีส่วนร่วม ด้านมาตรฐานการปฏิบัติงาน และด้านการควบคุมด้วยสายตา ส่งผลต่อประสิทธิภาพ
การดำเนินงาน ด้านผลิตภาพ มีอำนาจในการพยากรณ์ที่ร้อยละ 53.2 และกิจกรรมการปรับปรุง
อย่างต่อเนื่อง ด้านการรับรู้ถึงผลลัพธ์และความสำเร็จ ด้านการมีส่วนร่วมของคนในองค์กร ด้านทักษะ
และความเพียรพยายามของพนักงาน และด้านระบบสนับสนุนและรองรับการดำเนินงาน ส่งผล
ต่อประสิทธิภาพการดำเนินงาน ด้านผลิตภาพ มีอำนาจในการพยากรณ์ที่ร้อยละ 66.8 อย่างมี
นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และพบว่าการบริหารการผลิตแบบญี่ปุ่น ด้านกิจกรรม 3ส ด้าน
มาตรฐานการปฏิบัติงาน ด้านการควบคุมด้วยสายตา และด้านการขจัดความสูญเปล่า ส่งผลต่อ
ประสิทธิภาพการดำเนินงาน ด้านคุณภาพ ด้านต้นทุน และด้านการส่งมอบ มีอำนาจในการพยากรณ์
ที่ร้อยละ 53.
Full Text : Download! |
||
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250