fieldjournalid
![]() | งานวิจัย คณะบริหารธุรกิจ 2019 |
1. | รายงานการวิจัย การบริหารแรงงานสัมพันธ์ผ่านกิจกรรมองค์กรสุขภาวะเปรียบเทียบองค์กรทุนไทย-องค์กรรวมทุนญี่ปุ่นหรือองค์กรทุนญี่ปุ่น [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : เอิบ พงบุหงอ, รุจารินทร์ จิตต์แก้ว | ||
การวิจัยนี้ ใช้กรอบแนวคิดการบริหารแรงงานสัมพันธ์ ผ่านกิจกรรมองค์กรสุขภาวะ 8 ด้าน (ชาญวิทย์,
2556) คือ สุขภาพดี น้ำใจงาม ผ่อนคลาย หาความรู้ คุณธรรม ใช้เงินเป็น ครอบครัวดี และสังคมดี มีวัตถุประสงค์ เพื่อ
ศึกษาแนวคิดการบริหารแรงงานสัมพันธ์ และเปรียบเทียบกิจองค์กรสุขภาวะขององค์กรทุนไทย องค์กรร่วมทุนญี่ปุ่นหรือ
องค์กรทุนญี่ปุ่น ใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูล สถิติที่ใช้วิเคราะห์ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าคะแนนเฉลี่ย ความเบี่ยงเบน
มาตรฐาน และประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน กลุ่มตัวอย่างองค์กรไทย องค์กรร่วมทุนญี่ปุ่นหรือองค์กรทุนญี่ปุ่น
ผลการวิจัยพบว่า (1) มีระบบการบริหารแรงงานสัมพันธ์ ครบทั้ง 8 ด้านไม่แตกต่าง และระบบการบริหารแรงงาน
สัมพันธ์ ส่งผลอย่างมีนัยสา คัญ 0.05 ต่อ (1) ผลิตภาพเพิ่มขึ้น (2) ประสิทธิผล (3) ประสิทธิภาพ (4) อัตราการลาออก
ลดลง
Full Text : Download! |
||
2. | รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ ปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจใช้บริการร้านอาหารฮาลาลในประเทศไทยของชาวต่างชาติทั้งที่เป็นชาวมุสลิมและไม่ใช่ชาวมุสลิม [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ธันยมัย เจียรกุล | ||
รายงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลทั้งทางตรงและทางอ้อมที่ส่งผลต่อความตั้งใจใช้บริการร้านอาหารฮาลาลในประเทศไทย (2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง ปัจจัยเชิงสาเหตุด้านการสื่อสารทางการตลาด ปัจจัยเชิงสาเหตุด้านคุณภาพการบริการ และปัจจัยเชิงสาเหตุด้านประเทศแหล่งกำเนิดของสินค้ากับปัจจัยเชิงสาเหตุด้านคุณค่าแบรนด์ (3) ศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุด้านการสื่อสารทางการตลาด ปัจจัยเชิงสาเหตุด้านคุณภาพการบริการ และปัจจัยเชิงสาเหตุด้านประเทศแหล่งกำเนิดของสินค้า และปัจจัยเชิงสาเหตุด้านคุณค่าแบรนด์ กับความตั้งใจใช้บริการร้านอาหารฮาลาลในประเทศไทยของชาวต่างชาติ และ (4) ศึกษาแนวทางในการพัฒนาศักยภาพของร้านอาหารฮาลาลของไทย ให้เป็นที่น่าเชื่อถือและดึงดูดใจนักท่องเที่ยวต่างชาติให้เข้ามาท่องเที่ยวแบบฮาลาลในไทยมากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นวิจัยแบบผสมทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เป็นมุสลิมและไม่ใช่มุสลุม จำนวน 315 คน ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เป็นมุสลิม 3 คน และนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่ไม่ใช่มุสลิม 2 คน รวมทั้งสิ้น 5 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ ใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ SEM ผลการวิจัยพบว่า คุณค่าแบรนด์ (BE) ได้รับอิทธิพลทางตรงเรียงตามขนาดอิทธิพลจากมากไปหาน้อย คือ คุณภาพการบริการ (SQ) ประเทศแหล่งกาเนิดของสินค้า (COO) และ การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ (IMC) ตามลาดับ เมื่อพิจารณาปัจจัยที่มีอิทธิพลรวมสูงสุดคือ SQ COO และ IMC สาหรับ ความตั้งใจซื้อ (PI) ได้รับอิทธิพลทางตรงเรียงตามขนาดอิทธิพลจากมากไปหาน้อย คือ คุณค่าแบรนด์ COO SQ และ IMC
Full Text : Download! |
||
3. | รายงานการวิจัย ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการถ่ายโอนอำนาจการบริการงานสู่ท้องถิ่นของวิสาหกิจญี่ปุ่นในประเทศ กรณีศึกษา: องค์กรญี่ปุ่นที่มีแผนการถ่ายโอนอำนาจจากผู้บริหารชาวญี่ปุ่นมาสู่ผู้บริหารชาวไทย [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : บุญชู ตันติรัตนสุนทร, บุญญาดา นาสมบูรณ์ | ||
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบความพร้อมและศักยภาพในการ
รับถ่ายโอนอำนาจของผู้บริหารชาวไทย และเปรียบเทียบปัจจัยตำแหน่งงานและระยะเวลาการ
ทำงานส่งผลต่อความพร้อมและศักยภาพในการรับถ่ายโอนอำนาจของผู้บริหารชาวไทย เก็บ
ข้อมูลจากตำแหน่งผู้จัดการและตำแหน่งที่สูงกว่า จากองค์กรที่มีแผนการโอนถ่ายอำนาจการ
บริหารจากผู้บริหารชาวญี่ปุ่นมาสู่ผู้บริหารชาวไทย จำนวน 533 ตัวอย่าง โดยใช้แบบสอบถาม
ในการเก็บข้อมูล วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และใช้สถิติ t and F ในการทดสอบสมมติฐาน
ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบพบว่า องค์ประกอบปัจจัยแบ่งเป็น 2 ตัวคือ การ
ยอมรับความสามารถ และ ความสำคัญของการถ่ายโอนอำนาจการบริหาร
ผลการวิจัยพบว่า ผู้บริหารที่ดำรงตำแหน่ง Manager และGeneral Manger หรือสูง
กว่า มีผลต่อความสำเร็จของการถ่ายโอนการบริหารงานในด้านการยอมรับความสามารถ
แตกต่างกัน โดยที่ตำแหน่งที่สูงกว่าจะมีความสามารถในการรับถ่ายโอนอำนาจและการยอมรับ
การถ่ายโอนสูงกว่าระดับผู้จัดการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
ผลการวิจัยยังพบว่า ระยะเวลาในการทำงานในองค์กรปัจจุบันที่แตกต่างกันมีผลต่อ
การถ่ายโอนอำนาจการบริหารงานด้านการยอมรับความสามารถที่แตกต่างกัน โดยที่ผู้มี
ระยะเวลาการทำงานในองค์กรปัจจุบัน 21 – 30 ปี แตกต่างจากผู้มีอายุการทำงานในองค์กร
อื่นๆ อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Full Text : Download! |
||
4. | รายงานการวิจัย อิทธิพลตัวแปรสื่อกลางของกิจกรรมการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องระหว่างการบริหารการผลิตแบบญี่ปุ่นกับการลดต้นทุน [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : บุญญาดา นาสมบูรณ์ | ||
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลและพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิง
โครงสร้างของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการลดต้นทุน วิเคราะห์และเปรียบเทียบทิศทางของอิทธิพล
ทางตรงและทางอ้อมที่มีต่อการลดต้นทุน รูปแบบพัฒนาขึ้นประกอบด้วยตัวแปรแฝงจำนวน 3
ตัวแปร ได้แก่ ตัวแปรแฝงภายนอกคือการบริหารการผลิตแบบญี่ปุ่น ตัวแปรแฝงภายในคือการ
ลดต้นทุน และตัวแปรแฝงภายในที่เป็นตัวแปรคั่นกลางคือกิจกรรมการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
โดยมีตัวแปรสังเกตได้รวมทั้งสิ้นจานวน 13 ตัวแปร ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ เก็บรวบรวม
ข้อมูลจากบุคลากรจาก 2 นิคมอุตสาหกรรมประกอบด้วย นิคมอุตสาหกรรมลาพูน จำนวน 393
ตัวอย่าง และนิคมอุตสาหกรรมลาดกระบังจำนวน 292 ตัวอย่าง ตรวจสอบความสอดคล้องด้วยการ
วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการวิเคราะห์ตัวแบบความสัมพันธ์เชิงโครงสร้าง
ผลการทดสอบโมเดลแบบจำลองสมการโครงสร้างของนิคมอุตสาหกรรมลำพูนมีความ
สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ของนิคมอุตสาหกรรมลำพูน อยู่ในเกณฑ์ดี โดยมีค่า χ2 =
185.86 ที่องศาอิสระ (df) =72, CMIN/df =2.58, p value =0.000, GFI =.94 AGFI =.91, CFI
=.98, NFI=.96, RMR=.01, RMSEA=.06 และพบว่า การบริหารการผลิตแบบญี่ปุ่นมีอิทธิพล
ทางตรงต่อการลดต้นทุน มีค่าเท่ากับ .83 และพบว่า การบริหารการผลิตแบบญี่ปุ่นมีอิทธิพล
ทางตรง (มีค่าเท่ากับ .26) และทางอ้อม (มีค่าเท่ากับ .57) ผ่านตัวแปรสื่อกลางกิจกรรมการ
ปรับปรุงพัฒนาอย่างต่อเนื่องต่อการลดต้นทุน มีค่าอิทธิพลรวมเท่ากับ .83
พบว่าแบบจำลองสมการโครงสร้างของนิคมอุตสาหกรรมลาดกระบังมีความ
สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์อยู่ในเกณฑ์ดี โดยมีค่า χ2=203.83, df=71, CMIN/df=2.94,
p value=0.00, GFI=.91 AGFI=.89, CFI=.97, NFI=.95, RMR=.02, RMSEA=.0
Full Text : Download! |
||
5. | แนวทางการพัฒนารูปแบบและกิจกรรมการท่องเที่ยวชุมชนอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา ชุมชนบ้านปะอาว อ.เมือง จ.อุบลราชธานี บนแนวคิด คันโคมะจิชทึคุริ [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ดวงดาว โยชิดะ | ||
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจทรัพยากรทางการท่องเที่ยวของชุมชนปะอาว
อ.เมือง จ.อุบลราชธานี บนฐานแนวคิดคันโคมะจิซทึคุริ 2) ศึกษาความคิดเห็นของหน่วยงานภาครัฐ
ผู้ประกอบการท้องถิ่น และประชาชนที่อาศัยอยู่ในท้องถิ่นต่อการประเมินศักยภาพของทรัพยากร
ทางการท่องเที่ยวของชุมชนปะอาว อ.เมือง จ.อุบลราชธานี บนฐานแนวคิดคันโคมะจิซทึคุริ 3)ศึกษา
ลักษณะทางประชากรศาสตร์และพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในชุมชนปะ
อาว อ. เมือง จ.อุบลราชธานี บนฐานแนวคิดคันโคมะจิซทึคุริ 4) ศึกษารูปแบบและกิจกรรมการ
ท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยวต้องการในการเดินทางมาท่องเที่ยวชุมชนปะอาว อ. เมือง จ.อุบลราชธานี บน
ฐานแนวคิดคันโคมะจิซทึคุริ 5) เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนารูปแบบและกิจกรรมการท่องเที่ยว
ชุมชนปะอาว อ.เมือง จ.อุบลราชธานี อย่างยั่งยืน บนฐานแนวคิดคันโคมะจิซทึคุริที่เหมาะสมกับบริบท
ชุมชน การศึกษาเป็นการวิจัยแบบผสม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม จำนวน 385 ชุด
และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง จำนวน 12 ชุด ผลการศึกษา พบว่า 1) ทรัพยากรที่ปัจจุบันมีการ
นำมาใช้ประโยชน์ทางการท่องเที่ยว ได้แก่ ศูนย์หัตถกรรมทองเหลืองบ้านปะอาว ศูนย์จำหน่าย
ผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกพื้นบ้าน ศูนย์เฉลิมราช และโฮมสเตย์บ้านปะอาว 2) ทรัพยากรที่มีศักยภาพใน
การพัฒนาทางการท่องเที่ยว คือ ศูนย์หัตถกรรมทองเหลืองบ้านปะอาว ศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์ของที่
ระลึกพื้นบ้าน ศูนย์เฉลิมราช 3) ลักษณะทางประชากรศาสตร์ด้านอายุ ด้านระดับการศึกษา ด้านอาชีพ
ด้านรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ด้านสถานภาพสมรส มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวในการ
เดินทางท่องเที่ยวโดย ชุมชนปะอาว อ.เมือง จ.อุบลราชธานีที่ระดับนัยสำคัญที่ 0.05
4) นัก
Full Text : Download! |
||
6. | อิทธิพลของผู้นำทางความคิดในสื่อดิจิทัลที่มีต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : พงศ์ศรัณย์ วงศ์ชนเดช, ปัณณทัต จอมจักร์ | ||
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกรับสื่อของผู้บริโภคจากผู้นำทางความคิดเกี่ยวกับเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ในสื่อดิจิทัล และเพื่อวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างผู้บริโภคกับผู้นำทางความคิดเกี่ยวกับเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ในสื่อดิจิทัลที่นำไปสู่การตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ เป็นการวิจัยโดยการเก็บข้อมูลปฐมภูมิ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน โดยใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ และนำมาวิเคราะห์สมการเชิงโครงสร้าง สรุปผลถึงอิทธิพลของกลุ่มผู้นำทางความคิดเกี่ยวกับเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ในสื่อดิจิทัลที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค
ผลการศึกษาพบว่า (1) ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์มีอิทธิพลต่อการเลือกรับสารจากผู้นำทางความคิดเกี่ยวกับเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ในสื่อดิจิทัล (2) ปัจจัยด้านสื่อและการนำเสนอมีอิทธิพลต่อการเลือกรับสารจากผู้นำทางความคิดเกี่ยวกับเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ในสื่อดิจิทัล (3) ปัจจัยด้านอิทธิพลทางสังคมมีอิทธิพลต่อการเลือกรับสารจากผู้นำทางความคิดเกี่ยวกับเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ในสื่อดิจิทัล (4) ปัจจัยด้านผู้บริโภคมีอิทธิพลต่อการเลือกรับสารจากผู้นำทางความคิดเกี่ยวกับเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ในสื่อดิจิทัล (5)ผู้นำทางความคิดเกี่ยวกับเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ในสื่อดิจิทัลมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อความตั้งใจซื้อสินค้าและบริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่
Full Text : Download! |
||
7. | รายงานการวิจัย ความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจในการทำงานกับความตั้งใจลาออกของวิศวกรไทยในบริษัทญี่ปุ่น [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : สรรเสริญ สัตถาวร | ||
งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจในการทำงาน ความผูกพันองค์การ และความตั้งใจลาออกของวิศวกร โดยมีพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ เป็นตัวสื่อความสัมพันธ์ (mediator) และศึกษาเปรียบเทียบระดับการรับรู้ของตัวแปรดังกล่าวแยกตามกลุ่มอายุ ของกลุ่มตัวอย่างที่เป็นวิศวกรซึ่งมีสถานะเป็นพนักงานประจำในบริษัทร่วมทุ่นไทย-ญี่ปุ่น ทั่วประเทศ ผลการวิจัยพบว่า ความพึงพอใจในการทำงานและความผูกพันองค์การมีความสัมพันธ์ทางบวกซึ่งกันและกัน และตัวแปรทั้งสองนี้มีความสัมพันธ์ทางลบกับความตั้งใจลาออก สอดคล้องตามโมเดลกระบวนการตัดสินใจลาออก ของ Hom & Griffeth, (1995) ที่ใช้ในการวิจัย และเมื่อเปรียบเทียบระดับความพึงพอใจในการทำงาน ความผูกพันองค์การและความตั้งใจลาออกของวิศวกรแยกตามกลุ่มอายุ พบว่า ความพึงพอใจในการทำงานของวิศวกรไม่แตกต่างกัน แต่มีความผูกพันองค์การและความตั้งใจลาออกแตกต่างกัน สำหรับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การที่วิศวกรรับรู้นั้นประกอบด้วย การช่วยเหลือผู้อื่น การมีจิตสานึก และให้ความร่วมมือ ในบรรดาพฤติกรรมทั้ง สามด้านนี้ พฤติกรรมด้านการช่วยเหลือผู้อื่น และด้านการมีจิตสานึกเท่านั้นที่มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความพึงพอใจในการทำงาน และความผูกพันองค์การ แต่มีความสัมพันธ์ทางลบกับความตั้งใจลาออก และยังเป็นตัวแปรสื่อบางส่วน ของความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจในการทำงาน ความผูกพันองค์การ และความตั้งใจลาออก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งเป็นการยอมรับสมมติฐานการวิจัย ผลการวิจัยนำไปใช้เป็นแนวทางในการรักษาบุคลากรไว้กับองค์กร ด้วยการเสริมสร้างความพึงพอใจในการทำงาน ความผูกพันองค์การและปลูกฝังพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การให้กับวิศวกรไทยซึ่งเป็นกลุ่มพนักงานที่มีการลาอ
Full Text : Download! |
||
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250