fieldjournalid
![]() | งานวิจัย คณะวิศวกรรมศาสตร์ 2021 |
1. | รายงานฉบับสมบูรณ์ การพัฒนาถ่านชีวภาพจากกากปาล์ม [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : จินตวัฒน์ ไชยชนะวงศ์ | ||
งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาการผลิตถ่านชีวภาพจากกากปาล์ม โดยทำการผลิตจากกากปาล์มซึ่ง
เป็นเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตรที่พบมากในประเทศไทย โดยใช้ชุด
การทดลองการผลิตถ่านชีวภาพด้วยการอัดขึ้นรูปร้อนแบบแนวตั้งในการผลิตถ่านชีวภาพ เพื่อศึกษา
ผลกระทบของสภาวะการขึ้นรูปต่อสมบัติทางกายภาพ (ความหนาแน่น) สมบัติทางกล (ความต้านทาน
แรงอัดสูงสุด และความแข็ง) และสมบัติทางความร้อน (ค่าความร้อน) โดยกำหนดสภาวะในการขึ้นรูป
ได้แก่ อุณหภูมิที่ใช้ในการขึ้นรูป 100 – 190 °C เวลาที่ใช้ในการขึ้นรูป 10 – 25 นาที กำหนดให้ความ
ดันในการขึ้นรูปคงที่ที่ 16 MPa โดยใช้ปริมาณกากปาล์มครั้งละ 50 กรัม และกำหนดความชื้นของ
ของกากปาล์มที่ประมาณ 10±1 wt%
จากการศึกษา พบว่าอุณหภูมิในการขึ้นรูปส่งผลต่อสมบัติของถ่านชีวภาพจากกากปาล์ม โดย
อุณหภูมิในการขึ้นรูปที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ถ่านชีวภาพที่ได้มีความหนาแน่น ความแข็ง และค่าความร้อน
สูงขึ้น แต่อุณหภูมิในการขึ้นรูปที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ค่าความต้านทานแรงอัดสูงสุดของถ่านชีวภาพมีค่า
สูงขึ้น ในช่วง 100 – 140 oC โดยค่าความต้านทานแรงอัดสูงสุดของถ่านชีวภาพจะแนวโน้มลดลง เมื่อ
ใช้อุณหภูมิในช่วง 170 – 190 oC เนื่องจากพบว่ามีการแตกร้าวของชิ้นงาน เมื่อทำการขึ้นรูปในช่วง
อุณหภูมิดังกล่าว นอกจากนี้พบว่าเวลาในการขึ้นรูปส่งผลต่อสมบัติของถ่านชีวภาพจากกากปาล์มน้อย
มาก เมื่อใช้เวลาในการขึ้นรูปเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ความหนาแน่น ความต้านทานแรงอัดสูงสุด ความแข็ง
และค่าความร้อนเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย โดยเมื่อใช้เวลาในการขึ้นรูปมากกว่า 20 นาที จะไม่มีผลต่อ
สมบัติของถ่านชีวภาพที่ได้ อย่างไรก็ตามถ่านชีวภาพจากกากปาล์มที่ผลิตได้มีความต้านทานแรงอัด
สูงสุดไม่น้อยกว่า 20 MPa ค่าความร้
Full Text : Download! |
||
2. | รายงานฉบับสมบูรณ์ การจัดตั้งห้องปฏิบัติการวิจัยวิศวกรรมคอมพิวเตอร์หุ่นยนต์และเทคโนโลยี [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : วรากร ศรีเชวงทรัพย์ | ||
โครงการการจัดตั้งห้องปฏิบัติการวิจัยวิศวกรรมคอมพิวเตอร์หุ่นยนต์และเทคโนโลยี ได้จัดตั้งขึ้นที่
ห้อง C406 เริ่มโครงการตั้งแต่ปีการศึกษา 2561 มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดตั้งห้องปฏิบัติการวิจัยด้านการ
วิศวกรรมคอมพิวเตอร์และหุ่นยนต์ ณ สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น เพื่อสนับสนุนและขับเคลื่อนงานวิจัยด้าน
ต่าง ๆ เช่น ปัญญาประดิษฐ์ ระบบสื่อสารไร้สาย ระบบสมองกลฝังตัวและไมโครโพรเซสเซอร์ การประมวลผล
ภาพ และ Internet of Things (IoT) พร้อมทั้งสนับสนุนการแข่งขันของนักศึกษา และเป็นพื้นที่สำหรับการ
เตรียมพร้อมการบริการวิชาการทางด้านการอบรมให้ความรู้ทางด้าน ปัญญาประดิษฐ์ สมองกลฝังตัว และ
อินเทอร์เน็ตในทุกสรรพสิ่ง การดำเนินงานระหว่างปีการศึกษา 2561-2564 ได้มีการจัดโครงการบริการ
วิชาการ 3 โครงการ ได้แก่
- โครงการอบรมและปฏิบัติเรื่อง บอร์ดราสเบอร์รี่พายกับการใช้งานด้านปัญญาประดิษฐ์เบื้องต้น
- โครงการอบรมและปฏิบัติเรื่อง การใช้งาน Machine Learning จากเริ่มต้นสู่ขั้นสูง
- โครงการอบรมเรื่อง การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เบื้องต้น
นอกจากนี้ นักศึกษาที่ใช้พื้นที่ห้องปฏิบัติการวิจัยเพื่อเตรียมความพร้อมในการแข่งขัน ได้รับรางวัล
ระดับประเทศ 2 รางวัล ได้แก่ รายการ TopGun TESA 2018 ได้รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 และรายการ
TopGun TESA 2020 ได้รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 3 และมีการเผยแพร่บทความวิจัยของอาจารย์ที่สังกัด
ห้องปฏิบัติการวิจัย CERT หลายฉบับ โดยมีรายละเอียดดังนี้ บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติ
จำนวน 3 บทความ บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติ จำนวน 3 บทความ และบทความที่นำเสนอในงาน
ประชุมวิชาการ ทั้งระดับชาติและระดับนานาชาติ จำนวน 11 บทความ
Full Text : Download! |
||
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250