fieldjournalid
![]() | วิทยานิพนธ์ (MET) 2020 |
1. | การกำหนดค่าที่เหมาะสมในสายการผลิตกึ่งอัตโนมัติ กรณีศึกษา [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ชัยพงศ์ โชติภัทร์เดชารัตน์ | ||
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพและประสิทธิผลของสายการผลิตส่วนประกอบมอเตอร์พัดลมเครื่องปรับอากาศให้สามารถรองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้นของลูกค้า ด้วยการพัฒนาสายการผลิตแบบผลิตด้วยมือสู่สายการผลิตกึ่งอัตโนมัติ การดำเนินการวิจัยเริ่มจากการเก็บรวมรวมรายละเอียด ข้อมูลความต้องการ และรอบเวลาผลิตของลูกค้า ได้ออกแบบหลักการเบื้องต้นของเครื่อง โดยประเมินผลด้วยค่าลำดับความเสี่ยง และประเมินประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักร จากนั้นพัฒนาปรุงปรับกระบวนการผลิต โดยกำหนดค่าตั้งต่างๆ ที่เหมาะสม ของ Controller Oil และ Controller Ultrasonic เพื่อให้สามารถผลิตชิ้นงานได้ตามมาตรฐานที่กำหนด ด้วยเครื่องมือการออกแบบการทดลอง และการวิเคราะห์การถดถอย ได้ติดตั้ง ดำเนินการทดสอบการใช้งานของระบบ และพัฒนากระบวนการการของไลน์การผลิตให้สามารถรองรับความต้องการของลูกค้า ทั้งปริมาณและคุณภาพ ลดทรัพยากรด้านแรงงานจาก 4 คน เป็น 2 คน ได้ประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักร ร้อยละ 81.15
Full Text : Download! |
||
2. | ประสิทธิผลของการใช้เฟซบุ๊กในการตลาดของกลุ่มผู้ค้าอุปกรณ์ตกแต่งรถยนต์ในประเทศไทย [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : กนกวรรณ ใจมีสุขมาก | ||
ปัจจุบันนี้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว และได้รับความสนใจจาก
ผู้ประกอบการใช้ในการดำเนินธุรกิจ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการใช้เฟซบุ๊ก
ในการตลาดของกลุ่มผู้ค้าอุปกรณ์ตกแต่งรถยนต์ในประเทศไทย โดยเฉพาะในช่วงสถานการณ์ไวรัส
COVID-19 ช่วงที่สอง ส่งผลให้มีผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจอย่างน่าศึกษา งานวิจัยนี้ใช้จำนวนกลุ่ม
ตัวอย่าง n=400 โดยใช้แบบสอบถามออนไลน์จากการรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ การแปลผล ได้พบว่า
ปัจจัยด้านลักษณะพื้นฐาน ด้านรายได้ของร้านต่อเดือน ปัจจัยด้านการบริหารงานออนไลน์ ด้าน
ประเภทเฟซบุ๊กที่ใช้ ด้านรูปแบบการทำโฆษณาบนเฟซบุ๊ก และด้านการบริการข้อมูลสินค้า ด้วยความ
รวดเร็วในการตอบคำถาม และปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาดดิจิทัล 5P ด้านการสร้างความมี
ส่วนร่วมด้านราคา ด้านช่องทางจัดจำหน่าย และด้านสินค้า มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการใช้เฟซบุ๊กใน
การตลาดของกลุ่มผู้ค้าอุปกรณ์ตกแต่งรถยนต์ในประเทศไทยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
ดังนั้นประสิทธิผลของการใช้เฟซบุ๊กในการตลาดทำให้ธุรกิจเป็นที่รู้จัก มีผู้สนใจเพิ่มขึ้นมาก
ขึ้น สร้างโอกาสการตลาด ช่วยกระตุ้นการขยายตัวธุรกิจ และเพิ่มยอดขายและกำไรสุทธิมากยิ่งขึ้น
โดยเฉพาะในสถานการณ์ไวรัส COVID-19
Full Text : Download! |
||
3. | การเตรียมถ่านชีวภาพจากเศษไม้ยางพารา [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ณัชกร สุขครัน | ||
ในการศึกษาได้ทำการเตรียมถ่านชีวภาพจากเศษไม้ยางพารา โดยศึกษาผลกระทบของสภาวะการขึ้นรูปสมบัติของถ่านชีวภาพ ได้แก่ ความหนาแน่น ความต้านทานแรงกดสูงสุด ค่าความร้อน โดยกำหนดอุณหภูมิในการขึ้นรูป คือ 100 120 140 160 และ 180°C เวลาที่ใช้ในการขึ้นรูป คือ 10 15 20 และ 25 นาที และใช้ความดันในการขึ้นรูปคงที่เท่ากับ 16 MPa และความชื้นของวัตถุดิบที่ใช้มีค่าประมาณ 10 wt.% ถ่านชีวภาพที่ได้จะนำไปทดสอบสมบัติต่างๆ และวิเคราะห์โครงสร้างทางจุลภาคของพื้นผิวถ่านชีวภาพ พบว่าทั้งอุณหภูมิและเวลาที่ใช้ในการขึ้นรูปส่งผลโดยตรงต่อสมบัติของถ่านชีวภาพ โดยเมื่อทำการเพิ่มอุณหภูมิการขึ้นรูปในช่วง 100°C ถึง 180°C จะส่งผลให้ค่าความหนาแน่นและค่าความร้อนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แต่ค่าการต้านทานแรงกดสูงสุดจะเพิ่มขึ้นในช่วงอุณหภูมิการขึ้นรูป 100°C ถึง 140°C นอกจากนี้เมื่อเพิ่มเวลาที่ใช้ในการขึ้นรูปจะส่งผลให้ค่าความหนาแน่น ค่าการต้านทานแรงกดสูงสุด และค่าความร้อนมีแนวโน้มสูงขึ้น โดยพบว่าเวลาที่ให้ค่าความหนาแน่น ค่าการต้านทานแรงกด และค่าความร้อนสูงที่สุดคือ 25 นาที
Full Text : Download! |
||
4. | การทำนายค่าความหนืดมูนนี่ของยางคอมพาวด์ด้วยระบบอนุมานตรรกศาสตร์คลุมเครือโครงข่ายประสาทเทียมแบบปรับตัวได้ [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ปาลิดา ทรัพย์สิริโรจน์ | ||
ความหนืดมูนนี่เป็นพารามิเตอร์ที่สำคัญในอุตสาหกรรมยางคอมพาวด์ เนื่องจากเป็นหนึ่งใน
พารามิเตอร์ที่บ่งบอกถึงคุณภาพของกระบวนการผลิตและสมบัติของยางคอมพาวด์ได้ การทราบผล
ค่าความหนืดมูนนี่ของแบตซ์ยางคอมพาวด์นั้นๆ ใช้เวลา 5 ชั่วโมง หลังจากกระบวนการผสมเสร็จสิ้น
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ออกแบบแบบจำลองทำนายค่าความหนืดมูนนี่ของยางคอมพาวด์ด้วยระบบ
อนุมานตรรกศาสตร์คลุมเครือโครงข่ายประสาทเทียมแบบปรับตัวได้ นำพารามิเตอร์ที่เครื่องผสมตรวจวัด
ในการผสมยางมากำหนดเป็นตัวแปรอินพุต ได้แก่ อุณหภูมิ กระแสไฟฟ้า และความดัน และนำชุดข้อมูล
ที่เกิดจากการผลิตจริงที่ผ่านการคัดเลือกและทำความสะอาดด้วยการตัดค่าผิดพลาดและออกนอกช่วง
ของข้อกำหนดทางด้านคุณภาพมาใช้เป็นฐานข้อมูล การออกแบบอัลกอริทึมที่ใช้ในการหาค่าพารามิเตอร์
เริ่มต้นส่วนหน้าและส่วนหลัง การศึกษาโครงสร้างของแบบจำลองที่แตกต่างกัน ได้แก่ จำนวนอินพุต 1 2
และ 3 ตัวแปร จำนวนรอบการเรียนรู้ 100 500 และ 1000 รอบ และวิธีการดำเนินการ And And-
Squared OR และ OR-Squared และการจำลองอัปเดตข้อมูลใหม่ในฐานข้อมูล จากผลการจำลอง
พบว่า ค่า RMSE ต่ำสุดของชุดข้อมูลทดสอบเท่ากับ 4.08 มาจากการใช้อัลกอริทึมเริ่มต้นค่าพารามิเตอร์
จำนวนค่าอินพุต 3 ตัวแปร จำนวนรอบการเรียนรู้ 100 รอบ และการดำเนินการ OR ผลการจำลอง
แสดงให้เห็นว่า จำนวนรอบการเรียนรู้ที่น้อยบ่งบอกถึงความเร็วในการประมวลผลของแบบจำลอง จึง
ทำให้สามารถทำนายความหนืดมูนนี่ได้ทันทีเมื่อสิ้นสุดกระบวนการผสม ผลการอัปเดตฐานข้อมูลของ
แบบจำลองด้วยชุดข้อมูลใหม่ที่มีการใช้สูตรยางเดียวกับชุดข้อมูลที่เก็บในฐานข้อมูลมีประสิทธิภาพใน
การทำนายที่ดีกว่าชุดข้อมูลที่ใช้สูตรยางใหม่
Full Text : Download! |
||
5. | ผลกระทบของลักษณะรอยร้าวที่ส่งผลต่อการกระจายตัวของแรงที่เกิดขึ้นบนแบบจำลอง 3 มิติของฟันกรามซี่ที่หนึ่ง โดยวิธีการวิเคราะห์ไฟไนต์เอลิเมนต์ [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : สรพล ณ ลำปาง | ||
งานวิจัยนี้ เป็นการศึกษาพฤติกรรมการกระจายตัวของความเค้นเมื่อเกิดรอยร้าวขึ้นบนแบบจำลอง 3 มิติขนาดเสมือนจริงของฟันกรามล่างซี่ที่หนึ่งของมนุษย์ โดยใช้วิธีการวิเคราะห์ทางไฟไนต์เอลิเมนต์ โดยแบบจำลอง 3 มิติดังกล่าวถูกสร้างขึ้น โดยมีพื้นฐานจากวิธี Cone-Beam Computed Tomography (CBCT) และการวิเคราะห์จะมุ่งเน้นการศึกษาผลกระทบของพารามิเตอร์ของรอยร้าวที่เกิดขึ้นบนแบบจำลอง ในส่วนของเคลือบฟัน และเนื้อฟันโดยแบ่งออกเป็น 2 กรณีศึกษา ได้แก่ กรณีแรก การศึกษาผลกระทบของขนาดความกว้างของรอยร้าว (0 μm, 40 μm, 68 μm, 75 μm, 80 μm และ 100 μm) และกรณีที่สอง การศึกษาผลกระทบของความสูงของรอยร้าว (2 mm, 3 mm, 4 mm, 5 mm และ 5.4 mm) จากบริเวณ Enamel-Cemento Junction (CEJ) โดยกำหนดค่าตัวแปรของความลึกของรอยร้าวในการศึกษานี้ที่ 3 mm. จากพื้นผิวของแบบจำลอง Dentin ซึ่งจากผลการศึกษาพฤติกรรมการกระจายตัวของรอยร้าว แสดงให้เห็นว่า ขนาดความกว้างของรอยร้าว มีผลกระทบต่อการกระจายตัวของความเค้นบนฟันมากกว่าขนาดความสูงของรอยร้าว โดยขนาดของความกว้างของรอยร้าวที่เกิดขึ้นบนแบบจำลองที่ขนาดมากกว่า 68 μm มีค่าความเค้นและการกระจายของความเค้นเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยะสำคัญ และในกรณีของความสูงของรอยร้าวพบว่าความสูงของรอยร้าวส่งผลโดยตรงต่อค่าความเค้นดึงเฉพาะส่วนประกอบที่เกิดรอยร้าวเท่านั้น ซึ่งก็คือ ส่วนของเคลือบฟัน และเนื้อฟัน
Full Text : Download! |
||
6. | ผลกระทบของสภาวะการขึ้นรูปต่อสมบัติของถ่านชีวภาพจากกะลามะพร้าว [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : วริศรา เลอศิลป์ | ||
งานวิจัยนี้ทำการผลิตถ่านชีวภาพจากกะลามะพร้าว โดยศึกษาผลกระทบของอุณหภูมิและความชื้นของวัตถุดิบในการขึ้นรูปต่อสมบัติของถ่านชีวภาพ กะลามะพร้าวที่ใช้จะถูกบดและคัดแยกขนาดให้มีขนาดเล็กกว่า 1 mm จากนั้นจะทำการขึ้นรูปโดยใช้การอัดด้วยชุดทดลองการผลิตถ่านชีวภาพแบบแนวตั้ง ที่ความดันในการขึ้นรูปคงที่ 16 MPa เป็นเวลา 15 นาที และทำการปรับอุณหภูมิที่ใช้ในการขึ้นรูปอยู่ในช่วง 160 – 190 oC (160 180 และ 190 oC) และปรับค่าความชื้นของวัตถุดิบอยู่ในช่วง 0 – 20 wt% (0 5 10 15 และ 20 wt%) ทำการวิเคราะห์สมบัติของถ่านชีวภาพที่ผลิตได้ ได้แก่ สมบัติทางกายภาพ (ความหนาแน่น) สมบัติทางความร้อน (ค่าความร้อน) และสมบัติทางกล (ความต้านทานแรงอัดสูงสุด) นอกจากนี้ได้ทำการวิเคราะห์โครงสร้างจุลภาคของถ่านชีวภาพโดยใช้การถ่ายภาพด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกวาด
จากการศึกษาพบว่า อุณหภูมิในการขึ้นรูป และความชื้นของวัตถุดิบ ส่งผลต่อสมบัติของถ่านชีวภาพ โดยความหนาแน่นของถ่านชีวภาพมีค่าสูงขึ้น เมื่อใช้วัตถุดิบที่มีความชื้นสูงขึ้น ถ่านชีวภาพจากกะลามะพร้าวมีค่าสูงสุดที่ 1.25 g/cm3 เมื่อใช้อุณหภูมิในการขึ้นรูปในช่วง 160 °C -190 °C และวัตถุดิบมีปริมาณความชื้น 20 wt% อย่างไรก็ตามพบว่าถ่านชีวภาพที่ได้จะมีรอยแตกร้าว เมื่อทำการขึ้นรูปในโดยใช้วัตถุดิบแห้ง ซึ่งชี้ให้เห็นว่าการแข็งตัวของถ่านชีวภาพจากกะลามะพร้าวมีผลจากปริมาณความชื้นของวัตถุดิบ
Full Text : Download! |
||
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250