fieldjournalid
![]() | สารนิพนธ์ (MIT) 2020 |
1. | การออกแบบวิธีการนำเสนอโปรแกรม Business Intelligence เพื่อผู้มีภาวะตาบอดสี [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : เมธาพร เจ็งธรรม | ||
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาการออกแบบการนำเสนอข้อมูลให้เหมาะสมกับผู้มีภาวะตาบอดสี ในปัจจุบันการแข่งขันทางด้านธุรกิจมีมากขึ้น หน่วยงานต่างๆ ทั้งหน่วยงานรัฐและเอกชน มีการใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลมากขึ้น เครื่องมือที่ใช้ในการนำเสนอที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน เช่น ทาโบล์ว (Tableau), ไมโครซอฟท์ พาวเวอร์ บีไอ (Microsoft Power BI) การใช้งานไลบราลี่ (Library) ของภาษาโปรแกรม เช่น ภาษาไฟธอน (Python), ภาษาอาร์ (R) หรือจะเป็นการใช้งานโปรแกรมสำนักงานพื้นฐานอย่าง Microsoft Excel (ไมโครซอฟท์ เอ็กซ์เซล) หรือ Microsoft Power Point (ไมโครซอฟท์ พาวเวอร์พอยท์)
นอกจากการออกแบบการนำเสนอให้ตอบโจทย์ธุรกิจ การนำเสนอมีความสวยงาม เข้าใจง่ายแล้ว ยังต้องคำนึงถึง วิธีการออกแบบ ออกแบบอย่างไรที่มีสามารถให้ผู้ที่มีปัญหาทางด้านการมองเห็นสีผิดปกติ สามารถเข้าใจการนำเสนอข้อมูลได้ ทางผู้วิจัยจึงศึกษาหัวข้อดังกล่าวเพื่อเป็นแนวทางในการออกแบบการนำเสนอข้อมูลให้เหมาะสมและเพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาหรือนำไปประยุกต์ใช้ในเรื่องที่เกี่ยวข้อง
Full Text : Download! |
||
2. | การออกแบบระบบติดตามสถานภาพเครื่องแม่ข่ายเสมือน และกู้คืนเว็บแอปพลิเคชันภายในระบบการประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ ด้วยซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซ [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ณัฐพล ศรีรอดบาง | ||
การออกแบบระบบติดตามสถานภาพเครื่องแม่ข่ายเสมือน และกู้คืนเว็บแอปพลิเคชัน ภายในระบบการประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ ด้วยซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซ มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา ได้แก่ 1) ออกแบบระบบติดตามสถานภาพเครื่องแม่ข่ายเสมือน 2) เพื่อให้มีระบบแจ้งเตือนผู้เกี่ยวข้องให้ทราบ เมื่อเครื่องแม่ข่ายเสมือนทำงานผิดปกติ 3) เพื่อให้มีระบบตรวจสอบ และกู้คืนระบบเว็บแอปพลิเคชันภายในเครื่องแม่ข่ายเสมือน โดยระบบที่ออกแบบประกอบด้วย 4 ส่วนคือ 1) ส่วนฐานข้อมูลอนุกรมเวลาโดยใช้ซอฟต์แวร์ Prometheus 2) ส่วนชุดคำสั่งตรวจสอบสถานภาพเครื่องแม่ข่าย และเว็บแอปพลิเคชันโดยใช้โพรโทคอล SNMP, ICPM, TCP และ HTTP ร่วมกับชุดคำสั่งที่พัฒนาด้วยภาษาไพทอน 3) ส่วนแสดงผล และตรวจสอบสถานภาพโดยใช้ซอฟต์แวร์ Grafana 4) ส่วนชุดคำสั่งตรวจสอบ และกู้คืนระบบเว็บแอปพลิเคชัน ที่พัฒนาด้วยภาษาไพทอน
การออกแบบระบบติดตามสถานภาพเครื่องแม่ข่ายเสมือน และกู้คืนเว็บแอปพลิเคชัน ภายในระบบการประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ ด้วยซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซในครั้งนี้ จากการทดสอบส่วนติดตามสถานภาพ โดยการจำลองสถานการณ์ที่เครื่องแม่ข่ายเสมือน และเว็บแอปพลิเคชันมีสถานภาพผิดปกติ ระบบสามารถตรวจสอบพบความผิดปกติ แล้วแจ้งเตือนไปยังผู้ดูแลระบบผ่านแอปพลิเคชัน LINE ได้ทุกครั้งที่ทดสอบ ในการทดสอบส่วนตรวจสอบ และกู้คืนเว็บแอปพลิเคชัน จากการจำลองสถานการณ์ความผิดปกติ พบว่าสามารถตรวจสอบปัญหา แล้วกู้คืนส่วนประกอบของเว็บแอปพลิเคชันให้กลับมาทำงานได้ปกติ และมีการแจ้งผลลัพธ์ไปยังผู้ดูแลระบบผ่านแอปพลิเคชัน LINE ได้ทุกครั้งที่ทดสอบ
Full Text : Download! |
||
3. | การพัฒนาระบบนับจำนวนนกแอ่นกินรังด้วย YOLO Object Detection ผ่านกล้องถ่ายภาพความร้อน [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : สิริทัศน์ เลิศตระกูลถาวร | ||
รังนกถือเป็นอาหารที่ได้รับความนิยมมาอย่างยาวนาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวจีน เนื่องจากมีคุณค่าทางสารอาหารที่ได้ผ่านการวิจัยมาแล้ว อาทิเช่น Glycoprotein (ไกลโคโปรตีน) ถือเป็นส่วนประกอบสำคัญในโครงสร้างร่างกายมนุษย์ ทั้งในเนื้อเยื่อและกระดูก ทำหน้าที่เสมือนสารหล่อลื่นของเซลล์, อีพิเดอร์มอล โกรท แฟคเตอร์ Epidermal Growth Factor (EGF) เป็นปัจจัยที่สำคัญมากในการเจริญเติบโตของร่างกายมนุษย์ ซึ่งมีหน้าที่กระตุ้นการพัฒนาแบ่งเซลล์ และเยื่อบุต่างๆ ของมนุษย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นต้น ในแต่ละปีประเทศจีนมีมูลค่าการนำเข้ารังนกเป็นจำนวนกว่าพันล้านบาท โดยนำเข้าจากประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย เป็นหลัก ส่งผลให้ธุรกิจฟาร์มนกแอ่นกินรังมีการเติบโตและกระจ่ายตัวอยู่ทั่วประเทศไทยโดยเฉพาะภาคใต้ ซึ่งมีอาคารหรือบ้านนกแอ่นกินรังกว่า 10,000 หลัง ในการประกอบธุรกิจฟาร์มนกแอ่นกินรังมีความจำเป็นต้องควบคุมปัจจัยต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอุณหภูมิ ความชื่น ความสะอาด เชื้อโรค หรือศัตรูตามธรรมชาติ ทางผู้วิจัยได้นำเสนอการพัฒนาระบบนับจำนวนนกแอ่นกินรังด้วย YOLO Object Detection ผ่านกล้องถ่ายภาพความร้อน เพื่อเป็นส่วนช่วย หรือเครื่องมืออำนวยความสะดวกให้แก่เกษตรกรฟาร์มนกแอ่นกินรัง ในการตรวจนับนกแอ่นกินรังภายในอาคารฟาร์มนกแอ่นกินรัง ซึ่งเป็นระบบปิด มีแสงสว่างน้อย ใช้สายตาในการตรวจนับค่อยข้างลำบาก และขาดความแม่นยำ ทางผู้วิจัยได้นำเทคโนโลยี IoT โดยนำบอร์ด Raspberry Pi มาทำงานร่วมกับกล่องถ่ายภาพความร้อน FLIR Lepton 3.5 และนำภาพที่ถ่ายได้มาผ่านกระบวนการ Image Detection และอาศัยอัลกอริทึม YOLOv3 เพื่อตรวจนับจำนวนนกบนภาพ ซึ่งผู้วิจัยได้จำลองการถ่ายภาพนกหงส์หยกในกรงด้วยระยะ 50 ซม. 1 เมตร 1.5 เมตร 2 เมตร และ 2.5 เมตรตามลำดับ โดยผลสรุป
Full Text : Download! |
||
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250