fieldjournalid
![]() | สารนิพนธ์ (MIT) 2021 |
1. | การวิเคราะห์ข้อมูลและพัฒนา Data Visualization เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ : กรณีศึกษา ข้อมูลการขึ้นทะเบียนโดรน คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : บุษรินทร์ กองศิลป์ | ||
การศึกษาเรื่องการวิเคราะห์ข้อมูลและพัฒนา Data Visualization เพื่อสนับสนุนการ
ตัดสินใจ กรณีศึกษา ข้อมูลการขึ้นทะเบียนโดรน คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์
และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างรายงานการวิเคราะห์ข้อมูล
ลักษณะ Data Visualization ในรูปแบบรายงานแดชบอรด (Dashboard) เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ
ในการกำหนดแนวทางการปฏิบัติงานและการกำหนดนโยบายของสำนักงาน กสทช. และเพื่อนำข้อมูล
ภายในสำนักงาน กสทช. มาศึกษา วิเคราะห์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการวางแผนกลยุทธ์ โดยนำ
ขอมูลการขึ้นทะเบียนโดรนไปจัดเรียง วิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลดวยเครื่องมือโปรแกรม Power BI
ในข้อสรุปของ จำนวนผู้ขอจดทะเบียนใบอนุญาตอากาศยานไร้คนขับ ข้อมูลทางประชากรศาสตร์
ของผู้ขอจดทะเบียนใบอนุญาตอากาศยานไร้คนขับในด้าน ที่อยู่ สถานะ สำนักงาน กสทช. ภูมิภาค/เขต ที่
ขอจดทะเบียน ยี่ห้อ ย่านความถี่ เพื่อนำเสนอภาพรวมของข้อมูลในลักษณะ Dashboard สรุป
รายงานนำเสนอใหผู้ใช้งานได้ประเมินความพึงพอใจแล้ว พบว่าผูตอบแบบสอบถามมีความพึงพอใจใน
รูปแบบของรายงานในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านรูปแบบการรายงาน ด้านความสะดวกใน
การใช้งาน ด้านข้อมูลที่จำเป็นของรายงาน ด้านความสวยงานของหน้ารายงาน และด้านผลิตภัณฑ์
Full Text : Download! |
||
2. | การวิเคราะห์และคาดการณ์กิจกรรมการเคลื่อนไหวด้วยระบบ IoT [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : บุรินทร์ วิราณุรักษ์ | ||
ในปัจจุบัน ได้มีบุคลากรจำนวนมากได้มีการเจ็บป่วยอันเนื่องมาจากโรคออฟฟิศซินโดรม ซึ่ง
เป็นผลมาจากการทำงานที่ในท่าทางที่ผิดท่า หรือการทำงานในลักษณะใดลักษณธหนึ่งเป็นเวลานาน
และไม่มีการเปลี่ยนท่าทางไม่ว่าจะเป็นการนั่งหรือการยืน เป็นต้น ในงานวิจัยชิ้นจึงเล็งเห็นว่าควรทำ
การสร้างโมเดลที่ช่วยในการแยกแยะอิริยาบทหรือกิจกรรมต่างๆ ออกมา ผ่านทางอุปกรณ์ IoT ในการ
เก็บข้อมูลจากผู้ใช้งาน โดยนำโมเดลเหล่านี้ไปใช้งานในอุปกรณ์เทคโนโลยีในอนาคตได้
โดยการทำงานวิจัยชิ้นนี้ จะเริ่มทำการเก็บข้อมูลผ่านอุปกรณ์ IoT ที่พัฒนาขึ้น โดยทำการ
เก็บข้อมูลอิริยาบถหรือกิจกรรมเป็นช่วงเวลาหนึ่งเข้าสู่ระบบดาต้าเบส โดยที่กำหนดท่าทางกิจกรรม
ออกมาเป็น 4 รูปแบบ ประกอบไปด้วย การนั่ง การยืน การเดิน และนอนราบ มาทำแปลงค่าเพื่อใช้
ในการเอาเข้าสู่กระบวนการพัฒนาโมเดล เพื่อใช้ในการแยกแยะ โดยโมเดลที่ใช้ในการพัฒนานั้นจะ
เป็น Feed Forward Neural Network ในการแยกแยะลักษณะท่าทางรูปแบบในก่อนหน้านี้ที่กล่าวไป
ภายหลังการดำเนินงานวิจัยจนเสร็จสิ้นพบว่า โมเดลนั้นมีความแม่นยำในระดับที่ดีเยี่ยม
โดยที่สามารถปรับปรุงในส่วนอุปกรณ์ IoT ได้ในอนาคต เพื่อใช้เป็นข้อมูลในส่วนหนึ่งในการเอาเข้าสู่
ระบบโมเดลในการแยะแยะและยังพบว่าปัจจัยภายนอกบางอย่างนั้นอาจส่งผลกระทบต่อการเก็บ
ข้อมูลเพื่อใช้ในการทำงานได้ เช่น อุณหภูมิ งานวิจัยชิ้นนี้จึงเป็นแนวทางให้ผู้ทำงานวิจัยท่านอื่นๆ ใช้
อนาคตเพื่อใช้เป็นแนวทางได้
Full Text : Download! |
||
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250