fieldjournalid
![]() | สารนิพนธ์ (MBJ) 2024 |
1. | พฤติกรรมผู้บริโภคและส่วนประสมทางการตลาด 7Ps ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการซ้ำร้านอาหารปิ้งย่างสไตล์ญี่ปุ่น (YAKINIKU) [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ชินพัสท์ นิตยะวานิชย์ | ||
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.เปรียบเทียบประชากรศาสตร์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการซ้ำร้านปิ้งย่างสไตล์ญี่ปุ่นของผู้บริโภค 2.เปรียบเทียบพฤติกรรมผู้บริโภคที่แตกต่างกันส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการซ้ำร้านปิ้งย่างสไตล์ญี่ปุ่นของผู้บริโภค และ3.ศึกษาส่วนประสมทางการตลาด 7Ps ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการซ้ำร้านปิ้งย่างสไตล์ญี่ปุ่นของผู้บริโภคกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาในครั้งนี้ คือ ผู้บริโภคที่เคยใช้บริการร้านปิ้งย่างสไตล์ญี่ปุ่น จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบน และสถิติเชิงอนุมานประกอบด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ
ผลการศึกษา 1. ผลการเปรียบเทียบประชากรศาสตร์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการซ้ำร้านปิ้งย่างสไตล์ญี่ปุ่นของผู้บริโภคแตกต่างกัน พบว่า เพศ อายุ ระดับการศึกษาส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการซ้ำร้านปิ้งย่างสไตล์ญี่ปุ่นของผู้บริโภคแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 2. ผลการเปรียบเทียบพฤติกรรมผู้บริโภคส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการซ้ำร้านปิ้งย่างสไตล์ญี่ปุ่นของผู้บริโภคแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการทดสอบสมมติฐาน 3. พบว่า ส่วนประสมทางการตลาด 7Ps ด้านผลิตภัณฑ์ (β =0.393) ด้านลักษณะทางกายภาพ (β =0.267) และด้านช่องทางการจัดจําหน่าย (β =0.146) ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการซ้ำร้านปิ้งย่างสไตล์ญี่ปุ่นของผู้บริโภค อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยมีสัมประสิทธิ์การตัดสินใจเชิงพหุหรือค่าอำนาจในการพยากรณ์ ร้อยละ 50.7
ข้อเสนอแนะสำหรับร้านอาหารปิ้งย่างสไตล์ญี่ปุ่น (YAKINIKU) เนื่องจากผู้บริโภคให้ความสำคัญกับผลิ
Full Text : Download! |
||
2. | ปัจจัยจูงใจ ปัจจัยสุขอนามัย และอุปถัมภ์จากองค์กรส่งผลต่อความผูกพันในงานและความผูกพันต่อองค์กร กรณีศึกษา ร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดสัญชาติญี่ปุ่นแห่งหนึ่ง [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : พรชนัน ยิ่งตระกูล | ||
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับปัจจัยจูงใจ ปัจจัยสุขอนามัย อุปถัมภ์จากองค์กร ความผูกพันในงานและความผูกพันต่อองค์กร 2) ปัจจัยจูงใจส่งผลต่อความผูกพันในงาน 3) ปัจจัยสุขอนามัยส่งผลต่อความผูกพันในงาน 4) อุปถัมภ์จากองค์กรส่งผลต่อความผูกพันในงาน และ 5) ความผูกพันในงานส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กร ทั้งนี้ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือบุคลากรที่ทำงานประจำในร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดสัญชาติญี่ปุ่นแห่งหนึ่ง จำนวน 142 คน โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูล สถิติที่ใช้ ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ โดยใช้การวิเคราะห์ตัวแบบสมการเชิงโครงสร้าง (SEM) โดยโปรแกรม Smart PLS 4.1.0.9
ผลการศึกษาพบว่า 1) ระดับความคิดเห็นเฉลี่ยความผูกพันในงานอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.38) ความผูกพันต่อองค์กรอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.32) ปัจจัยสุขอนามัยอยู่ในระดับมาก ( =4.15) ปัจจัยจูงใจอยู่ในระดับมาก ( =4.06) และอุปถัมภ์จากองค์กรอยู่ในระดับมาก ( =4.05) ผลการทดสอบสมมติฐาน 2) พบว่าปัจจัยจูงใจ (Path Coefficients = 0.296) ส่งผลต่อความผูกพันในงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 3) พบว่าปัจจัยสุขอนามัย (Path Coefficients = 0.294) ส่งผลต่อความผูกพันในงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 4) พบว่าอุปถัมภ์จากองค์กรส่งผลต่อความผูกพันในงานอย่างไม่มีนัยสำคัญ และ 5) ความผูกพันในงาน (Path Coefficients = 0.756) ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
ดังนั้น บริษัทควรพิจารณาปัจจัยจูงใจในเรื่องการมอบหมายงานที่ท้าทายเพื่อให้พนักงานได้แสดงความสามารถอย่างเต็มที่และแสดงความชื่นชมเมื่อพนักงานทำงานบรรลุเป้าหมาย ในส่วนของปัจจัยสุขอนามัยบริษัทควรกำหนดนโยบายและเป้าหมายในการท
Full Text : Download! |
||
3. | พฤติกรรมผู้บริโภคและการรับรู้คุณค่าตราสินค้าส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อซ้ำบัตรคอนเสิร์ตศิลปินJ-Pop และ J-Rock ของคนเจนเนอเรชั่น Y และ Z [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : พรนภัส ยิ่งตระกูล | ||
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการรับรู้คุณค่าตราสินค้าและการตัดสินใจซื้อซ้ำบัตรคอนเสิร์ตศิลปิน J-Pop และ J-Rock ของคนเจนเนอเรชั่น Y และ Z 2) เปรียบเทียบพฤติกรรมการรับชมคอนเสิร์ตส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อซ้ำบัตรคอนเสิร์ตศิลปิน J-Pop และ J-Rock ของคนเจนเนอเรชั่น Y และ Z แตกต่างกัน 3) ศึกษาการรับรู้คุณค่าตราสินค้าส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อซ้ำบัตรคอนเสิร์ตศิลปิน J-Pop และ J-Rock ของคนเจนเนอเรชั่น Y และ Z ทั้งนี้ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือผู้ที่ซื้อบัตรคอนเสิร์ตศิลปิน J-Pop และ J-Rock เจนเนอเรชั่น Y และ Z จำนวนทั้งสิ้น 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล สถิติที่ใช้ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ การทดสอบความแตกต่าง 2 กลุ่มตัวอย่าง (Independent Sample t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way Analysis of Variance : ANOVA) และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ(Multiple Linear Regression)
ผลการศึกษา 1) ระดับความคิดเห็นเฉลี่ยคุณค่าตราสินค้าอยู่ในระดับสูงมาก มีค่าเฉลี่ย 4.50 และการตัดสินใจซื้อซ้ำบัตรคอนเสิร์ตอยู่ในระดับสูง มีค่าเฉลี่ย 4.12 และ 2) ผลการเปรียบเทียบพฤติกรรมในเรื่องเหตุผลในการซื้อบัตรคอนเสิร์ต พบว่าเหตุผลในการซื้อเนื่องจากความชื่นชอบศิลปิน J-Pop และ J-Rock ความชื่นชอบเพลงญี่ปุ่น ซื้อชมเพื่อความผ่อนคลาย และซื้อเพื่อต้องการชมการแสดงสดส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อซ้ำบัตรคอนเสิร์ตศิลปิน J-Pop และ J-Rock ของคนเจนเนอเรชั่น Y และ Z แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 และ3) ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่าคุณค่าตราสินค้าด้านความภักดีต่อตราสินค้าส่งผลมากที่สุด ( = 0.350) ด้านการรู้จักตราสินค้า ( = 0.251) และด้านการรับรู้คุณภาพ ( = 0.1
Full Text : Download! |
||
4. | พฤติกรรมการซื้อและส่วนผสมทางการตลาด 4Ps ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อซ้ำสินค้าอาร์ตทอยของผู้บริโภคในจังหวัดกรุงเทพมหานครและปริมณฑล [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : รมณ จิตนุกูล | ||
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับส่วนผสมทางการตลาด 4Ps และการตัดสินใจซื้อซ้ำสินค้าอาร์ตทอย 2) เปรียบเทียบพฤติกรรมของการซื้อสินค้าของผู้บริโภคที่ซื้อสินค้าอาร์ตทอย 3) ศึกษาส่วนผสมทางการตลาดส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อซ้ำสินค้าอาร์ตทอยของผู้บริโภคในจังหวัดกรุงเทพมหานครและปริมณฑล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาในครั้งนี้ คือ ผู้บริโภคที่เคยซื้อสินค้าอาร์ตทอย จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล สถิติที่ใช้ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ การทดสอบของกลุ่มตัวอย่างที่มีความเป็นอิสระต่อกัน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ เพื่อตรวจสอบความสัมพันธ์ของตัวแปรต้นและตัวแปรตาม
ผลการศึกษา 1) ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับส่วนประสมทางการตลาด 4Ps อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.08 และพฤติกรรมหลังการตัดสินใจซื้อที่ส่งผลให้เกิดการซื้อซ้ำ อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.15 และ 2) ผลการเปรียบเทียบพฤติกรรมของการซื้อสินค้าของผู้บริโภคที่ซื้อสินค้าอาร์ตทอย พบว่า เหตุผลในการซื้อสินค้าอาร์ตทอยที่มีอิทธิพลสูงสุด คือ ซื้อตามคนรอบข้าง เพื่อน กระแสโซเชียล โดยเพื่อน แฟน ครอบครัว มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อมากที่สุด และช่วงเวลาที่มีอิทธิพลมากที่สุด คือ การซื้อสินค้าในช่วงวันเงินเดือนออก ด้านช่องทางการขาย พบว่า Resell shop มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อมากกว่าช่องทางอื่น นอกจากนี้เมื่อเปรียบเทียบมูลค่าที่ซื้อสินค้าอาร์ตทอย พบว่า อิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อต่อครั้งอยู่ที่ 100-500 บาท อย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 และ 3) ผลการตรวจสอบสมมุติฐานพบว่า ส่วนประสมทางการตลาด ในด้านผลิตภัณฑ์มีอิธิพลมากที่สุด = 0.306 รองลงมาคือด้านช่องทางการจำหน่าย
Full Text : Download! |
||
5. | ส่วนประสมทางการตลาด 4Ps และพฤติกรรมผู้บริโภคส่งผลต่อพฤติกรรมหลังการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางนำเข้าจากประเทศญี่ปุ่น [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ธมนวรรณ อินทรสถิตย์ | ||
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับส่วนประสมทางการตลาด 4Ps และพฤติกรรมหลังการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางนำเข้าจากประเทศญี่ปุ่น 2) ส่วนประสมทางการตลาด 4Ps ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมหลังการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางนำเข้าจากประเทศญี่ปุ่น 3) เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมผู้บริโภคที่ส่งผลต่อพฤติกรรมหลังการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางนำเข้าจากประเทศญี่ปุ่น ทั้งนี้ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือผู้บริโภคที่เคยซื้อเครื่องสำอางจากร้าน Matsumoto Kiyoshi, Tsuruha, Eve and Boy, Watsons, Donki จำนวน 400 ราย โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล สถิติที่ใช้ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ เพื่อตรวจสอบความสัมพันธ์ของตัวแปรต้นและตัวแปรตาม
ผลการศึกษา 1) ระดับส่วนประสมทางการตลาด 4Ps อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.32 และพฤติกรรมหลังการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอาง อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.35 2) ผลการเปรียบเทียบพฤติกรรมผู้บริโภคพบว่าประเภทเครื่องสำอางที่มีอิทธิพลสูงสุดคืออายแชโดว์ โดยผู้บริโภคส่วนใหญ่มีความไว้วางใจในคุณภาพของผลิตภัณฑ์นำเข้าจากประเทศญี่ปุ่นมากที่สุด โดยครอบครัวมีอิทธิพลมากที่สุด ด้านสถานที่และวิธีการซื้อพบว่า Tsuruha มีผลกระทบต่อพฤติกรรมหลังการตัดสินใจซื้อมากกว่าสถานที่อื่น นอกจากนี้การไปซื้อด้วยตนเองที่หน้าร้านมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อมากกว่าการสั่งซื้อผ่านแอปพลิเคชันออนไลน์อย่างมีนัยสำคัญสถิติที่ระดับอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่าผลิตภัณฑ์มีอิทธิพลมากที่สุด ( = 0.376) การส่งเสริมการขาย ( = 0.263) ราคา ( = 0.142) และช่องทางการจัดจำหน่าย ( = 0.117) ส่งผล
Full Text : Download! |
||
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250